ปัญหาของการใช้อำนาจของสมาชิกวุฒิสภา : ศึกษากรณีการใช้อำนาจ ในการเลือกนายกรัฐมนตรี ตามบทเฉพาะกาลตามรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560

Main Article Content

วีระพงศ์ เชาวลิต

บทคัดย่อ

งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาหลักการ แนวคิดและทฤษฎี ที่เกี่ยวกับบทบาทอำนาจหน้าที่ของสมาชิกวุฒิสภาตามรัฐธรรมนูญของต่างประเทศและของประเทศไทยฉบับที่ผ่านมา พร้อมทั้งศึกษา ถึงปัญหาการใช้อำนาจของสมาชิกวุฒิสภา ในการร่วมกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในการเลือกนายกรัฐมนตรี ตามบทเฉพาะกาลรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 เพื่อเป็นแนวทางการแก้ไขปัญหาการใช้อำนาจของสมาชิกวุฒิสภา ผลของการวิจัยพบว่า การใช้อำนาจของสมาชิกวุฒิสภาตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 ไม่มีความสอดคล้องกับบทบาทอำนาจของสมาชิกวุฒิสภาตามรัฐธรรมนูญต่างประเทศ และรัฐธรรมนูญของประเทศไทยที่ผ่านมา นอกจากนี้พบว่า การใช้อำนาจหน้าที่สมาชิกวุฒิสภาในการร่วมกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในการเลือกนายกรัฐมนตรี ไม่สอดคล้องหลักการแนวคิดทฤษฎี ตามหลักการประชาธิปไตยและเป็นการก่อให้เกิดปัญหาของการงานระบบรัฐสภาภายหลังการเลือกตั้ง และการใช้อำนาจของสมาชิกวุฒิสภาในการร่วมกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในการเลือกนายกรัฐมนตรี เป็นการทำลายระบบพรรคการเมืองไม่สอดคล้องกับทฤษฎีความเป็นสถาบันของพรรคการเมือง


          ข้อเสนอแนะจากผลการวิจัย : ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 สมควรอย่างยิ่งที่จะต้องมีการแก้ไขกำหนดไว้เฉพาะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งมีที่มาผ่านกลไกการเลือกตั้งจากประชาชน และระบบพรรคการเมืองเท่านั้นที่มีอำนาจในการเลือกนายกรัฐมนตรี

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กิจบดี ชินเบญจภุช. (2555.) กฎหมายรัฐธรรมนูญและสถาบันการเมืองชั้นสูง. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง. หน้า12

แดนชัย ไขวิเศษ สมาชิกวุฒิสภา 250 คน มาอย่างไรและทำอะไร บทความวิชาการ สำนักวิชาการสำนักงานเลขาธิการสภา ผู้แทนราษฎร

จารุวรรณ สุขุมาลพงษ์ วิเคราะห์วิธีการได้มาของสมาชิกวุฒิสภา ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอณาจักรไทยพ.ศ 2550 สืบค้นจาก http://library2.parliament.go.th/giventake/content_cons50/article07.pdf

โชคสุข กรกิตติชัย บทความวิชาการ นายกรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 หน้า 2

บรรเจิด สิงคะเนติ หลักพื้นฐานเกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สำนักพิมพ์วิญญูชน 2558

พรชัย เลื่อนฉวี กฎหมายรัฐธรรมนูญและสถาบันการเมือง สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. 2554

พิชญา มิ่งสุวรรณ นายจเร พันธุ์เปรื่อง สมาชิกวุฒิสภา สถาบันพระปกเกล้า ( ข้อมูลออนไลน์ ) สืบค้น 12 มกราคม 2562 จาก http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title= สมาชิกวุฒิสภา

ภูมิ มูลศิลป์ แนวคิดเกี่ยวกับที่มาของสมาชิกวุฒิสภาไทยในรอบทศตวรรษ บทความวิชาการ วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ปีที่ 7 ฉบัลที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2559 )

มานิตย์ จุ่มปา หลักกฎหมายรัฐธรรมนูญ สำนักพิมพ์นิติธรรม 2559 หน้า 26

วิทยา ชินบุตร. (2559). การเลือกตั้ง.กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง

วิทยา นภาศิริกุลกิจ สุรพล ราชภัณฑารักษ์ ( พรรคการเมืองและกลุ่มผลประโยชน์ PS 215 ) สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัย รามคำแหง พ.ศ. 2551

วัชรพล โรจนวรวัฒน์ รูปแบบวิธีการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภาที่เหมาะสมกับอำนาจหน้าที่วุฒิสภา แห่งราชอณาจักรไทย วิทยานิพนธ์ สาขานิติศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ 2560

สติธร ธนานิธิโชติ การสร้างความเข้มแข็งให่แก่พรรคการเมืองไทย 2555 เอกสารวิชาการชุดปฎิรูปสถถาบันการเมือง สถาบันพระปกเกล้า ลำดับที่ 255-1

อรณิชรุ่งธิปานนท์ รัฐสภาราชอาณาจักร (ข้อมูลออนไลน์ )สืบค้น 12 มีนาคม 2561 จาก http://library2.parliament.go.th/ebook/content-ebbas/2553-ukpar.pdf