ลักษณะการดำเนินธุรกิจของเดย์สปาและโฮเทลแอนด์รีสอร์ทสปาไทยและต่างประเทศ : การทบทวนวรรณกรรม

Main Article Content

ปิยะวิทย์ ทิพรส
ศิวะนันท์ ศิวพิทักษ์
กุลทิวา โซ่เงิน

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอลักษณะการดำเนินธุรกิจของเดย์สปาและโฮเทลแอนด์รีสอร์ทสปาไทยและต่างประเทศ  และเสนอแนะแนวทางการวิจัยในอนาคต ซึ่งจากทบทวนวรรณกรรม พบว่า ธุรกิจสปาไทยทั้ง เดย์สปาและโฮเทลแอนด์รีสอร์ทสปาไทย มีจุดแข็งคล้ายกัน คือ ลักษณะการดำเนินธุรกิจเน้นความเป็นเลิศ 4 ด้าน คือ (1) ด้านการจัดการทั่วไปและระบบสารสนเทศ (2) ด้านการให้บริการของเทอราปีสต์ (3) ด้านผลิตภัณฑ์ อุปกรณ์ และเครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับสปาแสดงเอกลักษณ์ไทย และ (4) ด้านบรรยากาศของสถานที่ และสิ่งแวดล้อมมีความสะอาด สวยงามตามแบบเอกลักษณ์ไทย อย่างไรก็ตาม ในอนาคตอันใกล้ประเทศไทยอาจสูญเสียมูลค่าตลาดและส่วนแบ่งการตลาด โดยเฉพาะตลาดอาเซียนและจีน แนวทางการวิจัยควรศึกษาวิจัยเชิงปริมาณให้เห็นข้อมูลการเทียบเคียงด้านการตลาดกับต่างประเทศ เนื่องจากคุณภาพการบริการแบบเอกลักษณ์ไทยนั้น ลอกเลียนแบบได้ง่าย โดยคู่แข่งต่างประเทศ โดยเฉพาะอาเซียนและจีนอาจลอกเลียนโดยคุณภาพเหมือนของไทยและราคาถูกกว่าไทย นอกจากนี้ ที่ผ่านมาผลการวิจัยส่วนใหญ่ไม่มีตัวเลขด้านมูลค่าตลาดและส่วนแบ่งตลาดเท่าใดนัก ส่วนใหญ่จะเน้นศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพและ/หรือเชิงปริมาณที่ไม่มีการเทียบเคียง

Article Details

How to Cite
ทิพรส ป. . ., ศิวพิทักษ์ ศ., & โซ่เงิน ก. . (2020). ลักษณะการดำเนินธุรกิจของเดย์สปาและโฮเทลแอนด์รีสอร์ทสปาไทยและต่างประเทศ : การทบทวนวรรณกรรม. วารสารวิชาการเซาธ์อีสท์บางกอก (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 7(1), 87–99. https://doi.org/10.14456/sb-journal.2021.7
บท
บทความวิชาการ

References

ชูกิตติ์ ไกวัลศิลป์, อัศวิน แสงพิกุล, และอดิลล่า พงศ์ยี่หล้า. (2561). ปัจจัยผลักดัน ปัจจัยดึงดูด และพฤติกรรมของผู้บริโภคชาวไทยในการเลือกใช้เดย์สปา. วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์, 8(2), 1-14.

ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย. (2555). ถาม-ตอบ ประชาเศรษฐกิจอาเซียน. สืบค้น 22 กรกฎาคม 2562, จาก http://www.exim.go.th/doc/newscenter/40447.pdf

พุทธพร อักษรไพโรจน์, และประกอบศิริ ภักดีพินิจ. (2559). ขีดความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจสปาในโรงแรมและรีสอร์ท จังหวัดภูเก็ต. วารสารการจัดการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์, 5(3), 35-45.

มนต์ชัย วงษ์กิตติไกรวัล. (2561). ธุรกิจสปาไทยติด Top 5 ของเอเชีย แนะโรงแรมเพิ่มบริการรับเทรนด์. สืบค้น 2 กรกฎาคม 2562, จาก https://thestandard.co/thai-spa-top-5-asian-spa/

มนต์ชัย วงษ์กิตติไกรวัล. (2562). การเพิ่มระดับสปาไทยสู่ระดับนานาชาติเพื่อขับเคลื่อนผู้ประกอบการสปาท้องถิ่นในฐานเป็นจุดขาย. สืบค้น 2 กรกฎาคม 2562, จาก https://forbesthailand.com/news/travel

สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). สรุปแผนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง ปี พ.ศ.2560-2564. กรุงเทพมหานคร: สำนักนายกรัฐมนตรี.

สุเนตรตรา จันทบุรี. (2559). โอกาสและความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจสปาและนวดแผนไทย. วารสารเกษมบัณฑิต, 17(2), 49-63.

อัครพงศ์ อั้นทอง. (2557). ภาพลักษณ์ แรงจูงใจ และประสบการณ์ของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่ใช้บริการสปาไทย. วิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา, 12(2 ตุลาคม 2557-มีนาคม 2558), 13-22.

อัครพงศ์ อั้นทอง, และมิ่งสรรพ์ ขาวสอาด. (2557). การเปรียบเทียบสมรรถนะและประสิทธิภาพการดำเนินงานของธุรกิจสปา. วารสารเศรษฐศาสตร์ประยุกต์, 21(1), 1-19.