อาชีวภิวัฒน์ในประเทศไทย: กรณีศึกษาบริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน)

Main Article Content

ฉัชร์ภิมุก อภินันท์โชติสกุล
ดร.อภิชัย พันธเสน
ดร.ฉัตรวรัญญ์ องคสิงห์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษากระบวนการการจัดการอาชีวศึกษาของภาคธุรกิจในฐานะผู้จัดการศึกษาสายอาชีพ 2. ศึกษาปัจจัยและเงื่อนไขที่ทำให้ภาคธุรกิจประสบความสำเร็จในการจัดการศึกษา 3. ศึกษาผลลัพธ์ต่อสังคมที่เกิดจากรูปแบบและหลักสูตร กลุ่มตัวอย่างการวิจัยเป็นการเลือกแบบจำเพาะเจาะจงจำนวน 23 คน ซึ่งเป็นเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และเป็นผู้ให้ข้อมูลสำคัญ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสัมภาษณ์เจาะลึก และทำการวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัยเชิงคุณภาพ


ผลการวิจัย พบว่า 1. กระบวนการการจัดการอาชีวศึกษาของภาคธุรกิจโดยบริษัท ซี พี ออลล์ จำกัด (มหาชน) เกิดจากแนวคิด การพัฒนาการจัดการอาชีวศึกษา ภายใต้หลักการเรียนรู้จากประสบการณ์จริง (Work based Learning) โดยเริ่มจัดตั้งวิทยาลัยเทคโนโลยีปัญญาภิวัฒน์ แล้ว จึงได้ขยายไปจัดตั้งศูนย์การเรียนปัญญาภิวัฒน์ และจัดการศึกษาร่วมกับสถานศึกษาในความร่วมมือภายใต้สัญญาบันทึกข้อตกลง (MOU)โดยยึดวิทยาลัยเทคโนโลยีปัญญาภิวัฒน์เป็นต้นแบบในการจัดการเรียนรู้ เป็นนวัตกรรมการบริหารการศึกษา มีการออกแบบการทำงานร่วมกันระหว่างภาคการศึกษากับภาคธุรกิจ รูปแบบการเรียนเป็นการเรียนรู้ควบคู่กับการทำงาน โดยยึดหลักการจัดการศึกษา ระบบทวิภาคี (DVT) ประเทศเยอรมนี  2. ปัจจัยและเงื่อนไขที่ทำให้ภาคธุรกิจประสบความสำเร็จในการจัดการศึกษา ได้แก่ 1) ปัจจัยด้านกลยุทธ์ประชาสัมพันธ์และการสรรหาผู้เรียน 2) กลยุทธ์การเพิ่มสัดส่วนจำนวนผู้เรียนด้านอาชีวศึกษา 3) ปัจจัยด้านรูปแบบการเรียนการสอนและการฝึกอาชีพ 4) ปัจจัยด้านทุนการศึกษา เพื่อเปิดโอกาสสำหรับนักเรียน ผู้ปกครองที่มีรายได้น้อย 5) ปัจจัยด้านสวัสดิการ ตำแหน่งงานหลังสำเร็จการศึกษาและ 6) ปัจจัยด้านการดูแลช่วยเหลือผู้เรียน และกิจกรรมเสริม 3. ผลลัพธ์ต่อสังคมที่เกิดจากรูปแบบและหลักสูตรที่ ได้แก่ 1) ผลลัพธ์ด้านจำนวนผู้เรียนมีจำนวนเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง 2) ผลลัพธ์ด้านความพึงพอใจของสถานประกอบการ มีความพึงพอใจต่อคุณภาพผู้เรียนในระดับดี 3) ผลลัพธ์ด้านอัตรากำลังคนกับความต้องการของภาคธุรกิจ มีสัดส่วนที่สมดุลประสบความสำเร็จทั้งภาคการศึกษาและสถานประกอบการ 4) ผลลัพธ์ด้านสังคมมีสถานศึกษาทุกสังกัดได้เข้าร่วมลงนามบันทึกข้อตกลง เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียน นักศึกษาทุกสังกัด มีโอกาสเข้าศึกษาต่อด้านวิชาชีพ จำนวน 121 สถานศึกษา และจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์. (21 ธ.ค. 2559). ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน). สัมภาษณ์.

กัญญา โพธิวัฒน์. (2548). ทีมผู้นำการเปลี่ยนแปลงในโรงเรียนประถมศึกษา: การศึกษาเพื่อสร้างทฤษฎีฐานราก. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น).

กิตติ รัตนราษี. (12 ธ.ค. 2559). ผู้อำนวยการสำนักวิชาการ วิทยาลัยเทคโนโลยีปัญญาภิวัฒน์. สัมภาษณ์.

จงจิตต์ ฤทธิรงค์. (2558). ข้อท้าทายในการผลิตแรงงานฝีมือไทย เพื่อเข้าสู่ตลาดแรงงานประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. สถาบันวิจัยประชากรและสังคม: มหาวิทยาลัยมหิดล.

จิตรา นิลพงษ์. (9 ธ.ค. 2559). เลขานุการ คณะกรรมการนโยบายโครงการด้านการศึกษา. สัมภาษณ์.

ฉัชร์ภิมุก อภินันท์โชติสกุล. (9 ธ.ค. 2559). ผู้อำนวยการสำนักความร่วมมือ วิทยาลัยเทคโนโลยีปัญญาภิวัฒน์. สัมภาษณ์.

ธีรวุฒิ บุณยโสภณ. (2536). การบริหารอาชีวะและเทคนิคศึกษาเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

ปิ่นบงกช วิรชา. (18 พ.ย. 2559). ผู้อำนวยการสำนักบริหารการฝึกอาชีพ. สัมภาษณ์.

พัชรินทร์ บัวแพร. (2558). ความพึงพอใจของผู้ปกครองนักศึกษาที่มีต่อการเรียนการสอนระบบทวิภาคี สาขางานธุรกิจค้าปลีกร้านสะดวกซื้อ (รายงานผลการวิจัย). เพชรบูรณ์: วิทยาลัยเทคโนโลยีป่าสักธารา.

มังกร หริรักษ์. (2555). มาตรฐานการอาชีวศึกษาไทย. คม ชัด ลึก. สืบค้นจาก http://www.komchadluek.net/news/local/142354

ยงยุทธ แฉล้มวงษ์, (2557). แรงงานไทยในบริบทใหม่: การเรียนสายอาชีพเพื่อชาติ. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ).

วิเชียร เนียมน้อม. (12 ธ.ค. 2559). ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคโนโลยีปัญญาภิวัฒน์. สัมภาษณ์.

ศูนย์อาชีวศึกษาทวิภาคี. (2557). แนวทางปฏิบัติการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพฯ:
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2557) แนวทางปฏิบัติการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี. กรุงเทพฯ: ศูนย์อาชีวศึกษาทวิภาคี.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. สถิติการศึกษาของไทย. สืบค้น 15 ธันวาคม 2557, จาก https://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?

องค์อร ประจันเขตต์. (2557). องค์กรแห่งนวัตกรรมการศึกษา ทางเลือกใหม่ของการบริหารการศึกษา. วารสารพยาบาลทหารบก, 15(1), 47.

อรวรรณ ไชยมาศ. (21 ธ.ค. 2559). ผู้จัดการทั่วไปอาวุโส บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน). สัมภาษณ์.