ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ทัศนคติต่อการเป็นผู้ประกอบการ กับคุณลักษณะความเป็นผู้ประกอบการของนักศึกษาสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ในเขตกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

วรวุฒิ พันธาภา
จิระเสกข์ ตรีเมธสุนทร

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความรู้ ทัศนคติต่อการเป็นผู้ประกอบการ และคุณลักษณะความเป็นผู้ประกอบการของนักศึกษาสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ในเขตกรุงเทพมหานคร 2) เปรียบเทียบคุณลักษณะความเป็นผู้ประกอบการของนักศึกษาสถาบันอุดมศึกษาเอกชน จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้  ทัศนคติต่อการเป็นผู้ประกอบการ กับคุณลักษณะความเป็นผู้ประกอบการของนักศึกษาสถาบันอุดมศึกษาเอกชน กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 4 คณะบริหารธุรกิจของสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ที่เปิดการเรียนการสอนรายวิชาที่เกี่ยวข้องกับการเป็นผู้ประกอบการในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 390 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา เปรียบเทียบความแตกต่างด้วยสถิติทดสอบ t-test และ One- way ANOVA และทำการทดสอบความสัมพันธ์ด้วยสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1) นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจและความสามารถที่ได้รับจากการศึกษาเกี่ยวกับการเป็นผู้ประกอบการในภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีทัศนคติต่อการเป็นผู้ประกอบการในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และมีคุณลักษณะความเป็นผู้ประกอบการอยู่ในระดับมาก 2) นักศึกษาที่มีประสบการณ์ในการทำงานเพื่อหารายได้ด้วยตนเองระหว่างเรียน และอาชีพของมารดาที่แตกต่างกัน ส่งผลต่อคุณลักษณะความเป็นผู้ประกอบการที่แตกต่างกัน และ 3) ความรู้ต่อการเป็นผู้ประกอบการและทัศนคติต่อการเป็นผู้ประกอบการ มีความสัมพันธ์กับคุณลักษณะความเป็นผู้ประกอบการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Choosin, C. (2016). Sakkayaphāp nai kān pen phūprakō̜pkān khō̜ng naksưksā khana bō̜rihān thurakit mahāwitthayālai hǣng nưng mư̄a sangkhom khao sū prachākhom sētthakit ʻĀsīan. [Entrepreneurial Potential of Undergraduate Students in Faculty of Business Administration, one of University towards Entering the ASEAN Economic Community]. Payup University Journal, 11(3), 255-273.

จารุวรรณ ชูศิลป์. (2559). ศักยภาพในการเป็นผู้ประกอบการของนักศึกษาคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง เมื่อสังคมเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ, 26(1), 233-254.

Frese, M. (Ed.). (2000). Success and Failure of Microbusiness Owners in Africa: A psychological Approach. West Port: Greenwood Publishing Group.

Kamphaengphet, M., Pasunon, P. (2015). Patčhai thī mī khwām samphan tō̜ khwāmtangčhai nai kān pen phūprakō̜pkān khō̜ng naksưksā pī sutthāi khō̜ng mahāwitthayālai Hūa Chīeo Chalœ̄m phra kīat. [Entrepreneurial Intentions of Huachiew Chalermprakiet University Student]. Business Review Journal, 7(1), 207-224.

มรกต กำแพงเพชร และประสพชัย พสุนนท์. (2558). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความตั้งใจในการเป็นผู้ประกอบการของนักศึกษาปีสุดท้ายของมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. วารสารธุรกิจปริทัศน์, 7(1), 207-224.

Kansawai, P., Poolcharearn, N. and Chamornmarn, W.(2013). Kānsưksā khunnalaksana khō̜ng phūprakō̜pkān thī prasop khwāmsamret khō̜ng thurakit rōngrǣm nai čhangwat phāk nư̄a tō̜n lāng khō̜ng Thai. [The Study of Suceessful Characteristics of Hotel Business Entrepreneurs in The Lower Northern Provinces of Thailand]. Journal of MIS of Naresuan University. 7(1), 39-50.

ฝนทิพย์ ฆารไสว, ณัฐเชษฐ์ พูลเจริญ และ ไว จามรมาน. (2555). การศึกษาคุณลักษณะของผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จของธุรกิจโรงแรม ในจังหวัดภาคเหนือตอนล่างของไทย. วารสารวิทยาการจัดการและสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 7(1), 39-50.

Kasikorn Research Center. (2020). Kān phrǣ rabāt khō̜ng khō wit sipkāo ralō̜k mai chut datchanī phāwa sētthakit læ kān khrō̜ng chīp khō̜ng khrūarư̄an Thai nai dư̄an Thanwākhom 2563 hai prap lot long khrang rǣk nai rō̜p sī dư̄an. [New Wave of COVID-19 Caused December KR-ECI to Decline for the First Time in 4 Months]. Retrieve, January 25,2021 from https://www.kasikornresearch.com/th/analysis/k-econ/economy/ Pages/E_KRECI_0120.aspx

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2563). การแพร่ระบาดของโควิด 19 ระลอกใหม่ฉุดดัชนีภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนไทยในเดือนธ.ค.2563 ให้ปรับลดลงครั้งแรกในรอบ 4 เดือน. สืบค้น 25 มกราคม 2564, จาก https://www.kasikornresearch.com/th/analysis/k-econ/economy/ Pages/E_KRECI_0120.aspx

Korsukthaweekhool, C. (2018). Kānsưksā rǣng čhūngčhai læ khwāmtangčhai nai kān pen phūprakō̜pkān khō̜ng naksưksā radap ʻudomsưksā nai prathēt Thai. [The Studying of Entrepreneurial Motiavation and Intention of Higher Education Students in Thailand]. (Master’s thesis in Management, Bangkok University)

จริยา กอสุขทวีกูล. (2561). การศึกษาแรงจูงใจและความตั้งใจในการเป็นผู้ประกอบการของนักศึกษา ระดับอุดมศึกษาในประเทศไทย (วิทยานิพนธ์การจัดการมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ).

Ni, H. & Ye, Y. (2018). Entrepreneurship Education Matters: Exploring Secondary Vocational School Students’ Entrepreneurial Intention in China. Asia-Pacific Education Researcher, 27(5), 409-418.

Office of the Education Council, Ministry of Education. (2018). Kānčhatkān sưksā phư̄a phatthanā khwāmpen phūprakō̜pkān. [Entrepreneurship Education]. Bangkok : Pligwhan-Graphic Co.,Ltd.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาความเป็นผู้ประกอบการ (รายงานวิจัย). กรุงเทพฯ: บริษัทพริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

Rochjanaphittayakorn, S. (2016). Khunnalaksana kān pen phūprakō̜pkān khō̜ng naksưksā chan pī thī sī radap parinyā trī nai čhangwat Surāt Thānī [Entrepreneurial Traits of Students in Suratthani Province]. (Independent Study in Master of Business Administration, Walailuk University).

สุวดี โรจนพิทยากร. (2559). คุณลักษณะการเป็นผู้ประกอบการของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 ระดับปริญญาตรี ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี (การศึกษาอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์).

Schwartz, N. E. (1975). Nutritional Knowledge, Attitude and Practice of High School Graduated. Journal of the American Dietetic Association, 66(1), 28-31.