กลยุทธ์การตลาดที่มีผลต่อความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวจีนกลุ่มผู้สูงวัย ที่ใช้บริการท่องเที่ยวเชิงส่งเสริมสุขภาพในประเทศไทย

Main Article Content

บุษบา อู่อรุณ

บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลและพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวชาวจีนกลุ่มผู้สูงวัยที่ใช้บริการท่องเที่ยวเชิงส่งเสริมสุขภาพในประเทศไทย และเพื่อศึกษากลยุทธ์การตลาดที่มีผลต่อความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวจีนกลุ่มผู้สูงวัยที่ใช้บริการธุรกิจท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในประเทศไทย กลุ่มตัวอย่าง คือ นักท่องเที่ยวชาวจีนที่มาท่องเที่ยวในประเทศไทย จำนวน 400 คนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ทดสอบคือ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้การทดสอบการถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลของนักท่องเที่ยวชาวจีนกลุ่มผู้สูงวัยที่ใช้บริการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในประเทศไทย ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,000 –15,000 หยวน สถานภาพสมรส อายุ 56-60 ปี อาชีพเจ้าของกิจการ การศึกษาระดับอนุปริญญา และนับถือศาสนาพุทธ และพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่มาท่องเที่ยวตามลำพัง ประทับใจแหล่งท่องเที่ยวประเภทวัฒนธรรมและประเพณี ของที่ระลึกที่นิยมซื้อได้แก่ เครื่องหนัง นิยมเดินทางมาท่องเที่ยวในช่วงวันหยุดปลายสัปดาห์ และรับรู้ข้อมูลการท่องเที่ยวประเทศไทยจากหนังสือพิมพ์/นิตยสาร และนิยมพักที่โรงแรม ผลการศึกษาด้านกลยุทธ์การตลาดที่มีผลต่อความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวจีนกลุ่มผู้นี้พบว่า ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่พึงพอใจมากที่สุด คือ ด้านสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ ด้านที่พึงพอใจน้อยที่สุดคือด้านราคา ผลการทดสอบการถดถอยพหุคูณ พบว่า เพศ รายได้ สถานภาพสมรส อาชีพ และระดับการศึกษา มีอิทธิพลต่อกลยุทธ์การตลาดที่มีผลต่อความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวจีนกลุ่มผู้สูงวัยที่ใช้บริการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในประเทศไทย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2554). Tourism statistics in Thailand. สืบค้น 21 กุมภาพันธ์
2559, จาก http://www.2 tat.or.th/star/web/static-index.php

เนาวรัตน์ พลายน้อย และคณะ. (2538). พฤติกรรมการท่องเที่ยวภายในประเทศของนักท่องเที่ยวชาวไทย
เสนอต่อการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. นครปฐม : สถาบันพัฒนาการ
สาธารณสุขอาเซียน, มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา.

รสริน สุภารัตน์ และคณะ. (2557). พฤติกรรมนักท่องเที่ยวชาวจีนที่เดินทางมาท่องเที่ยวอำเภอเมือง
จังหวัดเชียงราย. ปริญญานิพนธ์เป็นงานวิจัยตีพิมพ์ งานสร้างสรรค์ และงานบริการวิชาการ
สู่ชุมชน สาขาวิชาการตลาด คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราช
มงคลล้านนา, เชียงราย.

สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ นครเฉิงตู. (2559). แนวโน้มตลาดสินค้าผู้สูงอายุจีนโอกาส
สำคัญของผู้ประกอบการไทย. สืบค้น 10 มกราคม 2561, จาก
http://www.60plusthailand.com/th/news/

แสงเดือน รตินธร. (2555). ปัจจัยผลักดันและปัจจัยดึงดูดที่มีผลต่อนักท่องเที่ยวชาวจีนในการตัดสินใจ
เลือกมาท่องเที่ยวในประเทศไทย. วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษา
เอกชนแห่งประเทศไทย, 18(2), 84-104.

Cohen, J. (1988). Statistical power analysis for behavioral sciences. New York:
Academic Press.

Cronbach, L. J. (1970). Essentials of psychological test (5th ed.). New York: Harper
Collins.

Greenberg, G. M. (1999). Understanding the older consumer : The grey market choice.
London: Routledge.

Jun, Lei. (2553). พฤติกรรมนักท่องเที่ยวชาวจีนที่เดินทางมาม่องเที่ยวในจังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย.
(วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยแม่โจ้).

Kangle, Xie. (2556). พฤติกรรมและส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจของนักท่องเที่ยวชาวจีน
ที่เลือกท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต,
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม).

Parasuraman, A., Zeithaml, V. A., & Berry, L. L. (1988). SERVQUAL: A multiple-item
scale for measuring consumer perceptions of service quality. Journal of
marketing, 64(Spring), 12-40.

ThaiPublica.org. (2559). The China Wave คลื่นจีนบุกไทย (1) : เกือบ 8 ล้านคน/ปี–5 แหล่ง
ท่องเที่ยวยอดนิยม. สืบค้น 21 กุมภาพันธ์ 2559, จาก https://thaipublica.org

UNWTO and GTERC. UNWTO/GTERC Annual Report on Asia Tourism Trends. (2014).
World Economic Forum. Global agenda council on the future of travel &
tourism 2014-2016. Retrieved February 21, 2016, from http:
www.weforum.org/content/global-agenda-council-future-travel-tourism-
2014-2016

Yoon, Y., & Uysal, M. (2005). An examination of the effects of motivation and satisfaction
on destination loyalty : A structural model. Tourism Management, 26(1), 45-56.