การเพิ่มพูนคำศัพท์ให้กับนักศึกษาภาษาอังกฤษธุรกิจโดยการเรียนรู้แบบใช้โครงงานเป็นฐาน : กรณีศึกษาของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 วิชาภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยว

Main Article Content

ปิยฉัตร นุตลักษณ์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประสิทธิผลของการเรียนรู้แบบใช้โครงงานเป็นฐานที่มีต่อระดับความรู้ด้านคำศัพท์ของนักศึกษา และ 2) เพื่อศึกษาทัศนคติของนักศึกษาที่มีต่อการเรียนรู้แบบใช้โครงงานเป็นฐาน ผู้เข้าร่วมในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักศึกษาวิชาเอกภาษาอังกฤษธุรกิจชั้นปีที่ 4 คณะศิลปศาสตร์ วิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก ปีการศึกษา 2562 จำนวน 16 คน นักศึกษาได้เขียนเรียงความเพื่อวัดความสามารถด้านการใช้คำศัพท์ภาษาอังกฤษในสัปดาห์แรก และสัปดาห์สุดท้ายของการทดลอง เครื่องมือที่ใช้ในการวัดว่าการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานช่วยให้นักศึกษามีความสามารถด้านคำศัพท์ดีขึ้นหรือไม่คือ โปรแกรมวัดความสามารถด้านคำศัพท์ (Lextutor Vocabulary Profiler) ของ Cobb ผลการวิจัยพบว่า ระดับความรู้ด้านคำศัพท์ของนักศึกษาเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนั้นยังพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีทัศนคติที่ดีต่อการเรียนรู้แบบใช้โครงงานเป็นฐาน ผลการวิจัยพบว่านักศึกษาใช้คำศัพท์พื้นฐาน (K1 words) น้อยลงในการเขียนเรียงความหลังการทดลองซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงระดับคำศัพท์ที่ดีขึ้น นอกจากนี้นักศึกษายังแสดงให้เห็นถึงการพัฒนาระดับความรู้ด้านคำศัพท์โดยใช้คำศัพท์ K1 families และ K1 types มากขึ้นในการเขียนเรียงความหลังการทดลอง และงานวิจัยนี้ยังพบว่า นักศึกษาใช้คำศัพท์วิชาการ (AWL) จำนวนมากขึ้นอย่างมากในการเขียนเรียงความหลังการทดลอง จากผลการวิจัยสรุปได้ว่าการเรียนรู้แบบใช้โครงงานเป็นฐานที่ให้นักศึกษาได้ทำกิจกรรมในชั้นเรียน เช่น การค้นหาข้อมูลเพื่อสร้างงานโฆษณาการท่องเที่ยว การจัดทำรายการการท่องเที่ยว รวมทั้งการนำเสนอเพื่อขายการท่องเที่ยว ช่วยให้นักศึกษาได้เรียนรู้คำศัพท์ทางวิชาการเพิ่มขึ้นอย่างมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Al-Darayseh, A. (2014). The impact of using explicit/implicit vocabulary teaching strategies on improving students' vocabulary and reading comprehension. Theory and Practice in Language Studies, 4(6), 1109-1118.

Algeo, J., & Pyles, T. (2010). The origins and development of the English language. Boston, MA: Wadsworth Cengage Learning.

Castañeda (2014). English teaching through project based learning method, in rural area. Cuadernos de Lingüística Hispánica n°. 23, Enero-Junio (pp. 151-170).

Cobb, T. (2007). Computing the vocabulary demands of L2 reading. Language Learning & Technology, 11(3), 38–63.

Coxhead, A. (2000). A new academic word list. TESOL Quarterly, 34(2), 213-238.

Hulstijn, J. H., & Laufer, B. (2001). Incidental vocabulary acquisition in a second language : the construct of task-induced involvement. Applied Linguistics, 22(1), 1-26.

Kennedy, G. (2003). Structure and Meaning in English. Oxon, NY: Routledge.

Kimsesiz, F., Dolgunsöz, E., & Konca, M.Y. (2017). The effect of project-based learning in teaching EFL vocabulary to young learners of English: the case of pre-school children. International Journal of Languages’ Education and Teaching, 5(4), 426–439.

Kunze, C. (2009). Hectic, hippic and hygienic: adjective in Victorian fiction: a semantic analysis. Frankfurt Am Main: Peter Lang.

McDonnell, K. (2007). Can 40 seconds of compassion reduce patient anxiety. Journal of Clinical Oncology, 17(1), 371.

Nation, I. S. P. (2011). Research into practice: vocabulary. Language Teaching, 44(4), 529-539. Retrieved September 2, 2019, from http://dx.doi.org/10.1017/S0261 444811000267.

Nasser, O. (2015). Implicit vocabulary acquisition in project-based learning with iPad technology. (Master’s thesis, Teaching English to Speakers of Other Languages).

Shafaei, A. & Rahim, H.A. (2015, July). Does project-based learning enhance Iranian EFL learners’ vocabulary recall and retention. Iranian Journal of Language Teaching Research, 3(2), 83-99.

West, M. (1953). A general service list of English words. London: Longman.

Yang, W., & Dai, W. (2011). Rote memorization of vocabulary and vocabulary development. English Language Teaching, 4(4), 61.