การวิเคราะห์ต้นทุนด้านโลจิสติกส์สำหรับผู้ประกอบการกิจการขนส่งเอกชน กรณีศึกษา บริษัท ABC จำกัด

Main Article Content

ศรีศรินทร์ สุขสุทธิ
ณัฐธยาน์ อธิรัฐจิรชัย
เอกนรี ทุมพล
ศศิวิมล ว่องวิไล

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มี วัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและวิเคราะห์ต้นทุนโลจิสติกส์ของ บริษัท ABC จังหวัดสระแก้ว 2) กำหนดวิธีการลดต้นทุนโลจิสติกส์ของ บริษัท ABC จำกัด จังหวัดสระแก้ว เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลจากข้อมูลเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึก(In-depth Interview - IDI) จากประชากร คือบุคลากรในบริษัทจำนวน 85 คน นำมาเป็นกลุ่มตัวอย่าง 13 คน ใช้การวิเคราะห์ต้นทุนตามหลักการคำนวณต้นทุนโลจิสติกส์ 3 ปัจจัยป้อนเข้า 4 ด้าน และการพยากรณ์ต้นทุนเพื่อกำหนดวิธีการลดต้นทุน ผลการวิจัย พบว่า 1) บริษัท ABC จำกัด จังหวัดสระแก้ว มีต้นทุนตามปัจจัยป้อนเข้า 4 ด้าน ได้แก่ ต้นทุนด้านบุคลากร ต้นทุนของพื้นที่ ต้นทุนด้านรถบรรทุกสินค้า ต้นทุนด้านวัสดุใช้งานและวัสดุสิ้นเปลือง ซึ่งเป็นต้นทุนด้านรถบรรทุกสินค้ามากที่สุด ขณะที่ต้นทุนรวมของบริษัท เท่ากับ 4,965,620.88 บาทต่อเดือน เป็นต้นทุนคงที่ ร้อยละ 20.42 ต้นทุนผันแปร ร้อยละ 79.58 ของต้นทุนรวม 2) วิธีการลดต้นทุนโลจิสติกส์ คือ การใช้ระบบบริหารจัดการการขนส่งสินค้า โดยการติดตั้งกล่อง GPS Tracking รวมทั้งการเฝ้าติดตาม การชี้แจง ตักเตือน แนะนำ พนักงานงานขับรถ  ซึ่งจะเป็นส่วนช่วยให้ทางบริษัทสามารถลดต้นทุนด้านน้ำมันเชื้อเพลิงลงได้ ซึ่งการพยากรณ์ต้นทุนที่ลดลงของน้ำมันเชื้อเพลิง พบว่า อัตราการใช้น้ำมันเชื่อเพลิงต่อระยะทางในการวิ่งของรถบรรทุกสินค้าลดลงร้อยละ 9.15

Article Details

How to Cite
สุขสุทธิ ศ. ., อธิรัฐจิรชัย ณ. ., ทุมพล เ. ., & ว่องวิไล ศ. . (2020). การวิเคราะห์ต้นทุนด้านโลจิสติกส์สำหรับผู้ประกอบการกิจการขนส่งเอกชน กรณีศึกษา บริษัท ABC จำกัด. วารสารวิชาการเซาธ์อีสท์บางกอก (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 7(1), 15–28. https://doi.org/10.14456/sb-journal.2021.2
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงคมนาคม. (2558). การขนส่งสินค้าภายในประเทศไทย. สืบค้น 12 มกราคม 2563, จาก http://www.mot.go.th/

กิตติพงษ์ หลำคำ, บัณฑิต ศรีสวัสดิ์, พิพัฒน์ หมื่นหาวงษ์ และอธิวัฒน์ ปิ่นเจริญ. (2559). การศึกษาความคุ้มค่าเชิงพาณิชย์ในการนำเอาระบบ GPS Tracking System ทดลองใช้ในบริษัทกำแพงทองขนส่ง จำกัด. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติครั้งที่ 3 เมื่อ 22 ธันวาคม 2559. สถาบันวิจัยและพัฒนา, มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

เกวลี หริจันทร์วงศ์. (2561). ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งสินค้า. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 6 ประจำปี พ.ศ. 2562. วิทยาลัยนครราชสีมา.

คำนาย อภิปรัชญาสกุล. (2551). การจัดการต้นทุนโลจิสติกส์.กรุงเทพฯ: บริษัทโพกัสมีเดีย แอนด์ พับลิชชิ่ง.

บัณฑิต ศรีสวัสดิ์. (2558). ระบบติดตามยานพาหนะในการขนส่งสินค้า : โครงการประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ ราชภัฏวิจัยครั้งที่ 4, 931-947. สืบค้น 12 มกราคม 2563, จาก http://dspace.bru.ac.th/xmlui/bitstream/handle/123456789/1511/46

พรไพบูลย์ ปุษปาคม. (2558). การวางแผนการขนถ่ายลำเลียงวัสดุภายในคลังสินค้าสำหรับอุตสาหกรรมการผลิตน้ำนมถั่วเหลือง. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น, 9(1), พฤษภาคม-กรกฎาคม 2558.

เศรษฐภูมิ เถาชารี, และณัฏภัทรศญา เศรษฐโชติสมบัติ. (2558). การทบทวนวรรณกรรมเกี่ยวกับการวิเคราะห์และลดต้นทุนโลจิสติกส์ของอุตสาหกรรม SMEs ในประเทศไทย. วารสารวิชาการวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 8(2), กรกฎาคม-ธันวาคม 2558.

สนั่น เถาชารี, โพธิ์ทอง ประณีตพลกรัง, และธนวัฒน์ จุ่นหัวโทน. (2558). การจัดการโลจิสติกส์ข้าวในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย. การประชุมวิชาการระดับชาติ ราชภัฏเพชรบุรีวิจัยเพื่อแผ่นดินไทยที่ยั่งยืน ครั้งที่ 3 (น. 250–258).

สุพีรยา งามเลิศ, และวีระศักดิ์ ศิริกุล. (2558). การศึกษาปัญหาการส่งสินค้าล่าช้า และวิธีการแก้ไขปัญหาการส่งสินค้าที่ล่าช้าของบริษัท ABC พลาสเตอร์จำกัด. (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี).

The Council of Supply Chain Management Professionals : CSCMP. (2016). Supply chain management and logistics definition. Retrieved January 12, 2020, from http://www.cscmp.org/Website/About CSCMP/Definitions/Definitions.asp