การขนส่งผลิตภัณฑ์กับโลจิสติกส์

Main Article Content

ไชยยศ ไชยมั่นคง
วิมลวัลย์ ทรงศิริยศ
สงกรานต์ มหาผล

บทคัดย่อ

ความเข้าใจว่าโลจิสติกส์ คือ การขนส่ง นำไปสู่การกำหนดนโยบายการขนส่งที่ไม่ครอบคลุม เพราะโลจิสติกส์ประกอบด้วยกิจกรรมต่าง ๆ ที่กระจายอยู่ตามงานในองค์การการบริการ การขนส่งจึงเป็นเพียงกิจกรรมหนึ่งของโลจิสติกส์ จุดมุ่งหมายการจัดการโลจิสติกส์คือให้ต้นทุนรวมโลจิสติกส์ต่ำที่สุดและลูกค้าพึงพอใจกับผลิตภัณฑ์ เป้าหมายการจัดการขนส่งในบริษัทจึงไม่เพียงให้มีต้นทุนขนส่งต่ำที่สุดเท่านั้น การขนส่งประกอบด้วย 5 รูปแบบขนส่ง คือ การขนส่งด้วย รถบรรทุก รถไฟ เรือ เครื่องบินและทางท่อ จัดตามรูปแบบขนส่งที่มีประสิทธิภาพตามลำดับคือ ทางท่อ เรือ รถไฟ รถบรรทุก และเครื่องบิน หากจัดลำดับตามความรวดเร็วของการเดินทางสินค้าตามลำดับคือ เครื่องบิน รถบรรทุก รถไฟ เรือ และทางท่อ การขนส่งที่มีประสิทธิภาพไม่ใช่เพียงขนส่งด้วยต้นทุนต่ำ ภาครัฐและเอกชนของไทยมองว่า การขนส่งด้วยรถบรรทุกมีต้นทุนต่ำ มีการใช้รถบรรทุกขนส่งผลิตภัณฑ์ประเทศไทยประมาณร้อยละ 80 ทำให้ต้นทุนโลจิสติกส์ของไทยสูงเมื่อเปรียบเทียบกับบางประเทศ การจัดการโลจิสติกส์ต้องพิจารณาต้นทุนโลจิสติกส์ รวมทั้งหมดที่เกี่ยวข้อง คือ ต้นทุนสินค้าคงคลัง ต้นทุนขนถ่ายสินค้าซ้ำซ้อนและเงื่อนไขเวลาส่งมอบสินค้า ความรู้ในเรื่องของการขนส่งผลิตภัณฑ์กับโลจิสติกส์เท่านั้นที่นำไปสู่นโยบายของรัฐบาลให้เกิดการเปลี่ยนการใช้รูปแบบขนส่งที่เหมาะสมและคุ้มค่า

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

ไชยยศ ไชยมั่นคงและ มยุขพันธุ์ ไชยมั่นคง. 2556. กลยุทธ์โลจิสติกส์และซัพพลายเชนเพื่อแข่งขันในตลาดโลก ฉบับปรับปรุง (พิมพ์ครั้งที่ 7) กรุงเทพ ฯ : วิชั่น พรีเพรส

ไชยยศ ไชยมั่นคงและ มยุขพันธุ์ ไชยมั่นคง. 2560. การจัดการซัพพลายเชนและช่องทางการตลาด. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพ ฯ : วิชั่น พรีเพรส

ไชยยศ ไชยมั่นคงและ มยุขพันธุ์ ไชยมั่นคง. 2554. กลยุทธ์การขนส่ง. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพ ฯ : วิชั่น พรีเพรส

Ronal H. Ballou .2004. Business Logistics/Supply Chain Management.New Jersey : Pearson Prentice Hall

ESCAP. 2017. Review of Developments in Transport in Asia and the Pacific

กระทรวงคมนาคม สถิติการขนส่ง