ความคิดเห็นที่มีต่อพฤติกรรมจิตอาสาของนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพครู คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น

Main Article Content

สุพัตรา พะเนตรรัมย์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความคิดเห็นที่มีต่อพฤติกรรมจิตอาสาของนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพครู คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น 2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นที่มีต่อพฤติกรรมจิตอาสาของนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพครูคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น จำแนกตาม เพศ อายุ และประสบการณ์การสอน
ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพครู คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น ปีการศึกษา 2557 รวม 162 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามประเภทมาตรวัด 5 ระดับ วัดความคิดเห็นที่มีต่อพฤติกรรมจิตอาสา 3 ด้าน คือ ด้านการช่วยเหลือผู้อื่น ด้านการเสียสละต่อสังคม และด้านความมุ่งมั่นพัฒนา สถิติที่ใช้ในการ
วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัยพบว่า ความคิดเห็นที่มีต่อพฤติกรรมจิตอาสาของนักศึกษาหลักสูตร
ประกาศนียบัตรวิชาชีพครูคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น มีพฤติกรรมจิตอาสาทุก ๆ ด้านในระดับมาก ด้านการช่วยเหลือผู้อื่น มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 4.05 รองลงมาคือ ด้านความมุ่งมั่นพัฒนามี ค่าเฉลี่ย 4.03 ส่วนด้านการเสียสละต่อสังคมมีระดับต่ำที่สุด มีค่าเฉลี่ย 3.78 ผลของการเปรียบเทียบ
ความคิดเห็นที่มีต่อพฤติกรรมจิตอาสาของนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพครู คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น ในทุก ๆ ด้านแตกต่างกัน เมื่อจำแนกตามเพศ อายุ และประสบการณ์ นักศึกษาเพศชาย อายุในช่วงต่ำกว่า 25 ปี และประสบการณ์สอน 6-10 ปี มีพฤติกรรมจิตอาสาในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ณัฐณิชากร ศรีบูรณ์. (2550). การพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของจิตอาสาของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิจัยการศึกษา, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).

ดวงทิพย์ อันประสิทธิ์. (2555). รูปแบบการขัดเกลาทางสังคมเพื่อเสริมสร้างจิตอาสาในชุมชน:กรณีศึกษาชุมชนบางน้ำหวาน อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารพัฒนาสังคม, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์).

ปิยนาถ สรวิสูตร. (2552). แรงจูงใจของผู้นำเยาวชนที่มีจิตอาสาในการทำกิจกรรมเพื่อสังคม :กรณีศึกษา สภาพเยาวชนกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).

มิชิตา จำปาเทศ รอดสุทธิ. (2551). จิตอาสา...ทำไม. สารเพื่อนเสม, 5(30), 10-11.

วลัยรัตน์ ยิ่งดำนุ่น. (2554). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ของโครงการจิตอาสา : กรณีศึกษานักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนบางมดวิทยา “สีสุกหวาดจวนอุปถัมภ์”. (วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรบัณฑิต สาขาพุทธศาสนา, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).

วิมลพรรณ อาภาเวท, และเณริศา ชัยศุภมงคลลาภ. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างเปิดรับข่าวสารกับพฤติกรรมจิตอาสาของวัยรุ่นในกรุงเทพมหานคร (รายงานผลการวิจัย).กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

สมนึก เหลี่ยมศรี. (2549). ความต้องการพัฒนาตนเองของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของศูนย์เครือข่ายยมเหนือ อำเภอสอง จังหวัดแพร่. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์).