การตีความของศาลปกครองกลาง ตามคำสั่งมหาเถรสมาคมกับหลักเสรีภาพการศึกษาตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ

Main Article Content

สิทธ์เทพ พันธาภา
นิวัติ วุฒิ

บทคัดย่อ

 งานวิจัยฉบับนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงสองประเด็นสำคัญในสิทธิเสรีภาพด้านการศึกษาของภิกษุ สามเณรคือ ประเด็นที่ 1 คำพิพากษาของ ศาลปกครองกลางที่ 349/2556 โดยอาศัยคำสั่งของมหาเถรสมาคม กรณีห้ามภิกษุสามเณรศึกษาต่อในระดับเนติบัณฑิตไม่สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ ผลการวิจัย พบว่า รัฐธรรมนูญทุกฉบับที่ผ่านมาของประเทศไทยกำหนดให้ประชาชนทุกคนมีสิทธิเสรีภาพทางการศึกษาโดยเท่าเทียมกัน การจำกัดเสรีภาพทางการศึกษาย่อมมิอาจกระทำได้  ดังนั้น คำพิพากษาของศาลปกครองกลางที่อ้างถึงคำสั่งมหาเถรสมาคมที่ขาดความชัดเจนจึงเป็นการจำกัดสิทธิเสรีภาพด้านการศึกษาของภิกษุ สามเณร ที่ถือเป็นบุคคลในสังคม ไม่สอดคล้องกับบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญก่อให้เกิดผลกระทบด้านความไม่เสมอภาคทางการศึกษา ประเด็นที่ 2 การตีความตามคำพิพากษาของศาลปกครองกลางที่ 349/2556 ไม่เป็นไปตามหลักเสรีภาพทางการศึกษา และไม่สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 คลาดเคลื่อนไม่สอดคล้องกับแนวทางการศึกษาในยุคปัจจุบัน โดยข้อกำหนดกล่าวถึง การห้ามภิกษุสามเณรเรียนวิชาชีพอย่างคฤหัสถ์ในโรงเรียนหรือสถานที่ต่างๆปะปนกับคฤหัสถ์ชายหญิงประกอบกับข้อหารือของเนติบัณฑิตสภาถึงกรมการศาสนา ขาดเหตุผลที่เหมาะสม ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง ในระบบการศึกษาซึ่งในปัจจุบันภิกษุสามเณรสามารถเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาที่มีการเรียนปะปนชายหญิงได้ในหลายสถาบัน สอดคล้องกับคำให้สัมภาษณ์ของภิกษุสามเณรที่ศึกษาต่อหลักสูตร นิติศาสตร์ ในสถาบันระดับอุดมศึกษา เห็นได้ว่ามีการส่งเสริมและสนับสนุนเพื่อเปิดโอกาสให้ภิกษุสามเณรสามารถศึกษาระดับอุดมศึกษาแตกต่างจากในอดีตที่ผ่านมาซึ่งติดในข้อจำกัดด้านความเหมาะสมทางขนบธรรมเนียมประเพณี ดังนั้นคำพิพากษาของศาลปกครองกลางจึงเป็นคำสั่งที่ขัดต่อเสรีภาพการศึกษา มีข้อเสนอแนะจากการวิจัยว่า ควรมีการแก้ไขคำสั่งของมหาเถรสมาคมเพื่อให้เกิดความทันสมัยต่อโลกยุคปัจจุบันและให้สอดคล้องกับหลักรัฐธรรมนูญ ในเรื่องสิทธิเสรีภาพและความเสมอภาคทางการศึกษาควรให้พระภิกษุสามเณรสามารถเข้าศึกษาในสำนักอบรมกฎหมายแห่งเนติบัณฑิตสภาได้เช่นเดียวกับการศึกษาในระดับปริญญาโทหรือปริญญาเอกต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Dujawan, K. (2016). Kotmāi kīeokap sitthi sērīphāp thāngkān sưksā khō̜ng phiksu sāmmanēn. [Law on the rights and freedom of education of monks and novices]. Ubon Ratchathani Rajabhat Law Journal, 15 (101), 34-38

เขมรัศมิ์ ดุจวรรณ. (2559). กฎหมายเกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพทางการศึกษาของภิกษุสามเณร. วารสารวิชาการ คณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 15 (101), 34-38.

Explanation of the Regulations of the Professional Council. (2018). Retrieved February 15, 2021) from https://acpro-std.tfac.or.th/uploads/files/IESBA_summary.pdf.

คำอธิบายข้อบังคับของสภาวิชาชีพ. (2561). สืบค้น 15 กุมภาพันธ์ 2564, จาก https://acpro-.tfac.or.th/uploads/files/IESBA_summary.pdf

Jindasawat, N. (2015). Kān pokkhrō̜ng khana song nai prathēt Thai kō̜ranī sưksā : mahā thēn samākhom [The Sangha Administration in Thailand: A Case Study of Sangha Supreme Council]. (Independent Study of Master of Political Science, Thammasat University).

ณัฐฐาพร จินดาสวัสดิ์. (2558). การปกครองคณะสงฆ์ในประเทศไทย กรณีศึกษา: มหาเถรสมาคม. (การค้นคว้าอิสระรัฐศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).

Ploythes, Y. (2020). Problem of Scope in Exercising Rights and Liberty in Public Demonstrations and the Exercise of Administrative Authority in the Protection of the Interests of the Public by Legal Provisions in Thailand. Southeast Bangkok Journal , 6(1), 73-90.

ญาณวัฒน์ พลอยเทศ. (2563). ปัญหาขอบเขตการใช้สิทธิเสรีภาพการชุมนุมสาธารณะและการใช้อำนาจของฝ่ายปกครองในการคุ้มครองประโยชน์สาธารณะตามบทบัญญัติกฎหมายของประเทศไทย. วารสารวิชาการเซาธ์อีสท์บางกอก, 6(1), 73-90.

Rattanapolsaen, P. (2011). Māttrakān thāng kotmāi kīeokap kānkhumkhrō̜ng sitthi sērīphāp nai dān kānsưksā khō̜ng phra phiksu læ sāmmanēn. [Legal measures Concerning the Projection of the rights and Freedoms in the Education of monks and novices]. (Master's Thesis, Graduate School Sripatum University Chonburi Campus).

พระครูปลัดสามารถ รัตนพลเสน (2554). มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพในด้านการศึกษาของพระภิกษุและสามเณร. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต,มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี ).

Singhanati, B. (2019). Lak phư̄nthān khō̜ng sitthi sērīphāp læ saksī khwāmpen manut (6th edition). [Fundamentals of Rights, Liberties and Human Dignity (6th edition)]. Bangkok: Winyuchon Publishing House.

บรรเจิด สิงคเนติ. (2562). หลักพื้นฐานของสิทธิเสรีภาพและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ (พิมพ์ครั้งที่ 6).กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

Sangsaraphan, W. (2017). Lak kotmāi pokkhrō̜ng læ withī padibat rātchakān thāng pokkhrō̜ng. [Administrative Law and Administrative Procedures]. Bangkok: Winyuchon Publishing House.

วนิดา แสงสารพันธ์. (2560). หลักกฎหมายปกครองและวิธีปฎิบัติราชการทางปกครอง. กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

The Bar Council of India. (1975). The Bar Council of India Rules. Retrieved from http://www.barcouncilofindia.org/about/about-the-bar-council-of-india/.