พื้นที่เมืองกับการดํารงอยู่ของร่างทรงเพศที่สามในสังคมไทย

Main Article Content

ดร.จารุวรรณ ขำเพชร

บทคัดย่อ

การศึกษานี้เป็นบางส่วนจากงานวิจัยเรื่อง ความเชื่อที่หลากหลายในพื้นที่เมืองของผู้เขียน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเหตุผลที่ร่างทรงเพศที่สามเป็นที่นิยมมากขึ้น และศึกษาว่าเหตุใดคนใน เขตพื้นที่เมืองและชานเมืองของกรุงเทพมหานคร รวมถึงจังหวัดนนทบุรี จึงนิยมการเข้าหาร่างทรง ใช้ระเบียบวิธีวิจัยโดยการสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม การสัมภาษณ์เจาะลึกกับบุคคลที่ทําหน้าที่เป็น ร่างทรงเพศทางเลือกหรือเพศที่สาม กลุ่มศึกษาคือกลุ่มเจาะจงบุคคลที่ทําหน้าที่เป็นร่างทรง โดยต้อง เป็นเพศทางเลือกหรือเพศที่สาม จํานวน 6 คน ผลการศึกษาพบว่า ร่างทรงเพศที่สามมีลักษณะ เฉพาะตัวที่แตกต่างจากเพศชายหรือหญิงแท้จริง ซึ่งการลงทรงมีทั้งเทพเจ้าในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู การลงทรงของวีรบุรุษหรือบุคคลสําคัญของชาติในอดีต การลงทรงของเทพชั้นระดับต่ําลงมา ได้แก่ ฤาษี กุมารทอง เจ้าแม่ต่าง ๆ เป็นต้น เพราะในพื้นที่เมืองที่ผู้คนอพยพเข้ามาอาศัยในเมืองต่างมีชีวิต ที่เร่งรีบ โดดเดี่ยว ต้องการที่พึ่ง และการเข้าหาร่างทรงเพื่อให้ช่วยแก้ไขปัญหา ปัดเป่า และเสริมให้ ชีวิตดีขึ้น การดํารงอยู่ของร่างทรงเพศที่สามมีอยู่มากในพื้นที่เมืองกรุงเทพมหานครแห่งนี้ ที่สําคัญคือ การเข้าทรงมีมากขึ้นและต่อเนื่อง ทั้งนี้เพราะความไม่แน่นอนในสังคมที่ไม่ให้หลักประกันต่อการใช้ ชีวิตอย่างมั่นคงในสังคมเมือง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมโยธาธิการและผังเมือง. (2559), วัฒนธรรมและชีวิตในเมือง. สืบค้น 10 สิงหาคม 2559, จาก http://www.dpt.go.th/ITCitdb/txt/pop/urban5.htm

จารุวรรณ ขําเพชร. (2557, พฤษภาคม), พรเทวนิยมท่ามกลางสี่แยกทุนนิยมในมหานครกรุงเทพการประชุมวิชาการระดับชาติครั้งที่ 4 SMART W ณ มหาวิทยาลัยศิลปากร พระราชวังสนามจันทร์, นครปฐม

ฉลาดชาย รมิตานนท์. (2527), ผีเจ้านาย, เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ดวงจันทร์ อาภาวัชรุตม์ เจริญเมือง. (2542). เมืองในสังคมไทย, เชียงใหม่: สถาบันวิจัยสังคม

นพพร สุวรรณพานิช. (2551), พระเจ้าและผีห่าซาตาน. กรุงเทพฯ: opeanbooks.

นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ, และแจ็คสัน, ปีเตอร์ เอ. (บ.ก. (2556). เพศหลากเฉดสี: พหุวัฒนธรรมทางเพศ ในสังคมไทย. กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

นิธิ เอียวศรีวงศ์. (2546). ลัทธพิธีเสด็จพ่อ ร.5. กรุงเทพฯ: มติชน.

บงกชมาศ เอกเยี่ยม. (2532). เกย์ : กระบวนการพัฒนาและธํารงเอกลักษณ์รักร่วมเพศ. (วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)

พิพัฒน์ กระแจะจันทร์. (2559). รัฐประหารร่างทรง ถึงวีรบุรุษในประวัติศาสตร์ไทยศิลปวัฒนธรรม, 37(3), 96-119.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2524), พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ปีพุทธศักราช 2524. กรุงเทพฯ นานมีบุคส์

ว.จีน ประดิษฐ์ (2530) อํานาจลึกลับของรางทรง. ม.ป.ท.ม.ป.พ.

วิภา ด่านชํารงกูล, และวิชัย โปษยะจินดา. (2547). ผลการศึกษาเชิงคุณภาพและปริมาณเครือข่ายสังคมและเพศสัมพันธ์กลุ่มชายขอบ. กรุงเทพฯ โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สถิตย์ นิยมญาติ. (2559), ความเป็นเมือง. สืบค้น 20 มิถุนายน 2559, จาก
http://www.dpt.go.th/ITCitdb/txt/pop/urban4.htm

สยามคเณศ. (2559), พระแม่ทุรคาเทวี แห่งพละกําลัง การสู้รบ และความกล้าหาญ. สืบค้น 10 สิงหาคม 2559, จาก http://www.siamganesh.com/durga.html

สุริยา สมุทรคุปต์, และพัฒนา กิติอาษา. (2539), ทรงเจ้าเจ้าผี: วาทกรรมของลัทธิพิธีและวิกฤติการณ์ของความทันสมัยในสังคมไทย. กรุงเทพฯ, ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร

อัลเทีย, โรสแมรี่. (2545) เรื่องจริงของร่างทรง. กรุงเทพฯ: มติชน

ฮูตาร์ท, ฟรังซัวส์. (2524), ศาสนากับสังคมเอเชีย, กรุงเทพฯ: เคล็ดไทย

Ole, Riis, & Linda, Woodhead. (2012). A sociology of religious emotion. United Kingdom Oxford University