การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการใช้อำนาจส่วนบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษากับปัจจัยที่ทำให้เกิดแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู เครือข่ายพัฒนาการศึกษาวังทอง 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 2

Main Article Content

สุธิดา สุขชาวนา
ณิรดา เวชญาลักษณ์
นิคม นาคอ้าย

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การใช้อำนาจส่วนบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษา 2) ปัจจัยที่ทำให้เกิดแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างการใช้อำนาจส่วนบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษากับปัจจัยที่ทำให้เกิดแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู ศึกษากลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษา 14 คน และครู 122 คน เครือข่ายพัฒนาการศึกษาวังทอง 2 จำนวน 136 คน โดยวิธีเลือกแบบเจาะจงและเทียบสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามแบบประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นตอนที่ 1 เท่ากับ 0.96 และตอนที่ 2 เท่ากับ 0.95 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน


ผลการวิจัยพบว่า
1. การใช้อำนาจส่วนบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษา ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านอำนาจอ้างอิง และรองลงมา คือ ด้านอำนาจความเชี่ยวชาญ
2. ปัจจัยที่ทำให้เกิดแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านปัจจัยจูงใจ และรองลงมา คือ ด้านปัจจัยค้ำจุน
3. ความสัมพันธ์ระหว่างการใช้อำนาจส่วนบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษากับปัจจัยที่ทำให้เกิดแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู ในภาพรวมมีความสัมพันธ์กันทางบวกสอดคล้องกับสมมติฐานการวิจัย โดยด้านอำนาจอ้างอิงและด้านปัจจัยค้ำจุนมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์สูงสุด

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Articles)

References

จริยวดี ศรีทิพย์อาสน์. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างการใช้อำนาจของผู้บริหาสถานศึกษากับขวัญและกำลังใจของครู สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 2 (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง).

ชัยเสฏฐ์ พรหมศรี. (2557). ภาวะผู้บริหารร่วมสมัย. กรุงเทพฯ: ปัญญาชน.

ชาคริสต์ เลิศเตชะจิรานนท์. (2565). การใช้อำนาจทางการบริหารที่ส่งผลต่อขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร).

ชาลิดา วงศ์ใหญ่ และอดุลย์ วังศรีคูณ. (2565). การศึกษาความสัมพันธ์การใช้พลังอำนาจของผู้บริหารสถานศึกษากับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูผู้สอน สังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดพิจิตร. Journal of Roi Kaensarn Academi, 7(4), น. 250-265. สืบค้นเมื่อ 25 เมษายน 2566, จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/253116

ณัฐนันท์ วิริยาชนาโชติ. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างการใช้อำนาจส่วนบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษากับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตฟื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี). สืบค้นเมื่อวันที่ 7 เมษายน 2566, จาก http://www.repository.rmutt.ac.th/ dspace/handle/123456789/3460?mode=full

ถวิล เกื้อกูลวงศ์. (2528). การจูงใจเพื่อผลงาน. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์.

นฤสรณ์ ส่งเสริม, สุภัทรา ภูษิตรัตนาวลี และอัจฉราพรรณ พุ่มผกา. (2564). การใช้อำนาจของผู้บริหารโรงเรียนตามทัศนะของครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 2. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์, 13(3), น. 34-44. สืบค้นเมื่อ 25 เมษายน 2566, จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/nakboot/article/view/252432

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ประชุมพร บุญมา. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างการใช้พลังอำนาจของผู้บริหารสถานศึกษากับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูปฏิบัติการสอนในจังหวัดชลบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา). สืบค้นเมื่อวันที่ 7 เมษายน 2566, จาก https://buuir.buu.ac.th/bitstream/1234567890/74 26/1/Fulltext.pdf

ประดินันท์ อุปรมัย. (2551). สร้างพลังทีมงาน ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพฯ: ศูนย์ฝึกอบรมเทคโนโลยีการพิมพ์แห่งชาติ.

พรรณี ศรีปราชญ์. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารกับแรงจูงใจการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จังหวัดราชบุรี (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง). สืบค้นเมื่อวันที่ 7 เมษายน 2566, จาก https://prezi.com/p/qvbqej6_9ugq/true_present/

มลฤดี คังคายะ. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างการใช้อำนาจของผู้บริหารกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูกลุ่มโรงเรียนศรีราชา 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3 (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา). สืบค้นเมื่อวันที่ 4 เมษายน 2566, จาก https://buuir.buu.ac.th/handle/1234567890/6783

รัตนบงกช นิพัฒน์ศิริผล. (2563). การศึกษาความสัมพันธ์ภาวะผู้นำพฤติกรรมของผู้บริหารสถานศึกษากับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 (รายงานการศึกษาค้นคว้าอิสระมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยพะเยา).

ศรินยาพร วงษ์ขันธ์. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างการใช้อำนาจของผู้บริหารสถานศึกษากับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานครูในสังกัดองค์กรปกครองท้องถิ่นที่ 4 (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต , มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง).

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2565). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่สิบสาม พ.ศ. 2566-2570. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.

สุมาลี ยอดยิ่ง และพรพิมล อ่อนอุระ. (2565). รายงานผลการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564. สืบค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2566, จาก http://www.phitsanulok2.go.th/ webplk2/ wp-content/uploads/2022/07/o12-report-jop-plk2-2564.pdf

สมฤดี พละวุฑิโฒทัย. (2561). การพัฒนาการบริหารระบบการศึกษาเพื่อเสริมสร้างความเป็นพลเมืองดีวิถีประชาธิปไตย. วารสารการบริหารการศึกษา, 9(1), น, 264-266. สืบค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2566, จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EdAd/article/view/156983

อภิชาต คงเพชร. (2565). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษากับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา). สืบค้นเมื่อ 15 มีนาคม 2566, จาก http://ir.buu.ac.th/dspace/handle/1513/430

Donna, M. R. (2012). Leadership and the Use of Power: Shaping an Ethical Climate. The Journal of Applied Christian leadership, 6(1), pp. 28-35. Retrieved June 23, 2023, from https://digitalcommons.andrews.edu/jacl/vol6/iss1/4/

French, R. and Raven, B. (1968). “The Base of Social Power” Group Dynamics. New York: Harper and Row.

Harrell, T. W. (1972). Industrial Psychology. New York: Holt Rinehart and Winston.

Parker C. and Case T. (1993). Management information systems: Strategy and action (2nd ed.). New York: McGraw-Hall.