การรับรู้การนํานโยบายการถ่ายโอนสถานศึกษาไปสู่การปฏิบัติของบุคลากร ในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดสิงห์บุรี

Main Article Content

ปวริศา ทองพันชั่ง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการรับรู้การนํานโยบายการถ่ายโอนสถานศึกษาไปสู่ การปฏิบัติของบุคลากรในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดสิงห์บุรี 7 ด้าน ได้แก่ ด้านความ ชัดเจนในวัตถุประสงค์ของนโยบาย ด้านความชัดเจนในวัตถุประสงค์ของโครงการ ด้านความชัดเจนใน การกําหนดภารกิจ ด้านความชัดเจนในการมอบหมายภารกิจ ด้านระดับมาตรฐานในการปฏิบัติงาน ด้านความเหมาะสมของระบบประเมินผล และด้านแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน 2) เปรียบเทียบการรับรู้ การนํานโยบายการถ่ายโอนสถานศึกษาไปสู่การปฏิบัติของบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการนํานโยบายถ่าย โอนสถานศึกษาไปสู่การปฏิบัติ 3 กลุ่ม ได้แก่ ข้าราชการการเมือง หัวหน้าส่วนราชการ และหัวหน้า งานรับผิดชอบด้านการศึกษาหรือนักวิชาการศึกษาในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดสิงห์บุรี โดยประชากรเป็นบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการนํานโยบายถ่ายโอนสถานศึกษาไปสู่การปฏิบัติ มีทั้งหมด จํานวน 123 คน เครื่องมือในการวิจัยเป็นแบบสอบถามตามมาตรวัด 5 ระดับ วิเคราะห์ค่าความเชื่อมั่น ของแบบสอบถามตามวิธีของ Cronbach ได้ค่าความเชื่อมั่น 0.97 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และหาค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า


1. การรับรู้การนํานโยบายถ่ายโอนสถานศึกษาไปสู่การปฏิบัติ ของบุคลากรในสังกัดองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดสิงห์บุรี พบว่า นโยบายถ่ายโอนสถานศึกษาที่มีลักษณะด้านความชัดเจน ในการกําหนดภารกิจ จะทําให้เกิดการรับรู้มากที่สุด และส่งผลต่อการนําไปปฏิบัติได้เป็นอย่างดี


2. ผลการเปรียบเทียบการรับรู้การนํานโยบายการถ่ายโอนสถานศึกษาไปสู่การปฏิบัติ พบว่า หัวหน้าส่วนราชการมีการรับรู้การนํานโยบายถ่ายโอนสถานศึกษาไปสู่การปฏิบัติในภาพรวมสูงกว่า ข้าราชการการเมืองและหัวหน้างานรับผิดชอบด้านการศึกษา ดังนั้นในการปฏิบัติงาน หัวหน้าส่วน ราชการ มีความเหมาะสมในการขับเคลื่อนนโยบายถ่ายโอนสถานศึกษามากกว่ากลุ่มข้าราชการ การเมืองและหัวหน้างานรับผิดชอบด้านการศึกษา 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงมหาดไทย. (2549). แนวทางการเสริมสร้างความพร้อมในการจัดการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรุงเทพฯ กระทรวงมหาดไทย

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2553). สถิติข้อมูลการศึกษาท้องถิ่น ปีการศึกษา 2553. กรุงเทพฯ:ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย

ชื่นจิตต์ วงษ์พนัส, บุญทัน ดอกไธสง, สุดใจ ทูลพานิชย์กิจ, และบุญเรือง ศรีเหรัญ. (2556). ความพร้อมการถ่ายโอนการศึกษาให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดปทุมธานี จังหวัดนนทบุรี
และจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารวิชาการคณะบริหารธุรกิจ, a(2), 47-60.

ปทุมมาศ ว่องอรุณชัย. (2546). วิเคราะห์ปัญหาการนํานโยบายไปปฏิบัติตามการกระจายอํานาจทางการศึกษาปัญหาพิเศษ. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา). วรเดช จันทรศร. (2551). ทฤษฎีการนํานโยบายสาธารณะไปปฏิบัติ, กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค

วรสิทธิ์ นัยพริ้ม. (2550). ความคิดเห็นเกี่ยวกับความพร้อมในการถ่ายโอนสถานศึกษาให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตามทัศนะของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ปัตตานี เขต 2 (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยหาดใหญ่)

ศิริรัตน์ หงส์ทองสกุล. (2552). ปัจจัยที่มีผลต่อความสําเร็จของการถ่ายโอนสถานศึกษา สังกัดกระทรวงศึกษาธิการให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น : กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วน
จังหวัดชลบุรี. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น)

สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2551). รายงานการติดตามการจัดการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ปี 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์บริษัท เพลิน สตูดิโอ จํากัด

สุธี คงดี. (2551). ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการถ่ายโอนสถานศึกษาขั้นพื้นฐานไปสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตเทศบาลตําบลพลับพลาชัย อําเภอพลับพลาชัย
จังหวัดบุรีรัมย์. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต).

Best, John W. (1981). Research in education (4th ed.). Englewood Cliffs, NJ.:Prentice-Hall