รูปแบบและแนวทางการส่งเสริมอัตลักษณ์ชุมชนเพื่อการท่องเที่ยวเชิงเกษตร แบบมีส่วนร่วมของชุมชนคลองมหาสวัสดิ์ จังหวัดนครปฐม

Main Article Content

ศศกร กฤษณะเสถียร
สุพินดา ฤทธิจันทร์

บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบและแนวทางการส่งเสริมอัตลักษณ์ชุมชนเพื่อการท่องเที่ยวเชิงเกษตร ของชุมชนคลองมหาสวัสดิ์ จังหวัดนครปฐม โดยวิธีการวิจัยแบบผสมผสานแบบแผนคู่ขนาน (Concurrent Parallel Design) ใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้นำชุมชน ผู้ประกอบการ จำนวน 6 คน และเก็บข้อมูลกับนักท่องเที่ยว จำนวน 388 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการจัดการท่องเที่ยวเชิงเกษตรแบบมีส่วนร่วมของชุมชนคลองมหาสวัสดิ์ จังหวัดนครปฐม ประกอบด้วย อัตลักษณ์ กิจกรรมการท่องเที่ยว ชุมชนและเจ้าของภูมิปัญญา การมีส่วนร่วมของชุมชน สิ่งอำนวยความสะดวก และการบริหารจัดการ แนวทางการส่งเสริมคือ ควรส่งเสริมในเรื่องของผลิตภัณฑ์ให้มีความหลากหลาย พัฒนาให้คลองมหาสวัสดิ์มีความสะอาด และสวยงาม ควรนำเสนอในเรื่องราคาสินค้าเหมาะสมกับคุณภาพ ควรส่งเสริมให้มีการฝึกอบรมพนักงานในแต่ละสถานที่ให้มีทักษะด้านบริการ (Service Mind) อย่างต่อเนื่อง และควรรับพนักงานหรือฝึกหัดยุวมัคคุเทศก์ท้องถิ่นเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ควรทำการปรับปรุงเรื่องความต่อเนื่องในการล่องเรือ การจอดพักในแต่ละจุดของสถานที่ท่องเที่ยว ให้สอดคล้องกับกิจกรรมและเหมาะสมกับเวลา ควรมีการนำเสนอภาพบรรยากาศความร่มรื่นเหมาะแก่การท่องเที่ยว หรือเหมาะแก่การมาพักผ่อนหรือถ่ายรูป และควรมีป้ายบอกทางแต่ละสถานที่อย่างชัดเจน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Chaoprasert, C. (2003). Kāntalāt bō̜rikān. [Service Marketing]. Bangkok: Se-Education.

ชัยสมพล ชาวประเสริฐ. (2546). การตลาดบริการ. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

Intanupat, N. (2019). Sakkayaphāp chumchon phư̄a kānčhatkān thō̜ngthīeo dōi chumchon kō̜ranī sưksā chumchon ʻāngkepnam lam phō̜k čhangwat Surin. [The Potential of Lam Phok Community in Managing Community-based Tourism of the Lam Phok Surin Province]. Journal of Humanities and Social Sciences Mahasarakham University, 39(2), 61-73.

นัชนลิน อินทนุพัฒน์. (2562). ศักยภาพชุมชนเพื่อการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน กรณีศึกษาชุมชนอ่างเก็บน้ำลำพอก จังหวัดสุรินทร์. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 39(2), 61-73.

Krajerjerm, P. & Bunjongmanee, P. (2018). Sūan prasom thāngkān talāt thī mī phon tō̜ kāntatsinčhai thō̜ngthīeo tambon pāknam prān ʻamphœ̄ prān burī čhangwat Pračhūap Khīrī Khan [The Marketing Mix Effect to the Tourism Decision at Paknampran, Pran Buri, Prachuap Khiri Khan Province]. Academic Journal of Phetchaburi Rajabhat University, 8(1), 8-12.

ปาริชาติ กระแจะเจิม และปริญญา บรรจงมณี. (2561). ส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวตำบลปากน้ำปราณ อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี, 8(1), 8-12.

Leekitwattana, P. (2017). Withīkān wičhai thāngkān sưksā. [Research Methodology for Education]. Bangkok: Faculty of Industrial Education and Technology, King Mongkut’s Institute of Technology Ladkrabang.

พรรณี ลีกิจวัฒนะ. (2558). วิธีการวิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

Maneerot, N. (2018). Kānčhatkān thō̜ngthīeo dōi chumchon. [Community based tourism management]. International Thai Tourism Journal. 13(2), 25-45.

ณัฏฐพัชร มณีโรจน์. (2560). การจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน. วารสารวิชาการการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ, 13(2), 25-45.

Narasotsai, M. (2019). Sathiti nakthō̜ngthīeo 2562 [Tourism Statistics 2019]. Nakhon Pathom: Community Enterprise, Agricultural Tourism, Cruising along the Maha Sawat Canal.

มนูญ นราสดใส. (2562). สถิตินักท่องเที่ยว ปี 2562. นครปฐม: วิสาหกิจชุมชนการท่องเที่ยวเชิงเกษตรล่องเรือชมสวนเลียบคลองมหาสวัสดิ์.

Nimitrwanich, W., Thitayano, D. P. & Thontiravong, B. (2017). Nǣothāng kān sœ̄msāng ʻattalak chumchon santisuk phư̄a kānthō̜ngthīeo yāng yangyư̄n tām lak phut santiwithī : kō̜ranī sưksā chumchon khlō̜ng mahā sawat čhangwat Nakhō̜n Pathom. [The Guidelines of Enhancing the Identity of a Peaceful Community for Sustainable Tourism by Buddhist Peaceful Means: a Case Study of Klong Mahasawat Community, Nakhon Pathom Province]. Journal of MCU Peace Studies. 5(Sp1).

วิบูลย์ นิมิตวานิช, พระมหาดวงเด่น ฐิตญาโณ และบรรพต ต้นธีรวงศ์. (2560). แนวทางการเสริมสร้างอัตลักษณ์ชุมชนสันติสุขเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนตามหลักพุทธสันติวิธี : กรณีศึกษาชุมชนคลองมหาสวัสดิ์จังหวัดนครปฐม. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 5(ฉบับพิเศษ)

PhonSri, S. (2004). Thritsadī læ lakkān phatthanā chumchon. [Theories and Principles of Community Development (5th ed.)]. Bangkok: Odion Store Ltd..

สนธยา พลศรี. (2547). ทฤษฎีและหลักการพัฒนาชุมชน (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์ จำกัด.

Sanitpun, S. & Suveatwatanakul, C. (2021). Patčhai sūan prasom thāngkān talāt thī čhūngčhai nakthō̜ngthīeo hai dœ̄nthāng mā thō̜ngthīeo thī talāt thā nā nakhō̜nchaisī čhangwat Nakhō̜n Pathom. [Mixed Marketing Factors Motivating Tourists to Travel to Tha Na Market, Nakhon Chai Si District, Nakhon Pathom Province]. Research and Development Journal Suan Sunandha Rajabhat University, 13(1), 110-125.

สรัญธร สนิทพันธุ์ และโชคชัย สุเวชวัฒนกูล. (2564). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่จูงใจนักท่องเที่ยวให้เดินทางมาท่องเที่ยวที่ ตลาดท่านา อําเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏส่วนสุนันทา, 13(1), 110-125.

Tourism Authority of Thailand. (2017). Kān prachum phư̄a prachāsamphan læ radom khwāmkhithen : khrōngkān sưksā phư̄a kamnot rūpbǣp kānthō̜ngthīeo chœ̄ng ʻanurak. [Conference for Public Relations and Brainstorming: a Study Project to Define Ecotourism Models]. Bangkok: Author.

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2560). การประชุมเพื่อประชาสัมพันธ์และระดมความคิดเห็น: โครงการศึกษาเพื่อกำหนดรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.

Twichasri, V. (2017). ʻAttalak chumchon : nǣokhit læ kānčhatkān phư̄a kānthō̜ngthīeo yāng yangyư̄n dōi lak phut santiwithī khō̜ng thētsabān tambon chīang khān čhangwat lœ̄I. [Identity of Community: Concept and Management for Sustainable Tourism by Buddhist Peaceful Means of Chiangkhan Municipality, Lei Province]. Journal of Arts Management, 1(2), 63-74.

วิไลวรรณ ทวิชศรี. (2560). อัตลักษณ์ชุมชน : แนวคิดและการจัดการเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโดยหลักพุทธสันติวิธีของเทศบาลตำบลเชียงคาน จังหวัดเลย. วารสารศิลปการจัดการ, 1(2), 63-74.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis (3rd ed.). New York: Harper and Row.