ปัญหาขอบเขตการใช้สิทธิเสรีภาพการชุมนุมสาธารณะ และการใช้อำนาจของฝ่ายปกครองในการคุ้มครองประโยชน์สาธารณะ ตามบทบัญญัติกฎหมายของประเทศไทย

Main Article Content

ญาณวัฒน์ พลอยเทศ

บทคัดย่อ

งานวิจัยฉบับนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ศึกษาเกี่ยวกับกฎหมายการชุมนุมสาธารณะ ของประเทศไทยและของต่างประเทศในสามประเด็น คือ ประเด็นที่ 1 ขอบเขตการใช้เสรีภาพการชุมนุมสาธารณะเป็นการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ เป็นไปตามหลักนิติรัฐ หลักเสรีภาพเป็นหลักทั่วไปการจำกัดเสรีภาพ ประเด็นที่ 2 การใช้อำนาจของฝ่ายปกครองตามกฎหมาย และ ประเด็นที่ 3 อำนาจศาล ในการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพการชุมนุมสาธารณะและการตรวจสอบการใช้อำนาจฝ่ายปกครองเพื่อการคุ้มครองประโยชน์สาธารณะ ผลการวิจัยพบว่า 1) กฎหมายการชุมนุมสาธารณะของต่างประเทศเช่น ประเทศเยอรมนี ประเทศฝรั่งเศส มีสอดคล้องกับ หลักนิติรัฐ หลักเสรีภาพทั่วไปการจำกัดเสรีภาพเป็นข้อยกเว้น โดยใช้หลักการแจ้งล่วงหน้า กฎหมายมีการแบ่งลักษณะ การชุมนุม และการเดินขบวน และมีการจัดแบ่งประเภทการชุมนุม ส่วนกฎหมายของประเทศไทยได้นำหลักการแจ้งล่วงหน้ามาใช้ในกฎหมาย 2) ในการใช้อำนาจของฝ่ายปกครองตามกฎหมายของต่างประเทศ ฝ่ายปกครองไม่มีอำนาจในการพิจารณาการอนุญาตการชุมนุม ส่วนกฎหมายของเขตปกครองพิเศษฮ่องกงและของประเทศไทย ฝ่ายปกครองมีอำนาจในการพิจารณาการอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้มีการชุมนุม การไม่แจ้งล่วงหน้าให้ฝ่ายปกครองทราบ ผู้ชุมนุมจะมีความผิดตามกฎหมายการชุมนุมสาธารณะและฝ่ายปกครองมีอำนาจในการดำเนินคดีได้ตามกฎหมาย 3) อำนาจศาล ในการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพการชุมนุมสาธารณะ และการตรวจสอบการใช้อำนาจฝ่ายปกครองเพื่อการคุ้มครองประโยชน์สาธารณะ ตามกฎหมายของประเทศฝรั่งเศส ประเทศเยอรมนี ซึ่งเป็นระบบศาลคู่ เป็นอำนาจของศาลปกครองเพราะถือว่าเป็นคำสั่งทางปกครอง ที่มีผลกระทบต่อเสรีภาพ ส่วนประเทศอังกฤษและประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นระบบศาลเดี่ยวจึงเป็นอำนาจศาลยุติธรรมแต่มีคำพิพากษาของศาลนำหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการปกครองมาใช้ ข้อเสนอแนะ รัฐควรใช้ หลักการแจ้งล่วงหน้าโดยปราศจากเงื่อนไข ในการใช้ดุลยพินิจของฝ่ายปกครอง เว้นแต่การชุมนุมสาธารณะที่มีการกระทำผิดกฎหมายอื่นที่รุนแรงฝ่ายปกครองย่อมสามารถดำเนินการได้ในทันที เพื่อเป็นการสนับสนุนการใช้เสรีภาพการชุมนุมสาธารณะและคุ้มครองประโยชน์สาธารณะให้สอดคล้องกับหลักการของหลายประเทศและอำนาจศาลในกฎหมายการชุมนุมสาธารณะ ควรเป็นของศาลยุติธรรมเพื่อให้สอดคล้องกับระบบศาลของประเทศ

Article Details

How to Cite
พลอยเทศ ญ. (2020). ปัญหาขอบเขตการใช้สิทธิเสรีภาพการชุมนุมสาธารณะ และการใช้อำนาจของฝ่ายปกครองในการคุ้มครองประโยชน์สาธารณะ ตามบทบัญญัติกฎหมายของประเทศไทย. วารสารวิชาการเซาธ์อีสท์บางกอก (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 6(1), 73–90. https://doi.org/10.14456/sb-journal.2020.7
บท
บทความวิจัย

References

กิจบดี ชินเบญจภุช. หลักกฎหมายมหาชน พิมพ์ครั้งที่1(ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์รามคำแหง.2561

เกรียงไกร เจริญธนาวัฒน์. หลักพื้นฐานกฎหมายมหาชน พิมพ์ครั้งที่ 4 กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ วิญญูชน.2561

คณิต ณ นคร. ปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมทางอาญา (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ วิญญูชน.2560

ชาญชัย แสวงศักดิ์.กฎหมายมหาชน : วิวัฒนาการของกฎหมายมหาชนในต่างประเทศและประเทศไทย กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์วิญญูชน.2560

บวรศักดิ์ อุวรรณโณ. กฎหมายมหาชน เล่ม 1 พิมพ์ครั้งที่ 11 ( กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2560

บรรเจิด สิงคเนติ.หลักกฎหมายมหาชน(หลักนิติธรรม นิติรัฐในฐานะเกณฑ์จำกัด) พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วิญญูชน 2559

นทวัฒน์ บรมานันท์ หลักกฎหมายปกครองเกี่ยวกับบริการสาธารณะ พิมพ์ครั้งที่ 5 กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วิญญุชน 2560

วรเจตน์ ภาคีรัตน์. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายปกครอง: หลักการพื้นฐานของกฎหมายปกครองและการกระทำทางปกครอง. พิมพ์ครั้งที่ 3.กรุงเทพมหานคร: สำนัก พิมพ์วิญญูชน. 2549

วรพจน์ วิศรุตพิชญ์. ข้อความคิดและหลักการพื้นฐานบางประการของกฎหมายปกครอง. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์วิญญูชน 2562

ฤทัย หงส์สิริ. ศาลปกครองและการดำเนินคดีในศาลปกครอง , กรุงเทพมหานคร :สำนักอบรมกฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา 2561

สมยศ เชื้อไทย.นิติปรัชญา. พิมพ์ครั้งที่ 20 กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์วิญญูชน 2561

สมชาย กษิติประดิษฐ์ . สิทธิมนุษยชน พิมพ์ครั้งที่ 20 (กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง 2560

ภัทระ ลิมป์ศิระ. สิทธิในการชุมนุมของประชาชนโดยสงบในสังคมประชาธิปไตย ตามกฎหมาย ระหว่างประเทศ. วารสารกระบวนการยุติธรรม เล่มที่ 2 ปีที่ 1 2551

ศิริพล กุศลศิลป์วุฒิ.หลักกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการสิทธิและเสรีภาพในการชุมนุมของประเทศสหรัฐอเมริกา. เอกสารเผยแพร่สำนักงานกองกฎหมายและคดีสำนักงานตำรวจแห่งชาติ. 2551

ปกรณ์ นิลประพันธ์. กฎหมายว่าด้วยการชุมนุมในที่สาธารณะของต่างประเทศวารสารกฎหมายปกครอง สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เล่มที่ 27 ตอนที่ 1 2553

ปกรณ์ นิลประพันธ์.หลักการสลายการชุมนุมสาธาณะที่เกินขอบเขต กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา 2551

จันทจิรา เอี่ยมมยุรา.กฎหมายว่าด้วยการชุมนุมสาธารณะและการเดินขบวนของ

ประเทศสาธารณรัฐเกาหลี วารสารกฎหมายปกครอง สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เล่มที่ 27 ตอนที่ 1 2553

ปกิตตา นิภาวรรณ.กฎหมายว่าด้วยการชุมนุมสาธารณะของประเทศฝรั่งเศส วารสารกฎหมายปกครอง สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เล่มที่ 27 ตอนที่ 1 2553

วรนารี สิงห์โต. กฎหมายเกี่ยวกับการชุมนุมและเดินขบวนและการบังคับทางปกครองตามคำสั่งสลายการชุมนุมและการเดินขบวนในระบบกฎหมายเยอรมัน วารสารกฎหมายปกครอง สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เล่มที่ 27 ตอนที่ 1 2553

อุทัย อาทิเวช. คู่มือกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เล่ม 1 พิมพ์ครั้งที่ 3 (กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ วี.เจ.พริ้นติ้ง)

อังกูร วัฒนรุ่ง.หลักแห่งความได้สัดส่วน (Principle of Proportionality) เอกสารเผยแพร่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ 2550

วินิจ เจริญชัยยง. กฎหมายเกี่ยวกับเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบ. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.2539

พจนา โสภาเจริญวงศ์ มาตรการทางกฎหมายที่เหมาะสมเพื่อจัดระเบียบเกี่ยวกับการชุมนุมสาธารณะ มหาวิทยาลัย ธุรกิจบัณฑิตย์.2554

Assembly and Demonstration Act, 2007

American Law and Legal Systems. 2000. James V. Calvi.

Bayan A.Garner,Edition in chief,Black’sLaw Dictionary (Seventh Edition)

Black’s Law Dictionary (Seventh Edition)

Jaclyn Belczuk, South Korea court rules ban on nighttime assemblies unconstitutional, in http://jurist.law.pitt.edu/paperchase/2009/09/south-korea-court-rules-ban-on.php#, Friday, September 25, 2009.

Law of the people’. 1989. Republic of China on assemblies Processions and Demonstration on October 31.

Michael L. Principe: Albert Venn Dicey and the Principles of the Rule of

Law: Is Justice Blind? A Comparative Analysis of the United States and Great Britain

Sourcebook on Public law. 1997. Helen Fenwick.

The Constitution of the Republic of Korea

Library of Congress Country Study - South Korea

Guidelines on Freedom of Peaceful Assembly ISBN 978-92-9234-785-7 Designed by