การยุบพรรคการเมือง : กรณีศึกษาการกู้ยืมเงินของพรรคการเมือง

Main Article Content

ญาณวัฒน์ พลอยเทศ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยฉบับนี้ มีที่มาจากกรณีศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยให้ยุบพรรคการเมือง สาเหตุจากการที่หัวหน้าพรรคการเมืองให้เงินกู้กับพรรคการเมืองของตนเอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหลักการแนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับพรรคการเมืองและกฎหมายพรรคการเมืองของสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับพรรคการเมืองของประเทศญี่ปุ่น เป็นงานวิจัยเอกสารศึกษาจากกฎหมายของต่างประเทศและจากการสัมภาษณ์นักวิชาการด้านกฎหมายมหาชน ซึ่งประเด็นมีดังนี้ ประเด็นที่ 1 ปัญหาเกี่ยวกับประเภทนิติบุคคลของพรรคการเมือง ประเด็นที่ 2 ปัญหาคำวินิจฉัยไม่สอดคล้องกับหลักหลักนิติรัฐและการตีความและประเด็นที่ 3 ปัญหาการยุบพรรคการเมืองจากกรณีการกู้เงินไม่สอดคล้องกับบทบัญญัติกฎหมายและหลักการของกฎหมายต่างประเทศ


ผลการวิจัยเอกสารและการสัมภาษณ์ พบว่า ประเด็นที่ 1  พรรคการเมืองมีสถานะเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายมหาชน แม้โดยหลักกฎหมายมหาชนพรรคการเมืองอาจไม่ได้มีอำนาจตามกฎหมายหรือมีบทบาทในการบริการสาธารณะ แต่พรรคการเมืองก็มีบทบาทในการให้ความรู้กับประชาชนในระบอบประชาธิปไตยสอดคล้องกับหลักการของศาลรัฐธรรมนูญแห่งสหพันธรัฐเยอรมนีที่พิจารณาถึงการมีส่วนร่วมของประชาชน ถือเป็นนิติบุคคลมหาชนแบบพิเศษ ในประเด็นที่ 2 พบว่าคำวินิจฉัยยุบพรรคการเมืองไม่เป็นไปตามหลักการของหลักนิติรัฐ เหตุแห่งการยุบพรรคการเมืองมิได้มีบทบัญญัติในกฎหมายแต่เกิดจากการตีความเพื่อให้เชื่อมโยงถึงเหตุแห่งการยุบพรรคการเมืองเป็นการตีความที่มีลักษณะไม่ยึดโยงกับเจตจำนงที่แท้จริงใน ประเด็นที่ 3 สุดท้ายพบว่าบทบัญญัติที่ศาลนำมาใช้ในการยุบพรรคการเมืองมีเจตนารมณ์ที่จะลงโทษผู้กระทำความผิด หาใช่เป็นเหตุแห่งการยุบพรรคการเมืองไม่ ซึ่งไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์และไม่สอดคล้องกับหลักกฎหมายต่างประเทศ 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กิจบดี ชินเบญจภุช. (2564). หลักกฎหมายมหาชน พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์รามคำแหง.

บวรศักดิ์ อุวรรณโณ. (2564). กฎหมายมหาชน เล่ม 1 วิวัฒนาการทางปรัชญา และลักษณะของกฎหมายมหาชนยุคต่างๆ, พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์วิญญูชน.

บวรศักดิ์ อุวรรณโณ. (2538). กฎหมายมหาชน เล่ม 2 การแบ่งแยกกฎหมายมหาชน-กฎหมายเอกชน และพัฒนาการกฎหมายมหาชนในประเทศไทย, พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มานิตย์ วงศ์เสรี . (2561). นิติวิธี การใช้และการตีความกฎหมายศึกษาเปรียบเทียบระบบกฎหมายไทยและระบบกฎหมายเยอรมัน, กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์วิญญูชน.

นิยม รัฐอมฤต. 2540การเมืองไทยยุคปัจจุบัน ปัญหาการพัฒนาพรรคการเมืองไทย (กรุงเทพมหานคร:สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง ) หน้า 21-22

นพดล เฮงเจริญ. (2564). การตีความรัฐธรรมนูญ. สืบค้น เมษายน 2564. จาก http://public-law.net/publaw.

วรเจตน์ ภาคีรัตน์. (2555). หลักนิติรัฐและหลักนิติธรรม . วารสารจุลนิติ, 9(1), 49-67.

วรเจตน์ ภาคีรัตน์. (2551). การใช้และการตีความกฎหมายมหาชน. เอกสารเสนอในงานรำลึก 100 ปี ชาติกาล ศาสตราจารย์จิตติ ติงศภัทิย์ เมื่อ 30 มีนาคม 2551, 33-34.

ศนันกรณ์ โสตถิพันธุ์. (2564). คำอธิบายนิติกรรมสัญญา, พิมพ์ครั้งที่ 24. กรุงเทพ: สำนักพิมพ์วิญญูชน

Benton, Ted and Craib, Ian. (2001). Philosophy of Social Science. New York

Wolfe, Christopher (1997). Judicial activism. Rowman & Littlefield Publishers.

Herman Finer. (1949). The Theory and Practice of Modern Government. New York: Holt, Rinehart & Winston.

G.A. Jacobsen and M.H. Lipman. (1969). Political Science. New York: Barnes and Noble.