การรณรงค์สื่อสารทางการตลาดในสื่อออนไลน์เพื่อลดปัญหาอุบัติเหตุ จากการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

Main Article Content

บดินทร์ เดชาบูรณานนท์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์เนื้อหาในสื่อรณรงค์สื่อสารทางการตลาดในสื่อออนไลน์เพื่อลดปัญหาอุบัติเหตุจากการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 2) ศึกษาการรับรู้ของผู้ชมในสื่อรณรงค์สื่อสารทางการตลาดในสื่อออนไลน์เพื่อลดปัญหาอุบัติเหตุจากการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วยการวิเคราะห์ตัวบท และการสนทนากลุ่มผู้ชมจำนวน 50 คน แนวคิดทฤษฎีที่นำมาใช้ในการศึกษาได้แก่ แนวคิดเรื่องการเล่าเรื่อง แนวคิดเรื่องจุดจูงใจเรื่องความกลัว ผลของการวิจัยพบว่า 1) เนื้อหาที่ปรากฏในโฆษณาที่เผยแพร่ในสื่อออนไลน์ประกอบด้วย แก่นและโครงเรื่องซึ่งเป็นการรณรงค์ให้ลดการเมาแล้วขับเพื่อลดอุบัติเหตุ โดยเริ่มจากการเมาแล้วขาดสติทำให้เกิดอุบัติเหตุ การกำหนดตัวละครให้เป็นบุคคลธรรมดาทั่วไป การใช้ฉากบนท้องถนนโดยใช้แสงโทนมืดให้ความรู้สึกหดหู่และสิ้นหวัง การใช้สัญลักษณ์พิเศษโดยใช้ภาพการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน เช่น ภาพของรถยนต์เสียหลัก ภาพกระจกหน้ารถยนต์แตก นอกจากนี้ยังใช้มุมมองการเล่าเรื่องจากบุคคลที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ถูกกระทำโดยตรงเพื่อให้คนดูรู้สึกถึงอารมณ์ตัวละครและมีอารมณ์ร่วมไปกับภาพยนตร์ โดยที่รูปแบบการเล่าเรื่องเป็นการจำลองเหตุการณ์ในชีวิตจริง เพื่อสื่อว่าอุบัติเหตุจากการเมาแล้วขับสามารถเกิดขึ้นได้ทุกที่ทุกเวลา สำหรับจุดจูงใจเรื่องความกลัวเป็นความกลัวจากการสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สิน กลัวที่จะเกิดกับตัวเองหรือคนใกล้ตัว 2) ผู้ชมส่วนใหญ่รับรู้ถึงใจความหลักของโฆษณาที่ผู้ผลิตต้องการสื่อสารในเชิงลบ โดยเหตุผลที่ต้องมีสื่อโฆษณาในการรณรงค์ในลักษณะเช่นนี้ เพราะต้องการเน้นย้ำสำหรับผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แล้วขับขี่ยานพาหนะ จะส่งผลกระทบจากอุบัติเหตุบนท้องถนนที่สามารถเกิดขึ้นได้กับตนเองและผู้อื่น และเพื่อให้ผู้ชมที่บริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์กลัวบทลงโทษจากการกระทำที่ผิดกฎหมาย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Assanangkornchai, S. (2019). Khō̜thetčhing læ tūalēk khrư̄angdư̄m ʻǣnkō̜hō̜ nai prathēt Thai Phō̜.Sō̜. sō̜ngphanhārō̜ihāsipkāo - sō̜ngphanhārō̜ihoksipʻet. [Facts and Figures Alchohol in Thailand 2016-2018 ( 1st edition]. Bangkok : Sahamit Pattana Printing.

สาวิตรี อัษณางค์กรชัย. (2562). ข้อเท็จจริงและตัวเลขเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในประเทศไทย พ.ศ. 2559-2561 (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: สหมิตรพัฒนาการพิมพ์.

Biggins, O. (2014). Kān ronnarong phư̄a kǣ panhā phrưttikam mao lǣo khap rotčhakkrayānyon khō̜ng wairun. [Campaigns for Solving Motorcycle Drunk Driving Behavior of Adolescents]. Journal of Communication and Innovation NIDA, 1(1), 69-84.

อุษา บิ้กกิ้นส์. (2557). การรณรงค์เพื่อแก้ปัญหาพฤติกรรมเมาแล้วขับรถจักรยานยนต์ของวัยรุ่น.วารสารนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ นิด้า, 1(1), 69-84.

Electronic Transactions Development Agency. (2021). Phonlakā rasamrūat phrưttikam phūchai ʻinthœ̄net nai prathēt Thai pī sō̜ngphanhārō̜ihoksipsām. [Thailand Internet User Behavior 2020]. Retrieved from https://www.etda.or.th/th/newsevents/pr-news/ETDA-released-IUB-2020.aspx

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2564). ผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2563. สืบค้น 2 ตุลาคม 2564, จาก https://www.etda.or.th/th/newsevents/pr-news/ETDA-released-IUB-2020.aspx

Nicholls, J. (2011). UK News Reporting of Alcohol: An Analysis of Television and Newspaper Coverage. Drugs: Education, Prevention and Policy, 18(3), 200-206.

Nitayaprapa, A. (2015). Konlawithī kān sư̄ khwāmmāi nai bot khōtsanā ronnarong thāngthō rathatsana kīeokap kān bō̜riphōk khrư̄angdư̄m ʻǣnkō̜hō̜ khō̜ng samnakngān kō̜ngthun sanapsanun kānsāng sœ̄m sukkhaphāp. [Communicative Strategies in Anti-alcohol Consumption Campaign Advertisements on Television of Thai Health Promotion Foundation]. (Master’s Thesis in Faculty of Liberal Arts Thammasat University).

อัจจิมา นิตยประภา. (2558). กลวิธีการสื่อความหมายในบทโฆษณารณรงค์ทางโทรทัศนเกี่ยวกับการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).

Recommended Improvement Plan to Increase Takecare Service for the Alcohol Drinking Problem Person. (2019). ʻǣnkō̜hō̜ kap khwāmrunrǣng : mō̜ng panhā læ rūam hā thāng kǣ . [Alcohol and the Harm : Problems and Solution]. Retrieved September, 30, 2021 from https://alcoholrhythm.com/alcohol-and-violence-3/.

โครงการพัฒนาข้อเสนอแนะเพื่อเพิ่มการเข้าถึงบริการดูแลผู้มีปัญหาการดื่มสุรา. (2562). แอลกอฮอล์กับความรุนแรง: มองปัญหาและร่วมหาทางแก้. สืบค้น 30 กันยายน 2564, จาก https://alcoholrhythm.com/alcohol-and-violence-3/.

Solomon, M.R. (2017). Consumer Behavior: Buying, Having and Being. 12th ed.

England: Pearson Education.

ThaiHealth Promotion Foundation. (2016). Chūan khrō̜pkhrūa hāngklaisurā rap khaophansā. [Family Invitation Stay Away from Alcohol During Buddhist Lent]. Retrieved July 6, 2021, from https://www.thaihealth.or.th/Content/32083.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2559). ชวนครอบครัว ห่างไกลสุรา รับเข้าพรรษา. สืบค้น 6 กรกฎาคม 2564, จาก https://www.thaihealth.or.th/Content/32083.

Wisassinthu, B. (2011). Kānraprū læ hai khwāmmāi chœ̄ng sanya nai phāpphayon khōtsanā khrư̄angdư̄m ʻǣnkō̜hō̜ thāngthō rathat khō̜ng wairun nai čhangwat Khō̜n Kǣn. [The Perception and Meaning of Semiotics in Alcohol Advertising on Television Focusing on Adolescentsin Khon Kaen]. KKU Research Journal, 1(1), 111-130.

ปุญณิศา วิเศษสินธุ์. (2554). การรับรู้และให้ความหมายเชิงสัญญะในภาพยนตร์โฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทางโทรทัศน์ของวัยรุ่นในจังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น, 1(1), 111-130.