โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการปรับตัวเพื่อเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเขตภาคเหนือตอนล่าง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการปรับตัวเพื่อเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเขตภาคเหนือตอนล่าง และเพื่อศึกษาขนาดของอิทธิพลของปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีต่อการปรับตัวเพื่อเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเขตภาคเหนือตอนล่าง โดยมีกลุ่มตัวอย่างที่ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอนกำหนดโควตา (Multistage Quota Random Sampling) จำนวน 450 คน โมเดลตามสมมติฐาน ประกอบด้วยตัวแปรแฝง 4 ตัว ที่วัดค่ามาจากตัวแปรสังเกตได้ 8 ตัว โดยตัวแปรแฝงประกอบด้วย ตัวแปรแฝงภายนอก ได้แก่ สถานการณ์ และจิตลักษณะเดิม ตัวแปรแฝง
ภายใน ได้แก่ จิตลักษณะตามสถานการณ์ และการปรับตัวเพื่อเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบวัดแบบมาตรประเมินค่า 6 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโมเดลลิสเรล (LISREL model : Linear Structure Relationship)
โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุตามสมมติฐานมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์โดยมีค่า X2 =11.71 df=8 p-value 0.16 GFI=0.99 CFI=1.00 NFI=0.99 IFI=1.00 RMSEA=0.032 SRMR =0.020 และปัจจัยที่มีอิทธิพลทางตรงต่อการปรับตัวเพื่อเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน คือ จิตลักษณะเดิม สถานการณ์ และจิตลักษณะตามสถานการณ์ โดยมีค่าอิทธิพลเท่ากับ 0.12 0.10 และ0.58 ตามลำดับ ส่วนปัจจัยที่มีอิทธิพลทางอ้อมต่อการปรับตัวเพื่อเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนคือสถานการณ์ โดยมีค่าอิทธิพล 0.07 ตัวแปรจิตลักษณะเดิม สถานการณ์ และจิตลักษณะตามสถานการณ์ ร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของการปรับตัวเพื่อเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนได้ร้อยละ 38
Article Details
References
กองบรรณาธิการ. (2555). ครอบครัวอาเซียน. กรุงเทพมหานคร: นกฮูก.
กันตาภา สุทธิอาจ. (2556). ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประชาคมอาเซียนและความต้องการการช่วยเหลือสนับสนุนการเรียนการสอนเกี่ยวกับประชาคมอาเซียน ของครูหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้และครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์).
คณพศ สิทธิเลิศ, และทวีโภค เอี่ยมจรูญ. (2556). คุณลักษณะของนักศึกษาที่มีผลต่อความพร้อมในการก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน: กรณีศึกษามหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ.
จำรอง เงินดี. (2545). จิตวิทยาทั่วไป. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
จุฑาทิพย์ คล้ายทับทิม. (2555). ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนกับประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
ดวงเดือน พันธุมนาวิน. (2538). ทฤษฎีต้นไม้จริยธรรม: การวิจัยและการพัฒนาบุคคล. กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ดวงเดือน พันธุมนาวิน. (2547). พฤติกรรมจริยธรรม. วารสารจิตพฤติกรรมศาสตร์ ระบบพฤติกรรมไทย, 1(1), 169-184.
ธีร์วิสิฐ มูลงามกูลจ์, พิมลพรรณ เรพเพอร์, และกฤษดา อัครพัทธยากุล. (2556). การเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนและการพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตภาคกลาง. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอิสเทิร์นเอเชีย, 3(2), 71-82.
ธีระวัฒน์ จันทึก, และมนัสสินี บุญมีศรีสง่า. (2556). โมเดลสมการโครงสร้างคุณลักษณะความสามารถและศักยภาพในการบริหารงานของบัณฑิตที่พึงประสงค์ตามความต้องการของผู้ประกอบการเพื่อรองรับการเข้าสู่สถานการณ์การเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ประภาเพ็ญ สุวรรณ. (2537). การวัดสถานะทางสุขภาพ: การสร้างมาตราส่วนประมาณค่าและแบบสอบถาม (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหิดล.
ว. อำพรรณ. (2555). การศึกษากลไกการขับเคลื่อนการสร้างประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. กรุงเทพฯ:แสงดาว.
วิพัชร ฤทธิแผลง. (2557). ปัจจัยเชิงเหตุทางจิตสังคมที่เกี่ยวข้องกับการปรับตัวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนของบุคลากรกรมสรรพากร. (ปริญญานิพนธ์มหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์).
วีรวรรณ วงศ์ปิ่นเพ็ชร์, และกุลกนก มณีวงศ์. (2556). ความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงสาเหตุของความพร้อมในการเข้าสู่การเป็นพลเมืองอาเซียนของเยาวชน อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่.วารสารพฤติกรรมศาสตร์เพื่อการพัฒนา, 5(1), 139-148.
Diamantopoulos, A., & Siguaw, J. A. (2000). Introducing LISREL. London: Sage Publications.
Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., Anderson, R.E., & Tatham, R. L. (2006). Multivariate Data Analysis (6th ed.). NJ: Pearson Education.
McClelland, D. C. (1966). Costs and competition in retailing. London: n.p.
Tett, R. P., & Burnett, D. D. (2003). A Personality trait-based interactionist model of job performance. Applied Psychology, 88(3), 500-517