อิทธิพลของแรงจูงใจความผูกพันในองค์การและการมีส่วนร่วมที่มีต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ในจังหวัดลำปาง

Main Article Content

นุจรินทร์ อุปวัฒนานันท์
ธนกร สิริสุคันธา

บทคัดย่อ

              การค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นด้านแรงจูงใจ ความผูกพันในองค์การ การมีส่วนร่วมและประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในจังหวัดลำปาง  และเพื่อศึกษาอิทธิพลของแรงจูงใจ ความผูกพันในองค์การและการมีส่วนร่วมที่มีต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ในจังหวัดลำปาง ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ ข้าราชการและบุคลากรที่ปฏิบัติงานในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดลำปางจำนวน 234 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม ใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ใช้สถิติอนุมานวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบ Enter 


              ผลการศึกษาพบว่า ระดับความคิดเห็นด้านแรงจูงใจ ความผูกพันในองค์การ การมีส่วนร่วมและประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ในจังหวัดลำปางอยู่ในระดับมาก ส่วนการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบ Enter พบว่า แรงจูงใจมีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรมากที่สุด รองลงมาคือการมีส่วนร่วมและความผูกพันในองค์การตามลำดับ ปัจจัยทั้ง 3 ด้านมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จักรพันธ์ เทพพิทักษ์. (2551). ปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงาน บริษัท ลำพูน ซิงเดนเก็น จำกัด. การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารธุรกิจ. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

พิเชษฐ์ อุทธสิงห์. (20 พฤศจิกายน 2560). หลักการจัดการ. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2562, จาก https://sisites.google.com/site/salesstrategythai/xngkhkar

วริศ ศรีบุญเรือง. (16 สิงหาคม 2561). หลักการจัดการเทคโนโลยี. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2562, จาก :http://baswaris1.blogspot.com/

วัชราพร ศิรเทพประไพ. (2550). การวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของบุคลากรในการพัฒนาระบบบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์กรของเหมืองแม่เมาะ. การค้นคว้าแบบอิสระปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (7 กรกฎาคม 2546). กฎกระทรวงกำหนด หลักเกณฑ์การแบ่งส่วนราชการภายในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา พ.ศ. 2546. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2562, จาก :http://www.obec.go.th/

สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดลำปาง. (1 ตุลาคม 2562). รายงานสรุปผลการปฏิบัติงานของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดลำปาง. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2562, จาก http://lpgpeo.blogspot.com/

สุชาดา สุขบำรุงศิลป์. (2553). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนวิศวกรรมแหลมฉบังจังหวัดชลบุรี. งานนิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยบูรพา.

สุนิสา สงบเงียบ. (2551). ความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงาน บริษัท มินอิกเทคโนโลยี (ไทยแลนด์) จำกัด. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

Herzberg, F.K., & Other. (1959). The Motivation to Work. New York : John Wiley and Sons.

Lee, H., Kim, M. J., Bae, C. Y., Lee, Y. J., Kang, Y. G., & Lee, S. K. (2000). The factors influencing on fall in the elderly living in the community. Journal of the American Geriatric Society.

Simon, H. A. (1960). Administrative Behavior. New York : Macmillan.