การพัฒนาห้องเรียนกลับด้านสำหรับการเรียนแบบบูรณาการศึกษากับการทำงานในยุควิถีใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษารูปแบบของการเรียนแบบห้องเรียนกลับด้าน (Flipped -Classroom) 2) วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการเรียนแบบห้องเรียนกลับด้านสำหรับการเรียนการสอนแบบการบูรณาการศึกษากับการทำงาน (Work Integrated Learning) และเปรียบเทียบความคิดเห็นของนักศึกษาแต่ละคณะต่อปัจจัยที่ได้ การวิจัยนี้เป็นแบบผสมผสาน (Mixed Research) ทั้งการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี ที่ผ่านการฝึกงานสหกิจศึกษาในปีการศึกษา 2562 จำนวน 59 คน เครื่องมือในการวิจัยคือแบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการเรียนการสอนช่วงหลังจากการฝึกงานสหกิจศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติพรรณนาและการวิเคราะห์ความแปรปรวน (Analysis of Variance : ANOVA) ด้วยระดับความเชื่อมั่น 95% ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการเรียนแบบกลับด้านประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 การเรียนออนไลน์ (Online Learning) ประกอบด้วยขั้นเตรียมการก่อนสอน ขั้นการจัดการเรียนรู้ขณะสอนออนไลน์ และขั้นการประเมินผล โดยผู้สอนต้องเตรียมบทเรียนทั้งหมดออนไลน์บนสื่อไว้ก่อน และต้องมีกิจกรรมโดยใช้เทคโนโลยีต่างๆขณะทำการสอนออนไลน์ โดยบทเรียนและกิจกรรมควรต้องผ่านการทดสอบ ทบทวน และฝึกฝนโดยผู้สอน มาก่อนที่จะทำการสอนออนไลน์ และส่วนที่ 2 การเรียนในชั้นเรียน(Classroom Learning) ปัจจัยที่มีผลต่อการเรียนแบบห้องเรียนกลับด้านสำหรับการเรียนการสอนแบบบูรณาการศึกษากับการทำงาน ปัจจัยที่มีผลมากที่สุดคือ เทคโนโลยี รองลงมาคือ ผู้สอน และการจัดกลุ่มผู้เรียน โดยนักศึกษาทุกคณะมีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน ประโยชน์ที่ได้จากการวิจัยนี้คือ รูปแบบห้องเรียนกลับด้านสำหรับการเรียนการสอนแบบบูรณาการศึกษากับการทำงาน
Article Details
References
Academic Standards Group. (2019). Sarup phonlakā rō̜dam nœ̄n ngān saha kit sưksā læ kān fưk padibat ngān pīkānsưksā 2561. [Year book of Cooperative Education and internship in Academics Year 2018]. Bangkok: Southeast Bangkok College.
กลุ่มงานมาตรฐานวิชาการ. (2562). สรุปผลการดำเนินงานสหกิจศึกษาและการฝึกปฎิบัติงานปีการศึกษา 2561. กรุงเทพฯ : วิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก.
Bergmann, J. and Sams, A. (2012). Flip the Classroom, International Society for Technology in Education, Washington, DC. [Google Scholar].
Chantapong, S. and Tonghui, T. (2020). Phonkrathop wikrit COVID - sipkāo kap sētthakit lōk: This Time is Different. [Crisis COVID-19 and World Economics: This Time is Different]. Retrieved August 24, 2020, from https://www.bot.or.th/Thai/ResearchAndPublications/articles/Pages/Article_18Mar2020.aspx.
เสาวณี จันทะพงษ์ และทศพล ต้องหุ้ย , (2563). ผลกระทบวิกฤต COVID-19 กับเศรษฐกิจโลก: This Time is Different. บทความออนไลน์ ของธนาคารแห่งประเทศไทย สืบค้น 25 ส.ค.63, จาก https://www.bot.or.th/Thai/ResearchAndPublications/articles/Pages/Article_18Mar2020.aspx
Chumnanchar, B. and Kongudomthrap, S. (2020). Kānsưksā rūpbǣp kān rīan kānsō̜n bǣp chumchon pen thān : chumchon bāng namphưng kō̜ranī sưksā khō̜ng witthayālai sao ʻī bāngkō̜k [The study of community based learning : bang numphueng community , case-study of southeast bangkok college]. Southeast Bangkok Journal (Humanities and Social Sciences). 6(1), 37-49.
เบญจมาภรณ์ ชำนาญฉา และ ศศิธร คงอุดมทรัพย์. (2563). การศึกษารูปแบบการเรียนการสอนแบบชุมชนเป็นฐาน : ชุมชนบางน้ำผึ้ง กรณีศึกษาของวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก. วารสารวิชาการเซาธ์อีสท์บางกอก(สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6(1), 37-49.
Kanjanawasee, S. (2013). Thritsadī kānpramœ̄n. [Theory of Evaluation]. Bangkok, Thailand: Chulalongkorn University Book Center.
ศิริชัย กาญจนวาสี, (2556). ทฤษฎีการประเมิน. กรุงเทพฯ : ศูนย์หนังสือแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Limratanamongkol, P. and Vicheanpanya, J. (2013). Patčhai hǣng khwāmsamret khō̜ng kān rīan ʻō̜nlai khō̜ng phū rīan mahāwitthayālai sai bœ̄. [Thai Critical Success Factor of Online Learning Toward Student of Thai Cyber University Project]. Rangsit Information Journal, 19(2), 54-63.
พชร ลิ่มรัตนมงคล และ จิรัชฌา วิเชียรปัญญา. (2556). ปัจจัยแห่งความสำเร็จของการเรียนออนไลน์ของผู้เรียนมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย. วารสารรังสิตสารสนเทศ, 19(2), 54-63.
Office of the Higher Education Commission. (2013). Phǣnkān damnœ̄n kān songsœ̄m saha kit sưksā nai sathāban ʻudomsưksā (Phō̜.Sō̜.2556-2558). [Action Plan of Cooperative Education in University (2013-2015)]. Retrieved July 24, 2020, from http://www.mua.go.th/users/bphe/cooperative/data/panning56.doc.
สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา. (2556). แผนการดำเนินการส่งเสริมสหกิจศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. 2556-2558. กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ.
Office of the Higher Education Commission. (2018). Phǣn ʻudomsưksā raya yāo yīsip pī (Phō̜.Sō̜.2561-2580).[The Long Plan of High Education for 20 Years.(B.C.2018-2037)]. Retrieved July 14, 2020, from
http://www.mua.go.th/users/bpp/main/download/plan/plan20yrs.pdf.
สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา. (2561). แผนอุดมศึกษาระยะยาว 20 ปี (พ.ศ.2561-2580). กรุงเทพฯ :กระทรวงศึกษาธิการ.
Pinyosinwat, P. (2020). Chatkān rīan kānsō̜n yāngrai nai sathānakān khō wit - sipkāo : čhāk botrīan tāngprathēt sū kānčhatkān rīanrū khō̜ng Thai. [How to Learn in COVID-19: Lesson Learn from Foreign towards Thai Learning]. Retrieved August 27, 2020, from https://tdri.or.th/2020/05/examples-of-teaching-and-learning-in-covid-19-pandemic.
ภูษิมา ภิญโญสินวัฒน์. (2563). จัดการเรียนการสอนอย่างไรในสถานการณ์โควิด-19: จากบทเรียนต่างประเทศสู่การจัดการเรียนรู้ของไทย. สืบค้น 27 ส.ค.63 จาก https://tdri.or.th/2020/05/examples-of-teaching-and-learning-in-covid-19-pandemic.
Sutthaso, W. (2016). Thaksa kānrīanrū nai satawat thī yīsipʻet : khwām thāthāi khō̜ng mahāwitthayālai rātchaphat. [Century Learning Skills : Challenges of the Rajbhat university]. Academic Journal Phranakhon Rajabhat University, 7(2), 149-156.
วิชยานนท์ สุทธโส (2559). ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 : ความท้าทายของมหาวิทยาลัยราชภัฏ วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร, 7(2), 149-156.