ความคิดเห็นต่อการพัฒนาศูนย์กลางโลจิสติกส์ในประเทศไทย

Main Article Content

สุภาพร โคตรสงคราม
ไชยยศ ไชยมั่นคง

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้องกับการขนส่งและ การค้าบริเวณท่าเรือแหลมฉบังกับการพัฒนาศูนย์กลางโลจิสติกส์ในประเทศไทย 2) เพื่อเปรียบเทียบ ความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้องกับการขนส่งและการค้าบริเวณท่าเรือแหลมฉบังกับการพัฒนา ศูนย์กลางโลจิสติกส์ในประเทศไทย จําแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษา คือ ผู้ที่ เกี่ยวข้องกับการขนส่งและการค้าบริเวณท่าเรือแหลมฉบัง จํานวน 385 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ครั้งนี้ คือ แบบสอบถาม ซึ่งมีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง 0.66-1.00 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้ง ฉบับ เท่ากับ 0.81 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว


ผลการศึกษาพบว่า 1) ความคิดเห็นของผู้ที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งและการค้าบริเวณท่าเรือ แหลมฉบังกับการพัฒนาศูนย์กลางโลจิสติกส์ในประเทศไทยโดยภาพรวมและรายด้านเห็นด้วยอยู่ใน ระดับมาก 2) ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งและการค้าบริเวณท่าเรือแหลมฉบังที่มี อายุ และระยะเวลา การปฏิบัติงาน ต่างกัน มีความคิดเห็นกับการพัฒนาศูนย์กลางโลจิสติกส์ในประเทศไทยโดยภาพรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนผู้ที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งและการค้าบริเวณ ท่าเรือแหลมฉบังที่มี เพศ ระดับการศึกษา อาชีพ ต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการพัฒนา ศูนย์กลางโลจิสติกส์ในประเทศไทยโดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กมลชนก สุทธิวาทนฤพุฒิ. (2553). การขนส่งสินค้าทางทะเล, กรุงเทพฯ: ท้อป.

กรมศุลกากร. (2557). รายงานศุลกากรประจําปี. กรุงเทพฯ: กระทรวงการคลัง

กระทรวงพาณิชย์. (2557). ข้อมูลสรุปการค้าระหว่างประเทศของไทยกับโลก. สืบค้น 17 ธันวาคม 2557, จาก http://www.ops3.moc.go.th/infor/MenuComTH/trade_sum/report.asp

การท่าเรือแห่งประเทศไทย. (2551). รายงานประจําปี. สืบค้น 1 ธันวาคม 2557, จาก http://www.1.part.co.th/AnnualReport/y51/futureplan.pdf

ไชยยศ ไขยมั่นคง และมยุขพันธุ์ ไชยมั่นคง. (2554). กลยุทธ์การขนส่ง, กรุงเทพฯ: วิชั่นพรีเพรส.

ธนิต โสรัตน์. (2549), เมื่อประเทศไทยอยากเป็น Transport Logistics Hub ศูนย์กลางโลจิสติกส์ของภูมิภาคอินโดจีนและจีนตอนใต้, กรุงเทพฯ: พราวเพรส (2002).

พรรณี ลีกิจวัฒนะ. (2558), วิธีการวิจัยทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่10). กรุงเทพฯ: มีนเซอร์วิสซัพพลาย

ภัชรี นิ่มศรีกุล. (2552). การประยุกต์ใช้การตัดสินใจแบบหลายหลักเกณฑ์เพื่อคัดเลือกศูนย์กลางโลจิสติกส์ด้านการขนส่งสินค้าในประเทศไทยบนแนวระเบียงเศรษฐกิจ. (วิทยานิพนธ์วิทยา
ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่)

สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.). (2556). รายงานฉบับสมบูรณ์แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของไทย ฉบับที่ 2 (2556-2560). สืบค้น 21 ตุลาคม 2557, จาก http://www.nesdb.go.th/Portals/0/tasks/dev logis/report/data 0411041213.pdf

สุวรรณา โพธิอ่อน และไพโรจน์ เร้าธนชลกุล. (2552). การศึกษาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงระบบการทํางาน และปัจจัยสนับสนุนเพื่อทําให้เกิดการยอมรับระบบพิธีการศุลกากรไร้ เอกสาร (e-Customs). ใน การประชุมสัมมนาวิชาการด้านการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน ครั้งที่ 9 (น. 24-34), ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

อิทธิพล ปานงาม และคณะ. (2541), การศึกษาปัจจัยเปรียบเทียบศักยภาพของท่าเรือในภูมิภาคอินโดจีน, กรุงเทพมหานคร: สถาบันการขนส่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Conbach, L. J. (1970). Essentials of Psychological Testing. New York: Happer and Row.

Sangren, Suzie. (2014). A simple solution to nagging questions about survey, sample size and validity, Quirk Marketing Research Media, (January 1999). Retrieved
from http://www.quirks.com/articles/a1999/19990101.aspx

Thailand Board of Investment (BOI). (2556). Industry Focus Logistics. Retrieved May 3,2015, from http://www.boi.go.th/tir/issue contentphp?issueid=116963Bpage%3D42