ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการดําเนินงานการจัดการความรู้ ของวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาเอกชน ในกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

ชนาภา สิริรัตนสุธี
ดร.ภูษิตย์ วงษ์เล็ก

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาสภาพการดําเนินงานการจัดการความรู้และ ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการดําเนินงานการจัดการความรู้ของวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา เอกชนในกรุงเทพมหานคร ประชากร ได้แก่ บุคลากรของวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาเอกชน ในกรุงเทพมหานคร จํานวน 252 คน จาก 84 วิทยาลัย กลุ่มตัวอย่างคือ บุคลากรของวิทยาลัยเทคโนโลยี และอาชีวศึกษาเอกชนในกรุงเทพมหานคร จํานวน 138 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ที่มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) อยู่ระหว่าง 0.60-1.00 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยการวิเคราะห์การถดถอย


ผลการวิจัยพบว่า สภาพการดําเนินงานการจัดการความรู้ของวิทยาลัยเทคโนโลยีและ อาชีวศึกษาเอกชนในกรุงเทพมหานคร ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีการดําเนินงานสูงสุดด้าน การบ่งชี้ความรู้ รองลงมาคือ ด้านการแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ ส่วนปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการ ดําเนินงานการจัดการความรู้ในภาพรวมมีอิทธิพลอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีอิทธิพลสูงสุด คือ ด้านภาวะผู้นํา รองลงมาคือ ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านวัฒนธรรมองค์กร และด้านโครงสร้าง องค์กร ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการดําเนินงานการจัดการความรู้ของ วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาเอกชน ในกรุงเทพมหานคร คือโครงสร้างองค์กร เทคโนโลยี สารสนเทศ และวัฒนธรรมองค์กร สามารถร่วมกันพยากรณ์การดําเนินงานการจัดการความรู้ของ วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาเอกชน ในกรุงเทพมหานครได้ร้อยละ 64.50

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เครือวัลย์ แย้มปรางค์, พันธุ์ทิพา ยุวทองไทย, และจิระดา แช่มพวงงาม. (2551). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการความรู้ ในสํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองการศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร)

จันทนา สุขธนารักษ์. (2550). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการจัดการความรู้ทางการพยาบาลตามการรับรู้ของพยาบาล หัวหน้าหน่วยงานโรงพยาบาล จังหวัดชลบุรี. (วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา).

ธเนศ สิงห์สูง. (2552). สภาพและปัญหาการใช้ตัวบ่งชี้ตามมาตรฐานการอาชีวศึกษาของโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชนกลุ่มภาคกลาง. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี).

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น

ภราดร จินดาวงศ์. (2549). การจัดการความรู้ กรุงเทพฯ: บริษัทสกายบุ๊คส์จํากัด มาร์ควอดต์

ไมเคิล เจ. (2554). การพัฒนาองค์การแห่งการเรียนรู้ [Building the learning organization] (บดินทร์ วิจารณ์, ผู้แปล) (พิมพ์ครั้งที่ 8), กรุงเทพฯ: เอ็กเปอร์เน็ท.

รักษ์ วิศุภกาญจน์. (2552). การศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการจัดการความรู้ของพนักงานฝ่ายปฏิบัติและเครือข่ายสารสนเทศ ธนาคารออมสิน. (การค้นคว้าอิสระวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)

ศิรินทิพย์ ธิติพงษ์วณิช. (2552). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการความรู้เรื่องภูมิปัญญาท้องถิ่นในการจัดการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาเพชรบุรีเขต 2 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี)

สมาคมวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย. (2557). รายชื่อวิทยาลัย กลุ่มภาคกลาง. สืบค้น 17 มกราคม 2557, จาก :
http://www.samakomarcheewa.or.th/region.php?rid=01

สํานักงาน ก.พ.ร. และสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ. (2548). คู่มือการจัดทําแผนการจัดการความรู้ กรุงเทพฯ: สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ

สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2546). คู่มือคําอธิบายและแนวทางปฏิบัติตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546. กรุงเทพฯ สิรบุตรการพิมพ์

สํานักงานมาตรฐานการอาชีวศึกษาและวิชาชีพ. (2557ก). มาตรฐานการศึกษาแห่งชาติกับการประกันคุณภาพการศึกษา, สืบค้น 17 มกราคม 2557, จาก http://bs92.vec.go.th/Assure/standardvec4.ppt

สํานักงานมาตรฐานการอาชีวศึกษาและวิชาชีพ. (2557ข). มาตรฐานการอาชีวศึกษา. สืบค้น 17 มกราคม 2557, จาก http://bsq2.vec.go.th/Assure/standardvec3.ppt

Cronbach, L. J. (1970). Essentials of psychological testing. New York Harper and Row.