ตัวชี้วัดคุณธรรมจริยธรรมของบัณฑิต

Main Article Content

เบญญพร มหาพิรุณ
เรณู จันทะวงศา
ดร.สุริยะ พุ่มเฉลิม

บทคัดย่อ

ศตวรรษที่ 21 สังคมต้องการผู้มีคุณธรรมจริยธรรม เพื่อนำ พาสังคมโลกให้ยั่งยืน สถาบันอุดมศึกษาเป็นแหล่งผลิตบัณฑิตเข้าสู่สังคม จึงมีหน้าที่โดยตรงในการจัดการเรียนรู้ด้านคุณธรรมจริยธรรมให้นักศึกษา โดยการสอดแทรกเข้าในกิจกรรมหรือโครงการต่าง ๆ ของนักศึกษา
และจัดให้มีวิชาเกี่ยวกับคุณธรรมจริยธรรมเฉพาะสาขาวิชาด้วย เป้าหมายเพื่อจะได้บัณฑิตที่มีคุณธรรมจริยธรรมเข้าสู่สังคม ตามคุณลักษณะบัณฑิตที่กรอบมาตรฐานคุณวุฒิอุดมศึกษาแห่งชาติ
(Thai Qualifications Framework for Higher Education, TQF : HEd) กำหนดให้คุณธรรมจริยธรรมเป็นคุณลักษณะบัณฑิตที่มีความสำคัญเป็นอันดับแรก ในปัจจุบันระดับอุดมศึกษายังไม่มีเครื่องมือหรือ
ตัวชี้วัดคุณธรรมจริยธรรมของบัณฑิตที่เป็นมาตรฐาน และการวัดคุณธรรมจริยธรรมไม่ควรเป็นรายบุคคล แนวทางในการวัดคุณธรรมจริยธรรมโดยการกำหนดตัวชี้วัดคุณธรรมจริยธรรมของบัณฑิต
มี 2 แนวทาง ดังนี้ แนวทางที่ 1 กำหนดตัวชี้วัดจากผลการเปรียบเทียบคุณธรรมจริยธรรมเดิมก่อนเข้ารับการเรียนรู้ กับคุณธรรมจริยธรรมหลังจากได้รับการเรียนรู้ในสถาบันอุดมศึกษา กับแนวทางที่ 2 คือกำหนดตัวชี้วัดจากระดับของคุณธรรมจริยธรรมเมื่อสำเร็จการเรียนรู้ในรายวิชาใดหรือหลักสูตรใดเพื่อสรุปว่าผลของการเรียนรู้นั้นได้เพิ่มคุณธรรมจริยธรรมให้กับผู้เรียน ซึ่งทั้งสองแนวทางควรเป็น
แบบวัดที่มีลักษณะของคุณธรรมจริยธรรมอย่างน้อยตามคุณธรรมจริยธรรม 9 ประการที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนด ได้แก่ ขยัน ประหยัด ซื่อสัตย์ มีวินัย สุภาพ สะอาดกาย สะอาดใจสามัคคี มีนํ้าใจ โดยแบบวัดนี้ควรมีการแสดงค่าความเชื่อมั่น (Reliability) และความเที่ยงตรง (Validity) ของแบบวัดด้วย

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552. สืบค้น 12 มีนาคม 2559, จาก http://www.mua.go.th/users/tqf-hed/news/FilesNews/FilesNews2/news2.pdf

กุศล ถี่ถ้วน. (2550). ศึกษาสภาพปัญหาการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียนตามทัศนะของครูโรงเรียนวัดเวฬุวนาราม (สินทรัพย์อนุสรณ์) สำนักงานเขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร.กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.

ขวัญหญิง ศรีประเสริฐภาพ. (2555). จริยธรรมกับทักษะแห่งศตวรรษที่ 21. วารสารวิชาการคุณธรรมความดี, 1(1), 47-58.

ดวงเดือน พันธุมนาวิน. (2554). คู่มือ : การพัฒนาและส่งเสริมการปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมข้าราชการพลเรือนสำหรับคณะกรรมการจริยธรรม. กรุงเทพฯ: สำนักงาน ก.พ.

ทองพูล ภูสิม, ศักดิ์พงศ์ หอมหวน, และสมบัติ ฤทธิเดช. (2551). ศึกษาเรื่องการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 8 ประการ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 กรณีศึกษาโรงเรียนแกดำวิทยาคาร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามหาสารคาม เขต 1. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 5(1), 175-186.

ทิศนา แขมณี. (2546). การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมและค่านิยม : จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ.กรุงเทพฯ: เสริมสิน พรีเพรส ซิสเท็ม.

ธานินทร์ กรัยวิเชียร. (2552). จริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ.วารสารจุลนิติ, 6(1), 27-52.

พิเชษฐ รุ้งลาวัลย์. (2550). การศึกษาความต้องการด้านคุณธรรมจริยธรรมสำหรับหลักสูตรด้านคอมพิวเตอร์ในระดับอุดมศึกษา. (วิทยานิพนธ์หลักสูตรครุศาสตรอุตสาหกรรมมหาบัณฑิต,มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ).

พิศสมัย อรทัย, และเพชรรัตน์ เกิดดอนแฝก. (2551). การพัฒนาตัวบ่งชี้คุณธรรมจริยธรรมสำหรับนักศึกษาพยาบาล (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล.

พิษนุ อภิสมาจารโยธิน. (2550). การศึกษาผลการดำเนินงานด้านการพัฒนาจิตคุณธรรมและจริยธรรมของนักศึกษาแพทย์ศิริราช (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์ พับลิเคชั่นส์.

ลัดดาวัลย์ ประกอบเพ็ชร์, และโชติกา ภาษีผล. (2553). ผลและความคงทนของการพัฒนาคุณธรรมของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยการสอนแบบบูรณาการด้วยการเขียนบันทึกประจำวัน. สืบค้น 12 มีนาคม 2559, จาก http://www.edu.chula.ac.th/ojed/doc/V52/v52d0070.pdf.

ลัดดาวัลย์ ศรีนิมิตรแก้ว. (2552). แนวทางการจัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมให้กับนักศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล กรุงเทพ.

วิจารณ์ พานิช. (2555). การผลิตบัณฑิตในศตวรรษที่ 21. สืบค้น 8 มีนาคม 2559, จาก file:///C:/Documents%20and%20Settings/YAOWAPANEE/My%20Documents/Downloads/20389-43953-1-SM.pdf

สมคิด พึ่งสุข. (2545). การเปรียบเทียบระดับความรู้ ความเข้าใจและพฤติกรรมด้านคุณธรรม จริยธรรม ก่อน-หลัง การเข้าอบรมโครงการพัฒนาจิตเฉลิมพระเกียรติ หลักสูตรพัฒนาคุณภาพชีวิตของนักเรียน นักศึกษาวิทยาลัยเทคนิคมหาสารคาม. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.

สรรเสริญ อินทรัตน์, ฐิติยา เนตรวงษ์, รัชฎาพร ธิราวรรณ, และนฤมล นิตย์จินต์. (2556). การพัฒนาแนวทางการเรียนการสอนแบบบูรณาการคุณธรรมจริยธรรมตามแนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการจัดการเรียนการสอนหมวดวิชาศึกษาทั่วไปของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2558). คู่ มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับอุดมศึกษา. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.สำนักงาน

เลขาธิการสภาการศึกษา. (2551). รายงานการวิจัยประเมินผลคุณธรรม 8 ประการของผู้เรียน : เจตคติและพฤติกรรม. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

สุธาสินี แม้นญาติ. (2554). โมเดลความสัมพันธ์โครงสร้างปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น).

Brown, R. (1968). Social psychology. New York: McGraw-Hill.
Ethics1stclass. (2555). มาตรฐานทางจริยธรรม. สืบค้น 8 มีนาคม 2559, จาก http://ethics1stclass.blogspot.com/2012/11/blog-post.html

Piaget, J. (1960). The moral judgement of the child. Illinois: The Free Press.Shaffer, D. R. (1996). Social and personality development (3rd ed.). Belmont, CA:Thompson Learning.