ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้งานกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Wallet) เพื่อซื้อสินค้าของผู้บริโภคในจังหวัดมหาสารคาม

Main Article Content

กิตติภพ อุทัยแพน
ณิฏะญาร์ บรรเทา
พูนศักดิ์ ศิริโสม
นิวัตร สุวรรณะ

บทคัดย่อ

วิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้งานกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-wallet) เพื่อการซื้อสินค้าของผู้บริโภคในจังหวัดมหาสารคาม เพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจและทัศนคติต่อการใช้งานกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-wallet) เพื่อการซื้อสินค้าของผู้บริโภคในจังหวัดมหาสารคามจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และเพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมการใช้งานกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-wallet) เพื่อการซื้อสินค้าของผู้บริโภคในจังหวัดมหาสารคาม เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือ แบบสอบถาม และรวบรวมข้อมูล โดยประชากรกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในจังหวัดมหาสารคาม จำนวน 400 คน การวิเคราะห์ผลใช้ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบ t-test สถิติทดสอบ F-test และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นพหุคูณ ผลจากการวิจัยพบว่า ประชาชนที่เคยใช้งานกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ (ร้อยละ 63.75) ส่วนมากอาศัยในพื้นที่เขตเทศบาล อำเภอเมืองมหาสารคาม เป็นเพศชาย มีช่วงอายุต่ำกว่า 20 ปี ระดับการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลาย/ปวช. ประกอบอาชีพอิสระ และมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 15,001-20,000 บาท โดยมีช่องทางการชำระผ่านกระป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ คือ True Money Wallet และเป๋าตัง โดยความถี่ในการใช้งานส่วนมาก 2-5 ครั้ง/สัปดาห์ ค่าใช้จ่ายในการชำระค่าสินค้าหรือบริการ 3,000-3,500 บาท/เดือน สถานที่ในการชำระผ่านกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ คือ ร้านค้าสะดวกซื้อ และชำระค่าบริการจัดส่งพัสดุ การเปรียบเทียบความพึงพอใจและทัศนคติต่อการใช้งานกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลโดยใช้  t-test และ F-test พบว่า ช่วงรายได้ ความถี่ในการใช้งาน และค่าใช้จ่ายในการชำระสินค้า มีผลต่อความพึงพอใจและทัศนคติต่อการใช้งานกระเป๋าเงิน หรือแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้งานกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์  ได้แก่ อำเภอ(x1), ระดับการศึกษา(x4), ช่วงรายได้(x6),  ด้านการรับรู้และเข้าถึงประโยชน์ของการใช้งาน(x9) , ด้านความปลอดภัย(x10)  และด้านความตั้งใจในการใช้งาน(x11)  อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01 โดยมีสมการการพยากรณ์การถดถอยพหูคูณ คือ gif.latex?\hat{Y}=0.820+0.064X_{1}-0.040X_{4}+0.042X_{6}+0.202X_{9}&space;+0.347X_{10}+0.230X_{11}  และค่าสัมประสิทธิ์การถดถอย R2 =0.652 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

วัชรากรณ์ ร่วมรักษ์. (2560). Mobile Wallet กระเป๋าเงินดิจิทัล ในยุคสังคมไร้เงินสด. สืบค้น 19 สิงหาคม 2564. จาก https://1th.me/zfSMe

Marketeer. (2562). สงคราม e-Wallet 2020 ใครใช้บ่อยกว่า…ชนะ. สืบค้น 12 พฤศจิกายน 2563. จาก https://marketeeronline.co/archives/122047.

สำนักงานสถิติจังหวัดมหาสารคาม. (2562). ข้อมูลจำนวนประชากรจังหวัดมหาสารคาม. สืบค้น 12 พฤศจิกายน 2563. จาก http://maha sarakham.nso.go.th/images/documents/others/mkm-geninfo- withgis.pdf.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). วิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2554). การวิเคราะห์สถิติ: สถิติสำหรับการบริหารและวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 13 กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

นันทิยา ฉายารัตนรักษ์. (2561). ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้งานประเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Wallet) ในการซื้อสินค้าของผู้บริโภคในอำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช. บริหารธุรกิจ วิชาเอกบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

กฤตโสภา ทิพย์ปัญญาวงศ์. (2559). การศึกษาปัญหาและแรงจูงใจในการใช้งานเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e- Money) ผ่านโทรศัพท์มือถือในประเทศไทย. วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหาร การตลาด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Hinkle, D.E.; William, W.; & Stephen G. J. (1998). Applied Statistics for the Behavior Sciences. 4th ed., NY: Houghton Mifflin.