สภาพการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญของโรงเรียนขนาดใหญ่ จังหวัดนครนายก ในสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7

Main Article Content

อนามิกา เศรษฐบุตร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็น สําคัญ ของโรงเรียนขนาดใหญ่ จังหวัดนครนายก ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ครูผู้สอน จํานวน 186 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจง ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัย พบว่า โรงเรียนขนาดใหญ่ จังหวัดนครนายก มีสภาพการจัดการเรียนการสอน อยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย = 3.08) พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือด้านพัฒนาครูในสถานศึกษา (ค่าเฉลี่ย = 3.47) ด้านการเตรียมความพร้อมของสถานศึกษา (ค่าเฉลี่ย = 3.16) ด้านการวิจัยเพื่อการเรียนรู้ (ค่าเฉลี่ย = 3.16) ด้านความสัมพันธ์กับขุมขน (ค่าเฉลี่ย = 3.10) ด้านการส่งเสริมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ (ค่าเฉลี่ย = 3.08) ต้านการสนับสนุนทางด้านทรัพยากรเพื่อการศึกษา (ค่าเฉลี่ย = 2.96) ด้านการประเมินผล (ค่าเฉลี่ย = 2.65) ตามลําดับ ข้อเสนอแนะของการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญดังนี้ 1) ควรมีการวางแผนและส่งเสริม ให้มีการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ เพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน 2) ควรสนับสนุนให้ครูได้รับการพัฒนาทั้งในและนอกสถานศึกษาให้มีความรู้ในการจัดการเรียนการ สอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ 3) ควรนิเทศครูให้มีความรู้ด้านหลักสูตร การจัดทําแผนการจัดการเรียนรู้ และประเมินผลด้วยวิธีที่หลากหลาย 4) ควรมีการสนับสนุนให้แต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ จัดทําสื่อ การเรียนการสอน เพื่อใช้ในการเรียนการสอน 5) ควรมีการทําการวิจัยในชั้นเรียน เพื่อพัฒนาการ เรียนรู้ผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง 6) ควรมีการบริการแหล่งศึกษาค้นคว้าความรู้ให้กับชุมชน อีกทั้งควรให้ ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนการสอนร่วมด้วย และ 7) ควรมีการประเมินและพัฒนาผู้เรียนตาม สภาพจริง จากชิ้นงาน จากผลงาน และจากการทดสอบ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กมล กําลังหาญ. (2546), ปัญหาและความต้องการในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน : กรณีศึกษาโรงเรียนศึกษานารี (ภาคนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สถาบันราชภัฏ
ธนบุรี)

กรมสามัญศึกษา. (2545). แนวทางการวิจัยในโรงเรียนมัธยมศึกษาระยะที่ 2 (พ.ศ. 2545-2549)

กรมสามัญศึกษา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์การศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ. (2544). การปฏิรูปการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญที่สุด : แนวทางสู่การปฏิรูป, กรุงเทพมหานคร:

คุรุสภา ครรชิต มาลัยวงศ์ และคนอื่นๆ (2544). รายงานสํารวจสถานภาพและความพร้อมในการใช้งานคอมพิวเตอร์และระบบอินเทอร์เน็ตของโรงเรียนมัธยมศึกษาทั่วประเทศ. กรุงเทพฯ :
สถาบันเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาแห่งชาติ สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ

นิตยา ยุวัฒนะกุล. (2546), การศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของโรงเรียนมัธยมศึกษา: ศึกษาเฉพาะกรณีโรงเรียนกรมสามัญศึกษา กลุ่ม 7
กรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สถาบันราชภัฏธนบุรี)

บุญสุข สุขวัสดิ์. (2546). บทบาทของครูยุคปฏิรูปการศึกษาตาม พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ของโรงเรียนมัธยมศึกษา สหวิทยาเขตเมืองปราการ สังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัด สมุทรปราการ (ภาคนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สถาบันราชภัฏธนบุรี)