ศักยภาพเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวฮาลาล ตลาดนักท่องเที่ยวมุสลิมในกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย

Main Article Content

ชญานี โยธาสมุทร
พยอม ธรรมบุตร
เสรี วงษ์มณฑา
กาญจน์นภา พงศ์พนรัตน์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ1) ศึกษาทรัพยากรและศักยภาพของการพัฒนาการท่องเที่ยวฮาลาลสำหรับตลาดนักท่องเที่ยวมุสลิมในกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย 2) วิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและสภาพแวดล้อมภายนอกของการพัฒนาการท่องเที่ยวฮาลาลสำหรับตลาดนักท่องเที่ยวมุสลิมในกรุงเทพมหานคร และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวฮาลาลสำหรับตลาดนักท่องเที่ยวมุสลิมในกรุงเทพมหานคร โดยการวิจัยเชิงคุณภาพครั้งนี้ใช้เครื่องมือคือ รายการตรวจสอบชุมชนศึกษา แบบตรวจสอบทรัพยากรการท่องเที่ยว แบบสัมภาษณ์เชิงลึก มีกลุ่มตัวอย่าง 4 กลุ่ม จำนวน 32 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสำรวจ การสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกตแบบมีส่วนร่วม และการประชุมกลุ่มย่อย ผลการศึกษา พบว่า 1) ศักยภาพของการพัฒนาการท่องเที่ยวฮาลาลสำหรับตลาดนักท่องเที่ยวมุสลิมในกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย ประกอบด้วย ปัจจัยบ่งชี้ศักยภาพด้านทรัพยากรท่องเที่ยวของกรุงเทพมหานคร ได้แก่ ศักยภาพการเข้าถึงพื้นที่ สภาพภูมิอากาศ และ


ศักยภาพในการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกในอนาคต ปัจจัยบ่งชี้ศักยภาพการจัดการทรัพยากรอย่างยั่งยืน ได้แก่ มีแผนยุทธศาสตร์เพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในระดับนานาชาติ ปัจจัยบ่งชี้ศักยภาพด้านการมีส่วนร่วมของชุมชน นักท่องเที่ยวและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ได้แก่ ประชาชนได้รับประโยชน์ด้านเศรษฐกิจ มีการกระจายรายได้จากการท่องเที่ยว และปัจจัยชี้ศักยภาพด้านการสร้างการท่องเที่ยวที่เหมาะสมกับพื้นที่ ได้แก่ มีกิจกรรมในพื้นที่เอื้อต่อการส่งเสริมการปลูกจิตสำนึกที่ดี มีกิจกรรมรณรงค์ส่งเสริม สร้างความตระหนักต่อผลกระทบด้านทรัพยากรแก่ชุมชน นักท่องเที่ยวและองค์กรต่างๆ  2) สภาพแวดล้อมภายในและสภาพแวดล้อมภายนอกของการพัฒนาการท่องเที่ยวฮาลาลสำหรับตลาดนักท่องเที่ยวมุสลิมในกรุงเทพมหานคร มีจุดแข็งชองกรุงเทพมหานครคือมีที่ตั้งอยู่กลางอาเซียน สามารถเข้าถึงได้อย่างสะดวก และยังเชื่อมโยงกับกลุ่มตลาดมุสลิมในอินโดนีเซีย มาเลเซีย ตะวันออกกลาง จุดอ่อน คือ ขาดแผนยุทธศาสตร์และคณะกรรมการพัฒนาการท่องเที่ยวฮาลาลอย่างยั่งยืน  โอกาส คือ จำนวนประชากรมุสลิมเป็นกลุ่มตลาดเป้าหมายที่สำคัญในอนาคต อุปสรรค คือ มีเป็นคู่แข่งทางการท่องเที่ยวชองกรุงเทพมหานคร เช่น กัวลาลัมเปอร์ และโลกมีปัญหาด้านภัยพิบัติทางชีววิทยา เช่น โรคระบาดโควิด 19 ตลอดจนนักท่องเที่ยวมีรูปแบบและรสนิยมในการท่องเที่ยวที่เปลี่ยนไป 3) แนวทางการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวฮาลาลสำหรับตลาดนักท่องเที่ยวมุสลิมในกรุงเทพมหานคร คือ กำหนดแผนยุทธศาสตร์แบบบูรณาการการท่องเที่ยวที่ชัดเจน ทั้งด้านทรัพยากรท่องเที่ยว ด้านการมีส่วนร่วมชุมชน และด้านการสร้างกิจกรรมการเรียนรู้ด้านการท่องเที่ยวที่เหมาะสมกับพื้นที่

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Chanin, O., Sriprasert, P. and Charatharawat, J. (2013). Kānphatthanā sakkayaphāp kānthō̜ngthīeo hā lā lafang thalē ʻandāman khō̜ng prathēt Thai samrap nakthō̜ngthīeo klum prathēt Mutsalim. [Increasing Halal tourism potential at Andaman gulf in Thailand for Muslim country]. Songkhla: Rajamangala University of Technology Srivijaya.

อรพรรณ จันทร์อินทร์, เพียงพิศ ศรีประเสริฐ และจิราภา ชาลาธราวัฒน์ (2556). การพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวฮาลาลฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทยสำหรับนักท่องเที่ยวกลุ่มประเทศมุสลิม. สงขลา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย.

Chantavanich, S. (2016). Sampheng: prawattisāt chumchon chāo Čhīn nai Krung Thēp Mahā Nakhō̜n. [Sampheng: History of Chinese community in Bangkok (2nd ed.)]. Bangkok: Chulalongkorn University Press.

สุภางค์ จันทวานิช. (2559). สำเพ็ง: ประวัติศาสตร์ชุมชนชาวจีนในกรุงเทพมหานคร (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Farida F., Zulaikha, Z. and Hartopo, P. (2019). Use of social media in the development of Halal tourism in Madura. Advances in Social Science, Education and Humanities Research, 339, 12-18.

Genovera, G. Kamal, I. and Elvianti, W. (2019). Analyzing the perspective of Halal tourism development: city branding in Jakarta. Advances in Economics. Business and Management Research, 98, 142-146.

Jariyachamsit, S. and Wongleedee, K. (2012). Kānsưksā sēnthāng thō̜ngthīeo khō̜ng nakthō̜ngthīeo chāo Mālēsīa nai prathēt Thai kō̜ranī sưksā thī ʻāphœ̄ hātyai čhangwat Songkhlā. [The study of Malaysian tourists’ traveling routes in Thailand: a case study at Hat-Yai district]. Bangkok: Suan Sunandha Rajabhat University.

สกุล จริยาแจ่มสิทธิ์ และกวิน วงศ์ลีดี. (2555). การศึกษาเส้นทางท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวมาเลเซียในประเทศไทย กรณีศึกษาที่อาเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

Khasuwan, S. and Komolsewin, R. (2011). Khrōngkān phāplak dān kānthō̜ngthīeo thī phūk yōng kap sukkhaphāp khō̜ng prathēt Thai nai mummō̜ng khō̜ng nakthō̜ngthīeo chāo tawanʻō̜k klāng. [Thailand's health-related tourism image project from the perspective of Middle Eastern tourists]. Bangkok: National Research Council of Thailand (NRCT).

สาริกา ค้าสุวรรณ และรสชงพร โกมลเสวิน. (2554). โครงการภาพลักษณ์ด้านการท่องเที่ยวที่ผูกโยงกับสุขภาพของประเทศไทย ในมุมมองของนักท่องเที่ยวชาวตะวันออกกลาง. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ(วช.).

Lakbanchong, T. and Boonmee, J. (2016, September 26). Nǣothāng phatthanākān čhattham māttrathān kānhai bō̜rikān rōngrǣm hālān phư̄a rō̜ng rap klum nakthō̜ngthīeo Mutsalim. [Guidelines for the development of halal hotel service standards for Muslim tourists]. In Tourism for All, All for Tourism, Thammasat University.

ธรรมจักร เล็กบรรจง และจุติมา บุญมี. (26 กันยายน 2559). แนวทางพัฒนาการจัดทำมาตรฐานการให้บริการโรงแรมฮาลาลเพื่อรองรับกลุ่มนักท่องเที่ยวมุสลิม. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 5 “Tourism for All, All for Tourism”, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Nami, M., Kaewwilai, S. and Boonwong, B. (2014). Nǣothāng kāntē rīyom khwām phrō̜m chœ̄ngkon yut kānphatthanā phūprakō̜pkān ʻutsāhanma thō̜ngthīeo chœ̄ng watthanatham hālān phư̄arō̜ng rap kān pœ̄t sēnthāng lōčhittik ʻĀsīan. [ASIAN's logistic: The preparation of strategy development of culture Halal tourism industry entrepreneurs]. Bangkok: Rajamangala University of Technology Phra Nakhon.

มาเรียม นะมิ, สมนึก แก้ววิไล และมนัส บุญวงศ์. (2557). แนวทางการเตรียมความพร้อมเชิงกลยุทธ์การพัฒนาผู้ประกอบการอุตสาหกรรมท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมฮาลาลเพื่อรองรับการเปิดเส้นทางโลจิสติกส์อาเซียน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

PEW Research Center. (2019). Retrieved April 16, 2022, from https://www.pewresearch.org.

Sangkhaduang, T. and Rongchoung, J. (2017). Kānraprū radap kānhai bō̜rikān khō̜ng nakthō̜ngthīeo Mutsalim tō̜ kānčhatkān kānthō̜ngthīeo bǣp hālān nai čhangwat Krabī læ Phuket. [Muslim tourists’ perception on level of Halal tourism service management in Krabi and Phuket province]. Journal of Humanities and Social Sciences. 13(1), 135-168.

ธนินทร์ สังขดวง และจิระนาถ รุ่งช่วง. (2560). การรับรู้ระดับการให้บริการของนักท่องเที่ยวมุสลิมต่อการจัดการการท่องเที่ยวแบบฮาลาลในจังหวัดกระบี่และภูเก็ต. วารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 13(1), 135-168.

TAT Intelligence Center. (2016). Sathiti dān kānthō̜ngthīeo. [Tourism statistics]. Retrieved December 15, 2020, from https://www.mots.go.th/more_news_new.php? cid=411

ศูนย์วิจัยด้านการตลาดท่องเที่ยว. (2559). สถิติด้านการท่องเที่ยว. สืบค้น 15 ธันวาคม 2563, จาก https://www.mots.go.th/more_news_new.php?cid=411

World tourism Organization. (2015). Tourism Vision. Retrieved December 20, 2020, from http://www.world-tourism.org/facts/menu.htm