การศึกษารูปแบบการเรียนการสอนแบบชุมชนเป็นฐาน : ชุมชนบางน้ำผึ้ง กรณีศึกษาของวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก

Main Article Content

เบญจมาภรณ์ ชำนาญฉา
ศศิธร คงอุดมทรัพย์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เพื่อศึกษาแนวคิดและความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการจัดการเรียน     การสอนแบบชุมชนเป็นฐาน (Community Based Learning : CBL) และศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้ชุมชนสำหรับการเรียนการสอนนี้ เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน ใช้วิธีวิเคราะห์เนื้อหาเอกสารและสอบถามความคิดเห็นจากกลุ่มผู้ประกอบการที่มีกิจกรรมในชุมชน ในส่วนวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรคือ อาจารย์และนักศึกษาของวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอกปีการศึกษา 2560 จำนวน 87 คนสุ่มตัวอย่างมา 54 คน เครื่องมือในการวิจัยคือแบบสอบถามเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ตามแนวคิดการวิเคราะห์ระบบด้าน Technology Feasibility ด้าน Economic Feasibility และด้าน Operation Feasibility ผลการวิจัยพบว่าแนวคิดของการจัดการเรียนการสอนแบบ CBL ได้แก่การเรียนการสอนโดยใช้กิจกรรมและศึกษาปัญหาจากชุมชน เวลาในห้องเรียนมีเพื่อสรุป วิเคราะห์ สังเคราะห์ความรู้ร่วมกัน รูปแบบการเรียนการสอนที่เหมาะสม คือการเรียนแบบพลิกกลับ (Flipped Classroom) และชุมชนนี้เหมาะสมในการเรียนการสอนแบบ CBL สาขาวิชาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศหรือการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนความคิดเห็นของประชาชนคือ ยอมรับและให้การสนับสนุนระดับปานกลาง ความเป็นไปได้ในการให้ชุมชนเป็นฐานการเรียนการสอน โดยรวมมีความเป็นไปได้ในระดับมาก โดยด้าน Technology  Feasibility  มีระดับปานกลาง ด้าน Economic Feasibility และด้าน Operation Feasibility มีระดับมาก ที่น่าสนใจคือ ข้อเสนอแนะจากชุมชนเกี่ยวกับการคัดเลือกกิจกรรมสำหรับใช้ในการเรียนการสอนควรคำนึงถึงความแตกต่างของกิจกรรมตามระดับขององค์กร ได้แก่ องค์กรขนาดเล็ก เช่น SME กลุ่มต่าง ๆ องค์กรขนาดกลาง เช่น ห้างสรรพสินค้า โรงแรม และองค์กรขนาดใหญ่ เช่น หน่วยงานราชการ เพราะมีผลต่อความไม่เท่าเทียมของการเรียนรู้ในบริบทต่างกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1] กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2558). ยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวไทยพ.ศ.2558–2560.
2] จีริสุดา คำสีเขียว , ณัฐวัฒน์ ตีระวัฒนพงษ์. (2557). งานวิจัยเรื่อง “ผลของการจัดการเรียนรู้แบบใช้ชุมชนเป็นฐานในรายวิชาเภสัชศาสตร์นิเทศ สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 1 คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี” คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.
3] นเรนทร์ แก้วใหญ่, (2559). “ศูนย์การเรียนรู้ของชุมชน : การพัฒนาที่ยั่งยืนของสถาบันอุดมศึกษา”. วารสารวิชาการเซาธ์อีสท์บางกอก(สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์) ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม 2559. p.108.
4] ถนอมพร เลาหจรัสแสง และ อุไรวรรณ หาญวงค์ (2550) การบูรณาการเทคโนโลยี e-Learning ประเภทเกมในชั้นเรียน. การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 45: สาขาศึกษาศาสตร์ สาขาเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เมื่อ 30 ม.ค. – 2 ก.พ.2560 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. สืบค้น 22 มีนาคม 2560 จาก https://kukr.lib.ku.ac.th/proceedings/index.php?/KUCON/search_detail/result/10563
5] นิด้าโพล. (2560). ปัญหาคุณภาพบัณฑิตไทย. สืบค้น 21 กุมภาพันธ์ 2560 จาก http://nidapoll.nida.ac.th/index.php?op=polls-detail&id=264.
6]พิชชาภา ศุภวัฒนกุล.(2558). ท่องเที่ยวเชิงนิเวศ : เทรนด์มาแรงแห่งอาเซียน. นิตยสาร B-More ฉบับปีที่ 3 มิถุนายน 2558. กองทุนบัวหลวง สืบค้น 16 กรกฎาคม 2560 จาก http://www.bblam.co.th/PR/new/images/BMORE/B-MORE_3.pdf
7]ไพศาล ไกรสิทธิ์. (2558). “ปัญหาอุดมศึกษาไทย”. บทความ online วันที่ 9 มีนาคม 2558. สืบค้น 30 มีนาคม 2560 จาก paisarn.blogspot.com/2015/03/.
8] ภัทรวดี จินดารักษ์ (2559) การท่องเที่ยวชุมชนกับการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมพื้นที่สีเขียว ตำบลบางกะเจ้า และตำบลบางน้ำผึ้ง อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ. วิทยานิพนธ์ ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต การบริหารทรัพยากรป่าไม้และสิ่งแวดล้อม คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
9] รัฐบาลไทย.(2560).ร่างยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20ปี (พ.ศ.2560-2579). สืบค้น 2 ก.พ.2560 จาก http://www.thaigov.go.th.
10] วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21 . กรุงเทพฯ : มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.
11] วิชยานนท์ สุทธโส (2559). ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 : ความท้าทายของมหาวิทยาลัยราชภัฏ วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร ปีที่ : 7 ฉบับที่ : 2 เลขหน้า : 149-156 ปีพ.ศ. : 2559
12] วิทยากร เชียงกูล. (2555). รายงานสภาวะการศึกษาไทย สืบค้น 30 มี.ค.2560 จากhttps://witayakornclub.wordpress.com/2012/03/14/บทที่3-ปัญหาการจัดการศึกษา
13]สุเมธ แย้มนุ่น.(2558). เอกสารประกอบการบรรยายเรื่อง การดำเนินการจัดทำแผนอุดมศึกษาระยะยาว 15 ปี ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2560-2574) 28 สิงหาคม 2558 ณ โรงแรมรามา การ์เด้นส์. กรุงเทพฯ.
14] Bergmann, J. and Sams, A. (2012). Flip the Classroom, International Society for Technology in Education, Washington, DC. [Google Scholar].
15] Catherine Elizabeth Scott, Linda E Green, Debra Lynn Etheridge, (2016). "A comparison between flipped and lecture-based instruction in the calculus classroom", Journal of Applied Research in Higher Education, Vol. 8 Issue: 2, pp.252-264. Retrieved from https://doi.org/10.1108/JARHE-04-2015-0024.
16] Fischer G., Rohde M., & Wulf V. (2007). “Community-Based Learning: The Core Competency of Residential, Research Based Universities,” International Journal for Computer-Supported Collaborative Learning. (iJCSCL), March 2007, Volume 2, Issue 1, pp 9–40.
17] Michelle Sterk Barrett. (2012). Papered for COLLEGE OF THE HOLY CROSS. An Introduction of Community-Based Learning. Worcester.