ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีความสัมพันธ์กับการรับรู้คุณค่าตราสินค้า วิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอกของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จังหวัดสมุทรปราการ

Main Article Content

สกุลกาญจน์ สกุลระพีภัสร์
ปฏิมา รุ่งเรือง
ภูษิตย์ วงษ์เล็ก

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาตราสินค้าวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก ดังนี้ 1) ศึกษาระดับการรับรู้คุณค่าตราสินค้า 2) ศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีระดับความสำคัญต่อการรับรู้คุณค่าตราสินค้า และ 3) หาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดกับการรับรู้คุณค่าตราสินค้าวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอกของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จังหวัดสมุทรปราการ กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ของโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6 จังหวัดสมุทรปราการ ปีการศึกษา 2563 จำนวน 316 คน จากโรงเรียนในพื้นที่นี้ จำนวน  25 โรงเรียน โดยใช้วิธีการเลือกตัวอย่างแบบบังเอิญ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ระหว่าง 0.67 – 1.00 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.98 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือสถิติพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมติฐาน โดยหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันโดยกำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ผลการวิจัย พบว่า 1) การรับรู้คุณค่าตราสินค้าวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอกของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จังหวัดสมุทรปราการ ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีระดับการรับรู้สูงสุดคือ ด้านคุณภาพของการถูกรับรู้ รองลงมาคือ ด้านการเชื่อมโยงกับตราสินค้า และด้านการตระหนักรู้ชื่อตราสินค้า 2) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีความสำคัญต่อการรับรู้คุณค่าตราสินค้าวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอกของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จังหวัดสมุทรปราการ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า  ด้านที่มีความสำคัญสูงสุดคือ ด้านการส่งเสริมการตลาด  รองลงมาคือ  ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย  ด้านผลิตภัณฑ์  และด้านราคา  และ 3) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในภาพรวมและรายด้านทุกด้านมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการรับรู้คุณค่าตราสินค้าวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอกของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จังหวัดสมุทรปราการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

Article Details

How to Cite
สกุลระพีภัสร์ ส., รุ่งเรือง ป. . ., & วงษ์เล็ก ภ. . . (2022). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีความสัมพันธ์กับการรับรู้คุณค่าตราสินค้า วิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอกของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารวิชาการเซาธ์อีสท์บางกอก (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 8(1), 1–18. https://doi.org/10.14456/sb-journal.2022.1
บท
บทความวิจัย

References

Bunnak, C. and Samanwichit, R. (2017). Khwāmsamphan khō̜ng patčhai kāntalāt nai kānsưksā tō̜ radap ʻudomsưksā kap khunkhā trāsin khā kō̜ranī sưksā mahāwitthayālai theknōlōyī mahā nakhō̜n. [Relationship of Marketing Mix Factors In Studying On The Higher Education and Brand Equity; A Case Study of Mahanakorn University of Technology]. MUT Journal of Business Administration, 14(1), 101 – 124.

ชื่นสุมล บุนนาค และรัชนู สมานวิจิตร. (2560). ความสัมพันธ์ของปัจจัยการตลาดในการศึกษาต่อระดับอุดมศึกษากับคุณค่าตราสินค้า กรณีศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร. วารสารบริหารธุรกิจเทคโนโลยีมหานคร, 14(1), 101 – 124.

Dangpathio, H. (2016). Patčhai sūan prasom thāngkān talāt thatsanakhati læ rǣng čhūngčhai thī song phon tō̜ kāntatsinčhai sư̄ phalittaphan ʻāhān sœ̄m phư̄a phiu khāo khō̜ng wairun nai khēt Krung Thēp Mahā Nakhō̜n. [Marketing Mix, Attitudes and Motives Affecting the Purchasing Decision in Nutritional Supplements for Whitening Skin of Teenagers in Bangkok]. (Master’s Thesis, Bangkok University)

หทัยทิพย์ แดงปทิว. (2559). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ทัศนคติ และแรงจูงใจที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเพื่อผิวขาวของวัยรุ่นในเขตกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ).

Daoprateep, A. (2018). Kānraprū trāsin khā læ phū mī ʻitthiphon tō̜ trāsin khā bon sư̄ sangkhom ʻō̜nlai thī song phon tō̜ kāntatsinčhai sư̄ khrư̄angsamʻāng Kaolī khō̜ng phūbō̜riphōk nai khēt Krung Thēp Mahā Nakhō̜n. [Brand awareness and Brand influence on social media affect consumer’s decision to buy Korean cosmetics in Bangkok]. (Master’s Thesis, Bangkok University)

อาทิตยา ดาวประทีป. (2561). การรับรู้ตราสินค้าและผู้มีอิทธิพลต่อตราสินค้าบนสื่อสังคมออนไลน์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อ เครื่องสำอางเกาหลีของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ).

Jindarak, P. (2017). Kānphatthanā samatthana bukkhalākō̜n sāi wichākān nai sathāban ʻudomsưksā. [Competency Development for Academic Staff in High Education]. Journal of Graduate Studies Valaya Alongkron Rajabhat University, 11(1), 221 – 233.

ปัทมาวรรณ จินดารักษ์. (2560). การพัฒนาสมรรถนะบุคลากรสายวิชาการในสถาบันอุดมศึกษา. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 11(1), 221 – 233.

Leegitwattana, P. (2015). Withīkān wičhai thāngkān sưksā (10th edition). [Research Method for Education]. Bangkok : Meen Service Supply.

พรรณี ลีกิจวัฒนะ. (2558). วิธีการวิจัยทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: มีนเซอร์วิสซัพพลาย.

Limsarun T., Vongchavalitkul B., Piyasirisilp T., Nawjumpa A.(2018). Khwām phrō̜m khō̜ng naksưksā nai radap ʻudomsưksā tō̜ kān pen phūprakō̜pkān. [The Readiness of University Students toward Entrepreneurs]. Southeast Bangkok Journal (Humannities and Social Sciences), 4(2), 27-45.

ธนกร ลิ้มศรัณย์, บุษยา วงษ์ชวลิตกุล, ธีติมา ปิยะศิริศิลป, อังควิภา แนวจําปา. (2561). ความพร้อมของนักศึกษาในระดับอุดมศึกษาต่อการเป็นผู้ประกอบการ. วารสารวิชาการเซาธ์อีสท์บางกอก. 4(2), 27-45.

Manop. (2008). Konlayut kāntalāt nai kān khǣngkhan samrap thurakit sathān sưksā ʻēkkachon. [The Competitive Marketing Strategies of Private Higher Education]. Retrieved September 29, 2020, from https://www.tpa.or.th/writer/read_this_book_topic.php?bookID=1146&pageid=13&read=true&count=true

มานพ . (2563). กลยุทธ์การตลาดในการแข่งขันสำหรับธุรกิจสถานศึกษาเอกชน. สืบค้น 29 กันยายน 2563, จาก https://www.tpa.or.th/writer/read_this_book_topic.php?bookID=1146&pageid=13&read=true&count=true

Natthunatiruj, R. (2019). Kānbō̜rihān kitčhakān naksưksā khō̜ng sathāban ʻudomsưksā nai satawat thī 21. [The Guidelines for Student Affairs Adminstration in 21th Century]. Journal of Educational Administration, Silpakorn University, 10(2), 16 – 17.

รมย์รัมภา ณัฐธัญอติรุจ. (2562). การบริหารกิจการนักศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาในศตวรรษที่ 21. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร, 10(2), 16 – 17.

Pongpituk, V. (2019). ʻItthiphon khō̜ng khwāmphưngphō̜čhai tō̜ khunkhā trāsin khā khwāmphưngphō̜čhai tō̜ khunnaphāp kānhai bō̜rikān læ khwām chư̄amyōng tō̜ trāsin khā thī song phon tō̜ khwām phakdī tō̜ sinkhā fǣchan trā tāngprathēt. [Influence of Satisfaction With Brand Equity, Satisfaction With Service Quality, Brand Association and Brand Loyalty of International Fashion Brand]. (Master’s thesis in Management Business Administration, Bangkok University)

วีณา พงษ์พิทักษ์. (2561). อิทธิพลของความพึงพอใจต่อคุณค่าตราสินค้า ความพึงพอใจต่อคุณภาพการให้บริการ และความเชื่อมโยงต่อตราสินค้าที่ส่งผลต่อความภักดีต่อสินค้าแฟชั่นตราต่างประเทศ. (วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ).

Registration and Processing Office. (2020). ʻEkkasān khō̜ng samnak thabīan læ pramūan phon witthayālai sao ʻī bāngkō̜k. [ Report of Registration and Processing Office, Southeast Bangkok College].

สำนักทะเบียนและประมวลผล. (2563). เอกสารของสำนักทะเบียนและประมวลผล วิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก.

Secondary Educational Service Area Office 6. (2020). Khō̜mūn sathiti čhamnūan nakrīan pīkānsưksā 2562. [ Student Data in Academic year 2562 ] . Retrieved October 15, 2020, from http://www.spm6.go.th/

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6. (2563). ข้อมูลสถิติจำนวนนักเรียน ปีการศึกษา 2562. สืบค้น 15 ตุลาคม 2563, จาก http://www.spm6.go.th/

Wongwilairat, S., Leamprecha, N., Rurkwararuk, W., Prachanban, P., (2015). Kānsāng khunkhā trāsin khā phān sūan prasomkān talāt læ prasopkān naksưksā khō̜ng sathāban ʻudomsưksā ʻēkkachon nai prathēt Thai. [Building Brand Equity through Marketing MixandStudent Experience of Private Higher Education in Thailand]. Journal of Business, Economics and Communications: BEC Journal, 9(1), 127 - 139.

สิรินี ว่องวิไลรัตน์, นันทวัน เหลี่ยมปรีชา, วราวุธ ฤกษ์วรารักษ์, และปกรณ์ ประจันบาน. (2558). การสร้างคุณค่าตราสินค้าผ่านส่วนประสมการตลาดและประสบการณ์นักศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในประเทศไทย. วารสารบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตรและการสื่อสาร, 9(1), 127 - 139.