แนวทางการพัฒนาสถานที่จัดงานประเภทห้องจัดงานแสดงสินค้าและนิทรรศการ เพื่อรองรับอุตสาหกรรมไมซ์ : กรณีศึกษาสถานที่จัดงานในเขตกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

นวพร บุญประสม

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้บริการและระดับความพึงพอใจของ
ผู้ร่วมจัดแสดงสินค้า และเพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของผู้จัดแสดงสินค้าต่อสถานที่จัดงาน
แสดงสินค้าและนิทรรศการในเขตกรุงเทพมหานคร และเพื่อเสนอแนวทางในการพัฒนาสถานที่จัด
งานแสดงสินค้าและนิทรรศการ การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ มีกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 390
คน เก็บข้อมูลจากสถานที่จัดงาน 3 แห่ง ใช้สถิติเชิงพรรณนาโดยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ
ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ใช้สถิติ t-test และ F-test (One – Way ANOVA) ผลการศึกษา
พบว่า พฤติกรรมการใช้บริการของผู้จัดแสดงสินค้า มีวัตถุประสงค์เพื่อการขายสินค้าและแสดง
นิทรรศการ ประเภทสินค้าที่นำมาแสดงเกี่ยวกับที่อยู่อาศัยและเฟอร์นิเจอร์ตกแต่ง ความถี่ในการร่วม
จัดแสดงปีละ 1 ครั้ง ระยะเวลาครั้งละ 4-5 วัน แนวโน้มในการมาร่วมจัดแสดงสินค้า เป็นการมาจัด
แสดงสินค้าอย่างแน่นอน การศึกษาระดับความพึงพอใจ พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจในการจัด
แสดงสินค้า โดยรวมอยู่ในระดับมาก ทั้งด้านกายภาพ ด้านเทคโนโลยี และด้านบริการ และปัจจัยที่ใช้
ในการตัดสินใจมาร่วม คือ ด้านเทคโนโลยี ซึ่งเมื่อทดสอบสมมุติฐานพบว่า เพศ อายุ ระดับการศึกษา
และพฤติกรรมการใช้บริการด้านวัตถุประสงค์การจัดแสดงสินค้า ประเภทของสินค้าและนิทรรศการที่
นำมาจัดแสดง และระยะเวลาในการจัดแสดงสินค้าที่แตกต่างกัน ส่งผลให้เกิดความพึงพอใจที่แตกต่างกัน
สำหรับแนวทางการพัฒนาสถานที่จัดงานแสดงสินค้าและนิทรรศการ เสนอแนวทาง 4 ด้าน ได้แก่ ด้าน
กายภาพ สถานที่จัดงานควรมีที่จอดรถสำหรับผู้ร่วมจัดแสดงสินค้าเป็นกรณีพิเศษ ด้านเทคโนโลยีควร
เพิ่มความแรงของสัญญาณอินเทอร์เน็ต ด้านการบริการควรจัดทำคู่มือรายละเอียดของสถานที่จัดงาน
และด้านอื่น ๆ ควรให้ความสำคัญ ถึงความแตกต่างของลักษณะส่วนบุคคลและพฤติกรรมการมาใช้
บริการของผู้จัดแสดงสินค้า โดยสถานที่จัดงานควรมีบุคลากรที่มีประสบการณ์ในการขายพื้นที่เพื่อให้
ข้อมูลแก่ผู้จัดแสดงสินค้า

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เทวีวรรณ ปทุมพร. (2549). ปัจจัยความสำเร็จของอุตสาหกรรมการประชุม การท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล
และการแสดงสินค้าและนิทรรศการนานาชาติในจังหวัดขอนแก่น. (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจ
มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น).

ประพนธ์ เล็กสุมา, และธีระวัฒน์ จันทึก. (2559). บทบาทและความสำคัญในการเข้าร่วมงานจัดแสดง
สินค้าระดับนานาชาติของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอาหาร. Veridian E-Journal, 9(1), 1585-1594.

พงศธร ลิมปนเวทย์สกุล. (2559). การพัฒนาตัวบ่งชี้สมรรถนะหลักด้วยองค์ประกอบร่วมของคุณลักษณะ
แรงงานในห่วงโซ่อุปทานธุรกิจการจัดงานแสดงสินค้าและนิทรรศการ. (วิทยานิพนธ์หลักสูตร
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร).

พินิตา แก้วจิตคงทอง, และเยาวลักษณ์ ชาวบ้านโพธิ์. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกใช้บริการ
การจัดประชุมและสัมมนา (MICE) ของธุรกิจโรงแรมและรีสอร์ทในจังหวัดกาญจนบุรี. (โครงการ
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการเมือง คณะรัฐศาสตร์, มหาวิทยาลัยรามคำแหง).

สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ. (2558). รายงานตลาดงานแสดงสินค้านานาชาติใน
ภูมิภาคเอเซียแปซิฟิค. สืบค้น 15 ธันวาคม 2559, จาก www.businesseventsthailand.com

สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ. (2560ก). MICE REVIEW 2017. สืบค้น 1 ธันวาคม 2560,
จาก www.businesseventsthailand.com

สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ. (2560ข). ทิศทางกลยุทธ์ไมซ์ไทยประจำปีงบประมาณ
2560. สืบค้น 2 กันยายน 2560, จาก www.businesseventsthailand.com

สิน พันธุ์พินิจ. (2553). เทคนิคการวิจัยทางสังคมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์.

สุทราสินี จำปาจี. (2556). การพัฒนาส่วนประสมทางการตลาดของการจัดประชุมวิชาการระดับนานาชาติ
จังหวัดขอนแก่น. (การศึกษาอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น).

อนันต์ ฟักเย็น. (2555). การศึกษาการบริหารจัดการพื้นที่จัดแสดงสินค้าและนิทรรศการในขนาดที่
จำกัด สำหรับสินค้าประเภทสปา. (วิทยานิพนธ์หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัย
ศิลปากร).

Cochran, W. G. (1977). Sampling techniques (3rd ed.). New York: John Wiley and Sons.