โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความภักดี ของลูกค้าที่ใช้บริการขนส่งพัสดุ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความภักดีของลูกค้าที่ใช้บริการขนส่งพัสดุ และ 2) พัฒนาโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความภักดีของลูกค้าที่ใช้บริการขนส่งพัสดุและตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ผู้ที่มีประสบการณ์ในการใช้บริการขนส่งพัสดุ ในภูมิภาคภาคกลาง ประกอบด้วย 1) กรุงเทพมหานคร 2) จังหวัดนครนายก 3) จังหวัดนครปฐม 4) จังหวัดสมุทรสาคร 5) จังหวัดสมุทรสงคราม 6) จังหวัดนครสวรรค์ 7) จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 8) จังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 400 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม 1 ฉบับ สถิติที่ใช้คือสถิติพื้นฐาน และการวิเคราะห์สมการเชิงโครงสร้าง (SEM) ผลการวิจัย พบว่า 1) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความภักดีของลูกค้าที่ใช้บริการขนส่งพัสดุ พบว่า ความภักดีของลูกค้า (Loyalty) ได้รับอิทธิพลทางตรงจากตัวแปรผลการดำเนินงานระบบขนส่งพัสดุ (Parcel System) การบริหารลูกค้าสัมพันธ์ (Customer Relationship Management) ภาพลักษณ์ขององค์กร (Image) การรับรู้คุณภาพของการบริการ (The Respondents of Quality) โดยมีขนาดอิทธิพลเท่ากับ .01, .68, .16 และ .06 ตามลำดับ 2) โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความภักดีของลูกค้าที่ใช้บริการขนส่งพัสดุพบว่า โมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ พิจารณาจากค่าสถิติที่ใช้ตรวจสอบความสอดคล้องระหว่างโมเดลกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่าสถิติบ่งชี้คือ X2 = 125, df = 42, X2 / df = 2.98, GFI = 0.93, RMSBA = 0.019
Article Details
References
กมลชนก สุทธิวาทนฤพุฒิ. (2547). การจัดการโซ่อุปทานและโลจิสติกส์. สำนักพิมพ์ท้อป/แมคกรอ-ฮิล.
กุลวรรณ อาจกล้า. (2557). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีผลต่อความภักดีของลูกค้าสายการบินต้นทุนต่ำ ณ ท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมือง. (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์).
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2560). ระบบคลังข้อมูลธุรกิจ กระทรวงพาณิชย์. สืบค้น 14 ธันวาคม 2562 จาก http://datawarehouse.dbd.go.th/bdw/home/main.html.
จุฑารัตน์ เหล่าพราหมณ์. (2561). ปัจจัยเชิงสาเหตุระหว่างการรับรู้คุณภาพการบริการ ความพึงพอใจและความจงรักภักดีของผู้โดยสารสายการบินต้นทุนต่ำ ในประเทศไทย. วารสารวิชาการการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ, ปีที่ 14 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2561).
ชลลดา ไชยกุล. (2555). ภาพลักษณ์องค์กร คุณค่าตราสินค้าและความพึงพอใจในส่วนประสมทาง
การตลาดธุรกิจบริการ ที่มีผลต่อความจงรักภักดีของลูกค้าบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์).
ณัฐธยาน์ ภัทรพิเศษวงศ์. (2556). โมเดลสมการโครงสร้างของผลการดำเนินงานระบบโลจิสติกส์และการบริหารลูกค้าสัมพันธ์ ในธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์. การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 51: สาขาศึกษาศาสตร์, สาขาเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ, สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2557). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. พิมพ์ครั้งที่ 15. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนสามัญบิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.
นันทพร ชเลจร. (2559). โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความภักดีของลูกค้าธุรกิจสตาร์ทอัพประเภทพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์. วารสารสุทธิปริทัศน์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. ปีที่ 33 ฉบับที่ 107 (2019)
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2561). เพิ่มพลัง SME ขนส่งด้วยดิจิทัลเทคโนโลยี. สืบค้น 14 ธันวาคม 2562 จาก http://www.ksmecare.com/
อรุณ บริรักษ์. (2545). Logistics case study in Thailand. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ส.พิจิตร์การพิมพ์.
อารีวัลย์ เดชาดิลก. (2557). ภาพลักษณ์องค์กรและความไว้วางใจของลูกค้าที่มีผลต่อความ
จงรักภักดีของลูกค้าธนาคารออมสิน สาขาบางกรวย. ในการประชุมวิชาการปัญญาภิวัฒน์ ครั้งที่ 4 (หน้า 141). นนทบุรี: สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์.
Griffin, J. (1995). Customer Loyalty, How to Earn it and How to Keep It. Jossey-Bass Publishers, San Francisco.
Hair, J. F., Jr., Black, W. C., Babin, B. J., Anderson, R. E., & Tatham, R. L. (2006). Multivariate data analysis (6 ed.). Upper Saddle River, New Jersey: Prentice Hall.
Kline, R.B.(2005). Principles and Practice of Structural Equation Modeling. (2nd Ed). New York: The Guilford Press.
Kotler, P., & Keller, K. (2009). Marketing management. (13th ed.). Pearson Prentice Hall.
Stock, J.R., & Lambert, D.M. (2001). Strategic Logistics Management. 4th ed. New York: McGraw-Hill.
Zeithaml, V. A., Parasuraman, A., & Berry, L. L. (1990). Delivering quality service: Balancing custemer perceptions and expections. New York: The Free Press.