ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ฉลากลดคาร์บอน ของผู้บริโภคในเขตบางนา กรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ฉลากลดคาร์บอนของผู้บริโภคในเขตบางนา กรุงเทพมหานคร มีดังนี้ ลักษณะส่วนบุคคล การตลาดเพื่อสิ่งแวดล้อม ทัศนคติของผู้บริโภค และส่วนประสมทางการตลาด (4P’s) 2) ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ฉลากลดคาร์บอน ของผู้บริโภคในเขตบางนา กรุงเทพมหานคร ตัวอย่างเป็นผู้บริโภคที่อาศัยอยู่ในเขตบางนา กรุงเทพมหานคร จำนวน 400 ตัวอย่าง เครื่องมือในการวิจัยคือแบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลใช้การถดถอยเชิงพหุ ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์แบบถดถอยเชิงพหุ พบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ฉลากลดคาร์บอน คือ ทัศนคติต่อผลิตภัณฑ์ฉลากลดคาร์บอน (X11) ส่วนประสมทางการตลาดด้านราคา (X8) การตลาดเพื่อสิ่งแวดล้อมด้านฉลากลดคาร์บอน (X3) และการส่งเสริมการตลาด (X10) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 โดยสามารถอธิบายความผันแปรได้ร้อยละ 59 และสามารถเขียนสมการในการพยากรณ์ในรูปของการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ฉลากลดคาร์บอน(Y) ในรูปคะแนนดิบและคะแนนมาตรฐานได้ดังนี้
สมการในรูปคะแนนดิบ
Y' = 0.98 + 0.23X11 + 0.20 X8 + 0.15 X3 + 0.15 X10
สมการในรูปคะแนนมาตรฐาน
Z' = 0.34 Z11 + 0.22 Z8 + 0.17 Z3 +0.19 Z10
Article Details
References
จุฑารัตน์ ชุนหะศรี. (2556). พฤติกรรมการลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์: กรณีศึกษาบุคลากรที่ปฏิบัติงานใน เทศบาลตำบลเมืองแกลง จังหวัดระยอง. วารสารวิทยบริการ, 24(3), 82-93.
ณัฐณิชา นิสัยสุข. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของผู้บริโภค. วารสารชุมชนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, 9(2), 57-67.
ประพิธาริ์ ธนารักษ์. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ลดโลกร้อนของผู้บริโภค: กรณีศึกษาเทศบาลนครพิษณุโลก. วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม, 12(1), 70-81.
ปารมี พัฒนดุล, วิโรจน์ เจษฎาลักษณ์. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อการตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมของผู้บริโภค อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี. วารสารฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 9(2), 857-872.
สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย. (2560). คู่มือการรับรองการลดหรือหลีกเลี่ยงการปล่อยก๊าซเรือนกระจก. นนทบุรี: สถาบัน.
กระทรวงมหาดไทย. สำนักบริหารการทะเบียน. (2561). สถิติประชากรและบ้าน–จำนวนประชากร แยกรายอายุ. สืบค้น 5 ธันวาคม 2562, จาก http://stat.dopa.go.th/stat/statnew/upstat_age.php
Chang, N. J. & Fong, C. M. (2010). Green product quality, green corporate image, green customer satisfaction, and green customer loyalty. African Journal of Business Management, 4(13), 2836-2844.
Cochran, W. G. (1977). Sampling techniques (3rd ed.). New York: John Wiley & Sons.
Fazio, R. H. (1989). On the power and functionality of attitudes: The role of attitude accessibility. In A. R. Pratkanis, S. J. Breckler, & A. G. Greenwald (Eds.), Attitude structure and function (pp. 153-179). Hillsdale, NJ: Erlbaum.
Hoyer, W. D. & Macinnis, D. J. (2010). Consumer behavior (5th ed.). Ohio: South-Western Cengage Learning.
Kotler, Philip. (2015). Marketing Management. (Global Edition). London: A Pearson Education Company.
Neuman, W. L. (1997). Social Research Methods. Boston: Allyn and Bacon. Wisher and Corney. 2001. “Comparing practices for capturing bank customer feedback – Internet versus traditional banking,”Benchmarking: An International Journal, pp.240-250.
Petty, R. E, Wegener, D. T., & Fabrigar, L R. (1997). Attitudes and attitude change. Annual Review of Psychology, 48, 609-647.
Rahbar, E. & Wahid, N. A. (2011). Investigation of Green Marketing Tools’ Effect on Consumers’ Purchase Behavior. Business Strategy Series 12/2, 73-83.
Solomon, M. R. (2009). Consumer Behavior: Buying, Having, and Being. 8th ed. New Jersey: Prentice Hall.