การประเมินเครื่องมือวัดพฤติกรรมรักษ์สิ่งแวดล้อมของนักศึกษาปริญญาตรี และความ ไม่แปรเปลี่ยนของโมเดลการวัด

Main Article Content

ดร.อนันต์ แย้มเยื้อน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจของแบบวัดพฤติกรรมรักษ์สิ่งแวดล้อมของนักศึกษาปริญญาตรี และวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่สองของแบบวัด และ 2) ศึกษาความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดลการวัดของแบบวัด การวิจัยครั้งนี้ได้ทำการสุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีแบบหลายขั้นตอนกำหนดโควต้า (Multistage Quota Random Sampling) กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาปริญญาตรี จำนวน 600 คน ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มตัวอย่าง เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ จำนวน 300 คน และกลุ่มตัวอย่างเพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่สอง และเพื่อศึกษาความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดลการวัด จำนวน 300 คน ผลการวิเคราะห์สรุป ดังนี้ 1) วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจของแบบวัด พบว่าได้องค์ประกอบของแบบวัด จำนวน 4 องค์ประกอบ ได้แก่ การร่วมกิจกรรมรักษ์สิ่งแวดล้อม จำนวน 4 ข้อ การทิ้งขยะลงในแม่น้ำ
จำนวน 3 ข้อ การทำลายสิ่งแวดล้อม จำนวน 3 ข้อ และ การประหยัดทรัพยากร จำนวน 3 ข้อ รวมทั้งสิ้น 13 ข้อ ซึ่งสามารถอธิบายความแปรปรวนได้ 56.28% และเมื่อทำการวิเคราะห์องค์ประกอบ
เชิงยืนยันอันดับที่สอง ปรากฏว่าโมเดลกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่า Chi-Square = 61.12 df = 45 p-value 0.055 GFI = 0.97 CFI = 0.98 RMSEA=0.03 SRMR =0.06 2) ผลการวิเคราะห์ความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดล พบว่า ไม่มีความแปรเปลี่ยนของโมเดลการวัดในเชิงรูปแบบโมเดล และความไม่แปรเปลี่ยนของน้ำหนักองค์ประกอบตามเกรดเฉลี่ย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม. (2542). การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ: ดอกเบี้ย.

เกษม จันทร์แก้ว. (2545). สิ่งแวดล้อม เทคโนโลยีและชีวิต. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ดวงเดือน พันธุมนาวิน. (2550). Pros และ Cons ในการวัดด้วยมาตรประเมินรวมค่า โดยให้ผู้ตอบ รายงานตนเอง. วารสารพัฒนาสังคม, 9(2), 94-117.

ดุจเดือน พันธุมนาวิน, และวุฑฒิ พันธุมนาวิน. (2555). การวิจัยเพื่อพัฒนาเครื่องมือวัดทัศนคติที่ดีต่อโรงไฟฟ้านิวเคลียร์สำหรับนักศึกษาปริญญาตรี (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2537). ความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้น (LISREL): สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นพวรรณ ทองกำเนิด. (2554). ปัจจัยทางจิตสังคมที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในโครงการประชารวมใจ คืนความสดใสให้คลองแสนแสบ. (ภาคนิพนธ์ คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์).

นิภาพร โชตสุดเสน่ห์. (2545). ปัจจัยทางจิตสังคมที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ของนักศึกษามหาวิทยาลัย. (ภาคนิพนธ์ คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์).

นิวัติ เรืองพานิช. (2537). การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ภัทรกร อิสระภาคย์. (2549). ปัจจัยเชิงเหตุแบบบูรณาการระหว่างครอบครัว สังคม และจิตลักษณะที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการทิ้งขยะอย่างเหมาะสมของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย.(ภาคนิพนธ์ คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์).

วินัย วีระวัฒนานนท์. (2541). สิ่งแวดล้อมศึกษา. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

ศรีสุวรรณ เกษมสวัสดิ์. (2553). ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมในรายวิชาสิ่งแวดล้อมกับการพัฒนาที่ยั่งยืนที่มีต่อพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาสำหรับนักศึกษาชั้นปีที่1-3 สาขาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

สุกมล มุ่งพัฒนสุนทร. (2546). ปัจจัยทางจิตสังคมและลักษณะทางพุทธศาสนาที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการรักษ์สัตว์ของนักเรียนวัยรุ่นชายในชนบท. (ภาคนิพนธ์ คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์).

สุภมาส อังศุโชติ, สมถวิล วิจิตรวรรณา, และรัชนีกูล ภิญโญภานุวัตน์. (2554). สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์: เทคนิคการใช้โปรแกรม LISREL (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: เจริญดีมั่นคงการพิมพ์.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2545.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักนายกรัฐมนตรี.

Dimitrow, D.M. (2010). Testing for factorial invariance in the context of construct validation. Measurement Evaluation in Counseling and Development, 43(2),121-149.

Spector, P.E. (1992). Summated rating scale construction : An introduction Sage University. In Michael S. Lewis-Beck (Ed.), Papers series. quantitative applications in the social sciences ; No. 07-082 (pp.1-70). Newbury Park, CA: Sage.

Vandenberg, R. J., & Lance, C. E. (2000). A review and synthesis of the measurement invariance literature: Suggestions, practices and recommendations for organizational research. Organizational Research Methods, (9), 214-227.