แนวทางการจัดการความเครียดในการปฏิบัติงานของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3

Main Article Content

ธีรวัฒน์ ศิริวิโรจนกุล
กานต์ เนตรกลาง

บทคัดย่อ

      การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบระดับความเครียดในการปฏิบัติงาน และศึกษาแนวทางจัดการความเครียดในการปฏิบัติงานของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3 กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษา 118 คน กลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับความเครียดในการปฏิบัติงานของผู้บริหาร โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับปานกลาง ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านลักษณะงาน 2) การเปรียบเทียบระดับความเครียดในการปฏิบัติงานของผู้บริหารจำแนกตามเพศ พบว่า โดยภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน จำแนกตามขนาดของสถานศึกษาพบว่า โดยภาพรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) แนวทางการจัดการความเครียดในการปฏิบัติงานพบว่า ผู้บริหารสถานศึกษาต้องมีการวางแผนก่อนการดำเนินงาน มีการจัดระบบงาน สร้างความชัดเจนในบทบาทหน้าที่ กระจายความรับผิดชอบให้กับบุคลากร สร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างเพื่อนร่วมงาน รู้จักการเรียนรู้และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง วางโครงสร้างการบริหารงานในองค์กรให้มีความเหมาะสมและต้องรู้จักการบริหารเวลาอย่างมีประสิทธิภาพ

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Articles)

References

เอกสารอ้างอิง

จอมพงศ์ มงคลวนิช. (2555). การบริหารองค์การและบุคลากรทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชานนทร์ มุ่งเขตกลาง. (2556). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเครียดของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 25 (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น).
ดารารัตน์ ศรีโรจน์ศิลป์. (2561). ความเครียดของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม. วารสารสังคมศาสตร์วิจัย, 9(1), น. 47-64.
ทิรากร ทองประทับ. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างความเครียดกับสมรรถนะทางการบริหาร ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัด อุดรธานี. (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี).
นฤมล ศรีสัน. (2553). ความเครียดในการปฏิบัติงานของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียน สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 2 (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง).
นาตยา สุวรรณจันทร์. (2560). การศึกษาความเครียดในการปฏิบัติงานของผู้บริหาร สถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 11. (วิทยานิพนธ์ มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี).
รัตนาภรณ์ ปะนามะทัง. (2559). สาเหตุของความเครียดของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32 (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์).
ศักดิ์ชัย ภู่เจริญ. (2560). การศึกษาความเครียดจากการทำงานของผู้บริหารสถานศึกษา
โรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดนครราชสีมา. วารสารชุมชนวิจัย, 11(1), น. 94-102.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3. (2562). แผนปฏิบัติการ
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562. สืบค้นเมื่อ 5 ธันวาคม 2562, จาก http://www2.chaiyaphum3.go.th/main/page.php?id=10.
สุดแสง หมื่นราม. (2554). ปัจจัยที่ทำให้เกิดความเครียดของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 2 (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์).
สุพานี สฤษฎ์วานิช. (2552). พฤติกรรมองค์การสมัยใหม่: แนวคิดทฤษฏี (พิมพ์ครั้งที่ 2).
กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สุภาภรณ์ ตั้งดำเนินสวัสดิ์. (2562). ความเครียดในการปฏิบัติงานของอาจารย์ผู้รับผิดชอบ หลักสูตรตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสวนดุสิต.
Cartwright, S. & Cooper, C. L. (1997). Managing workplace stress. NY: Sage.
Hellriegel, Don, John W., Slocum. Jr. & Richard, W. W. (1998). Organizational behavior. NY: West.
Hoy, W. K. & Miskel, C. G. (2001). Education administration: Theory, research, and practice. NY: McGraw-Hill.