องค์ประกอบของปัจจัยการตลาดที่มีความสำคัญกับพฤติกรรมการใช้บริการธนาคารพาณิชย์ของผู้หญิงวัยทำงานยุคฐานวิถีชีวิตใหม่ ในเขตกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

วราภรณ์ ลิ้มเปรมวัฒนา
จิรวุฒิ หลอมประโคน
อัษฎางค์ ลารินทา

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่ององค์ประกอบของปัจจัยการตลาดที่มีความสำคัญกับพฤติกรรมการใช้บริการธนาคารพาณิชย์ของผู้หญิงวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลกับกลุ่มผู้หญิงวัยทำงานจำนวน 400 คน สถิติที่ใช้ในการวิจัยคือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้วิธีการวิเคราะห์ปัจจัยในการสกัดปัจจัยและหมุนแกนปัจจัยมุมฉากแบบ Varimax ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ เปิดบัญชีกับธนาคาร 2 แห่ง เน้นทำธุรกรรมด้านการฝากเงิน ใช้บริการ 2 ครั้งต่อเดือน วัตถุประสงค์ในการใช้บริการคือเพื่อการออม และธนาคารในรูปแบบ New Normal  ที่กลุ่มตัวอย่างเห็นว่าสำคัญที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่  ธนาคารที่เน้นการทำธุรกรรมออนไลน์ ธนาคารที่มีระบบจองคิวผ่านแอพพิเคชั่นก่อนเข้ารับบริการ แจ้งเตือนเมื่อใกล้ถึงคิว และ ธนาคารที่มีจุดคัดกรองอย่างเข้มงวด มีจุดบริการเจลแอลกอฮอล์ก่อนเข้าธนาคาร ตามลำดับ เมื่อวิเคราะห์องค์ประกอบของปัจจัยที่มีความสำคัญกับพฤติกรรมการใช้บริการธนาคารพาณิชย์ของผู้หญิงวัยทำงาน พบว่า กลุ่มผู้หญิงวัยทำงานให้ความสำคัญกับปัจจัยทั้ง 7 ด้านดังนี้ 1) ด้านพนักงานให้บริการ 2) ด้านอัตราค่าธรรมเนียม 3) ด้านช่วงเวลา สถานที่ และ กระบวนการให้บริการ 4) ด้านอุปกรณ์ สิ่งอำนวยความสะดวก และความปลอดภัย 5) ด้านระบบของธุรกรรมทางการเงิน 6) ด้านการประชาสัมพันธ์และการโฆษณา 7) ด้านเครื่องทำธุรกรรมทางการเงินแบบอัตโนมัติ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. (2560). ข้อมูลประชากรและบ้าน. สืบคืน 12 พฤษภาคม 2564, จาก http://www.dopa.go.th/

เกศวิทู ทิพยศ. (2557). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจใช้บริการธุรกรรมทางการเงินผ่านสื่อออนไลน์ กรณีศึกษา ธนาคาร ซีไอเอ็มบีไทย จำกัด (มหาชน). (การศึกษาค้นคว้าแบบอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเนชั่น).

ชญาภา บุญมีพิพิธ. (2556). พฤติกรรมและปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการสินเชื่อเคหะ ของผู้ใช้บริการธนาคารออมสินเขตบางแค. (การศึกษาค้นคว้าแบบอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร).

ชลธิชา ชัยเทพ. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเป็นไปได้ที่จะทำให้ลูกค้าธนาคารออมสินในพื้นที่ อำเภอเมืองจังหวัดเชียงใหม่ ใช้บริการเครื่องทำธุรกรรมกับเจ้าหน้าที่ธนาคารเสมือนจริง. วารสารคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 17 กันยายน 2562.

ณัฐดนัย ใจชน. (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกใช้บริการจากธนาคารพาณิชย์ในเขตกรุงเทพมหานคร. (การศึกษาค้นคว้าแบบอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี).

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

พรทิพา ลีวิวัฒนกูล. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของผู้บริโภคในการใช้บริการธนาคารพาณิชย์ยุคสังคมไร้เงินสด. (การศึกษาค้นคว้าแบบอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).

ภัทรา ดำรงไทย. (2556). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการใช้บริการเครื่องบริการอัตโนมัติธนาคารกรุงเทพ อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร).

ยุทธ ไกยวรรณ์. (2551). วิเคราะห์ข้อมูลวิจัย 3. กรุงเทพฯ : ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ.

วรัสสิญา ศุภธนโชติพงศ์. (2562). คุณภาพการบริการที่ส่งผลต่อความตั้งใจที่จะใช้บริการซ้ำของลูกค้าธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) กรณีศึกษาพื้นที่ส่วนกลางกรุงเทพมหานคร ภาค203. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร).

ฝ่ายระบบเครือข่าย กองสารสนเทศภูมิศาสตร์ สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล กรุงเทพมหานคร. (2561). สถิติจำนวนประชากรและเคหะ. สืบค้น 19 พฤษภาคม 2563, จาก http://www. bangkokgis.com/gis_information/population/

สมคิด ยาเคน และ พรรณเพ็ญ หอมบุญมา. (2559). ปัจจัยการเลือกใช้บริการทางการเงินจากธนาคารออมสินของประชากรในเขตเมืองและเขตนอกเมือง ในจังหวัดลำปาง. วารสารบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร, 11(2), กรกฎาคม – ธันวาคม 2559.

สุวรรณ เนียมประชา และ ศิริพร น้อยวงศ์. (2562). ปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการธนาคารพาณิชย์ของผู้บริโภคในเขตเทศบาลนครขอนแก่น. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย, 9(2), กรกฎาคม – ธันวาคม 2562.

สำนักผังเมือง กรุงเทพมหานคร. (2554). รายงานการศึกษา : ประชากรกรุงเทพมหานครและปริมณฑล พ.ศ. 2554. สืบค้น 12 พฤษภาคม 2563, จาก http://cpd.bangkok.go.th:90/web2/strategy/ DATA54/POP_BKK_S54.pdf

Lavrakas, P.J. (2008) Encyclopedia of survey research methods. Sage Publications, Inc., Thousand Oaks.

Yamane, Taro. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. 3rd ed. New York: Harper and Row Publications.