ความสัมพันธ์ระหว่างภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีตามมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 12 ภาษีเงินได้กับคุณภาพกำไร : กลุ่มอุตสาหกรรมธุรกิจการเงินของบริษัทที่จดทะเบียน ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

Main Article Content

สุนันทา ปาสาเลา
พิทยา ผ่อนกลาง
แพร วงษ์ชวลิตกุล
สาวิตรี ศิริทรัพย์สุนทร
วัสสวดี ลำพงษ์เหนือ

บทคัดย่อ

         การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีตามมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 12 กับคุณภาพกำไรในกลุ่มอุตสาหกรรมธุรกิจการเงิน ของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจำนวนทั้งสิ้น 56 บริษัท ที่มีข้อมูลครบถ้วนในระหว่างปี2556–2559 โดยเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นข้อมูลขั้นทุติยภูมิ (Secondary Data) จากรายงานทางการเงินประจำปีของบริษัทในกลุ่มอุตสาหกรรมธุรกิจการเงินสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้แก่ค่าสูงสุด (Maximum)ค่าต่ำสุด (Minimum) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุ (Multiple Regression Analysis) โดยกำหนดระดับนัยสำคัญที่ 0.05 จากผลการศึกษาพบว่า สินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีมีความสัมพันธ์ในเชิงลบกับคุณภาพกำไรด้วยวิธีรายการคงค้างรวม ส่วนหนี้สินภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีนั้นไม่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพกำไร สำหรับความสัมพันธ์ของสินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี และหนี้สินภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีไม่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพกำไรด้วยวิธีอัตราคุณภาพกำไร และมีเพียงสินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีที่ส่งผลต่อคุณภาพกำไรด้วยวิธีรายการคงค้างรวม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2560). รายชื่อบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์. สืบค้น
2 มิถุนายน 2560, จาก www.set.co.th

ธนาคารออมสิน. (2560). Industry Monitor ธุรกิจธนาคาร. สืบค้น 1 สิงหาคม 2560, จาก
https://www.gsb.or.th/getattachment/ae6f0dae-6d3a-4bd8-8751-
5016ce1c6377/ธุรกิจธนาคาร.aspx

นัฐวุฒิ สุวรรณยั่งยืน. (2556). การบัญชีภาษีเงินได้. จุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์, 35(136), 42-48.

ประไพพิศ สวัสดิ์รัมย์. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพกำไรของบริษัทจดทะเบียนในตลาด
หลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น, 10(1), 143-155.

พัชรี บัวเผื่อน. (2559). ความสัมพันธ์ของโครงสร้างเงินทุนและขนาดกิจการที่มีผลต่อคุณภาพกำไร
ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศ กลุ่มอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง.
(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย).

ไพฑูรย์ กอบกาญจนพฤติ, และภัทรณัชชา โชติคุณากิตติ. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างภาษีเงินได้
รอการตัดบัญชีกับมูลค่าตลาดรวมของหลักทรัพย์และอัตราส่วนความสามารถในการทำกำไร
ของบริษัทจดทะเบียน กลุ่มตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา, 2(1),
464-471.

วรศักดิ์ ทุมมานนท์. (2549). มิติใหม่ของงบการเงินและการวิเคราะห์. กรุงเทพมหานคร: บริษัทธรรม
นิติเพรส จำกัด.

วันชัย ธนากรกิจกุล, และชาลี สาธรกิจ. (2554). ผลกระทบจากมาตรฐานการบัญชีใหม่ต่องบการเงิน
และรายงานสถิติที่ ธปท.เผยแพร่. สืบค้น 15 กรกฎาคม 2560, จาก www.bot.go.th
สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์. (2555). คำชี้แจงเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงอัตราภาษีเงินได้

นิติบุคคล. สืบค้น 2 กรกฎาคม 2560, จาก
http://www.fap.or.th.index.php?.lay=show&ac=article&Id=539623236&Ntype=
สัตตกมล ตันติวังไพศาล, และศิลปพร ศรีจั่นเพชร. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างโอกาสในการ
ล้มละลายกับคุณภาพกำไร จากบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย.
วารสารวิชาชีพบัญชี, 11(30), 41-50.

เอินส์ท แอนด์ ยัง. (2556). แก่นมาตรฐานการบัญชี(สำหรับผู้บริหาร). กรุงเทพฯ: เอินส์ท แอนด์ ยัง.

Edwards, A. (2011). Does the deferred tax asset valuation allowance signal firm
creditworthiness?. Retrieved September 22, 2017, from
http://uechallenge.business.utah.edu/sites/default/files/documents/school-ofaccounting/
Edwards2011.pdf

Raedy, J. S., Seidman, J., & Shackelford, D. A. (2011). Corporate tax reform, deferred
taxes, and the immediate effect on book profits. Retrieved September 20,
2017, from https://papers.ssrn.com/sol3/papers.cfm?abstract_id=1885695

Ron, C., Rue, J., & Volkan, A. (2012). Accounting for deferred taxes : Time for a
change. Journal of Business&Economics Research, 10(3), 149-156.