การพัฒนากิจกรรมไมซ์ในแหล่งท่องเที่ยวชุมชนตามอัตลักษณ์วิถีชุมชน เมืองต้องห้ามพลาด Plus จังหวัดนครปฐม

Main Article Content

นิลุบล คงเปรม
กิตติทัช เขียวฉอ้อน
มัชฌิมา อุดมศิลป์

บทคัดย่อ

 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาอัตลักษณ์วิถีชุมชนเมืองต้องห้ามพลาด Plusจังหวัดนครปฐม 2) ออกแบบกิจกรรมท่องเที่ยวไมซ์ตามอัตลักษณ์วิถีชุมชนเมืองต้องห้ามพลาด Plusจังหวัดนครปฐม 4 ชุมชน ได้แก่ ชุมชนคลองมหาสวัสดิ์ อ พุทธมณฑล ชุมชนเกาะลัดอีแท่น อ. สามพราน ชุมชนบ้านห้วยม่วง อ. กำแพงแสน และชุมชนปฐมอโศก อ. เมือง จ. นครปฐม เป็นการวิจัยเชิงพื้นที่โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลแต่ละชุมชน ได้แก่ ผู้นำชุมชน สมาชิกชุมชน กลุ่มผู้ประกอบการ นักวิชาการท่องเที่ยวชุมชน หน่วยงานภาครัฐและเอกชน รวม 13 คน และการสนทนากลุ่มกับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวไมซ์โดยชุมชน ได้แก่ ผู้นำชุมชน นักวิชาการท่องเที่ยวชุมชน นักวิชาการกลุ่มไมซ์ รวม 20 คน และนำข้อมูลมาวิเคราะห์เนื้อหาตามประเด็นและการอภิปรายเชิงพรรณา  ผลการศึกษาพบว่า 1) อัตลักษณ์วิถีชุมชน 4 ชุมชนมีความโดดเด่นไปตามบริบทพื้นที่ คือ ชุมชนที่ 1 ชุมชนคลองมหาสวัสดิ์ มีอัตลักษณ์ที่โดดเด่น คือ วิถีชีวิตชุมชนริมคลอง เนื่องจากวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านมีความผูกพันกับคลองมหาสวัสดิ์ซึ่งได้ถูกขุดตามพระราชประสงค์ของรัชกาลที่ 4 ที่มีความศรัทธาในพระพุทธศาสนา เพื่อเป็นเส้นทางเรือไปนมัสการองค์พระ ปฐมเจดีย์ ชุมชนที่ 2 ชุมชนเกาะลัดอีแท่นมีอัตลักษณ์ที่โดดเด่น คือ วิถีเกษตร วิถีวัฒนธรรมไทย - จีน เพราะชุมชนเกาะลัดอีแท่นประกอบอาชีพเกษตรกรรม ทำสวนมะพร้าว หมาก และส้มโอที่ได้รับการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indication; GI) ชุมชนที่ 3 ชุมชนบ้านห้วยม่วง อัตลักษณ์วิถีชีวิตชุมชน คือ วิถีลาวครั่ง วิถีคนเลี้ยงกุ้ง ชุมชนที่ 4 ชุมชนปฐมอโศก มีอัตลักษณ์โดดเด่น คือ วิถีธรรม วิถีสมุนไพร เพราะเป็นชุมชนที่ถือแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนำมาปรับใช้กับการดำรงชีวิตควบคู่กับการถือศีล ละอบายมุข และการรับประทานมังสวิรัติและใช้พื้นที่ปลูกสมุนไพรปลอดสารพิษซึ่งเป็นส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ยาสมุนไพรของชุมชน  2) อัตลักษณ์ชุมชนเมื่อสรุปและออกแบบกิจกรรมท่องเที่ยวไมซ์ตามอัตลักษณ์วิถีชุมชนได้ออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ 1. กิจกรรมสายสัมพันธ์  ออกแบบกิจกรรม โดยนำอัตลักษณ์ของแต่ละชุมชนมาพัฒนาเป็นกิจกรรมที่มีส่วนร่วมกันระหว่างนักท่องเที่ยวและคนในชุมชน ได้แก่ การทำเมี่ยงคำบัวออแกนิค การยำส้มโอพื้นถิ่น การตกกุ้งปรุงอาหาร และการฝึกสมาธิจากฐานงาน 2. กิจกรรมสร้างขวัญและกำลังใจกับชุมชน ได้แก่ ล่องเรือชมวิถีริมคลองขอพรวัดสุวรรณ นั่งรถรางเรียนรู้วัฒนธรรมไทย - จีน ลาวครั่งเรียกขวัญส่งตะบันสะเดาะเคราะห์ ฟังธรรมวิถีพุทธ เป็นการออกแบบกิจกรรมที่ผูกเรื่องกับวัฒนธรรม ประเพณีที่โดดเด่นของพื้นที่เพื่อให้เกิดการเรียนรู้แลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมประเพณีที่แตกต่างระหว่างชุมชนและนักท่องเที่ยว และ 3. กิจกรรมเพื่อสังคม ได้แก่ นั่งเรือเก็บขยะรักษ์คลอง ปลูกป่าโกงกาง ปล่อยปลาสู่เขตอภัยทานชุมชน ฟื้นฟูพุทธสถาน เป็นการออกแบบกิจกรรมสำหรับกลุ่มนักท่องเที่ยวองค์กรในการบำเพ็ญประโยชน์ พัฒนาชุมชนตามบริบทพื้นที่และส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างมีความรับผิดชอบ

Article Details

How to Cite
คงเปรม น. ., เขียวฉอ้อน ก. ., & อุดมศิลป์ ม. . (2023). การพัฒนากิจกรรมไมซ์ในแหล่งท่องเที่ยวชุมชนตามอัตลักษณ์วิถีชุมชน เมืองต้องห้ามพลาด Plus จังหวัดนครปฐม. วารสารวิชาการเซาธ์อีสท์บางกอก (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 9(1), 1–14. https://doi.org/10.14456/sb-journal.2023.1
บท
บทความวิจัย

References

Kansamut, N. , Jaroenwisan K. and Puripakdee, S. (2020) . Kānphatthanā sakkayaphāp bukkhalākō̜n phư̄a phœ̄m khīt khwāmsāmāt kān khǣngkhan ʻutsāhakammai nai čhangwat Songkhlā. [Human Resource Development to Enhance Competitiveness of the MICE Industry in Songkhla]. Rajamangala University of Technology Srivijaya Research Journal. 12(1), 121-130.

นุชเนตร กาฬสมุทร์, เกิดศิริ เจริญวิศาลและ สันติธร ภูริภักดี.(2563).การพัฒนาศักยภาพบุคลากรเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันอุตสาหกรรมไมซ์ในจังหวัดสงขลา. วารสารวิจัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย. 12(1), 121-130.

Malahom, C. (2012) . Attalak chumchon rākthān sū kānsưksā. [Community Identity for Education foundation]. Journal of Education Rajabhat Maha Sarakham University , 9(1) , 41-43.

ชลธิชา มาลาหอม. (2555). อัตลักษณ์ชุมชนรากฐานสู่การศึกษา. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 9(1), 41-43.

Marketeer team. (2018). Thurakit mai pī sō̜ngphanhārō̜ihoksipʻet Thai tō kœ̄n pao sāng rāidai kwā sō̜ng sǣn lān baht. [Mice Business year 2018 Thailand grown over, increased income more than two hundred million baht]. Marketonline. Retrieved March 7, 2021, from https://marketeeronline.co/archives/82218.

Marketeer team. (2561).ธุรกิจไมซ์ปี 2561 ไทยโตเกินเป้า สร้างรายได้กว่าสองแสนล้านบาท.Marketonline,. สืบค้น 7 มี.ค. 65, จากhttps://marketeeronline.co/archives/82218.

Marketeer team. (2022). Čhaptā Thai thīeo Thai yō̜t phung khrưng pī lang khāt thang pītō 161.7 % sāng rāidai rāo 7.2 sǣn lān baht. [ Keep an eye on Thailand, the tourists increses in the second half of the year, expect that whole year will grow 161.7% generating about 720 billion baht in revenue]. Marketonline , Retrieved October 1, 2022, from https://marketeeronline.co/archives/268652.

Marketeer team. (2565).จับตาไทยเที่ยวไทยยอดพุ่งครึ่งปีหลัง คาดทั้งปีโต161.7% สร้างรายได้ราว 7.2 แสนล้านบาท. Marketonline, สืบค้น 1 ต.ค. 65, จากhttps://marketeeronline.co/archives/268652.

Royal Thai Government. ( 2022) . Thīeo chumchon yon withī. Retrieved October 1, 2022, from https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/56860.

รัฐบาลไทย.(2565). เที่ยวชุมชนยลวิถี. สืบค้น 1 ต.ค. 65, จาก https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/56860.

Saenjai, P. and Mongkhonsrisawat, S. (2012). Nǣothāng kānphatthanā sakkayaphāp kānthō̜ngthīeo rūpbǣp mai ( MICE ) nai čhangwat Khō̜n Kǣn. [Guidelines for the Development of MICE Tourism in Khon Kaen Province]. Journal of International and Thai Tourism. 11( 1 ), 54-67.

ภัคจิรา แสนใจ และ สถาพร มงคลศรีสวัสดิ์.(2558). แนวทางการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวรูปแบบไมซ์ (MICE) ในจังหวัดขอนแก่น. วารสารวิชาการการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ. 11(1), 54–67.

Santichat, T. and Makhon, S. (2019) . Kānčhat kitčhakam phisēt samrap kānthō̜ngthīeo phư̄a pen rāngwan.[Special Events for Incentive Travel]. Dusit Thani College Journal. 13(1), 396–398.

ธนธร สันติชาติและ สมบัติ มาขน.(2562). การจัดกิจกรรมพิเศษสำหรับการท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี. 13(1), 396-398.

Srirathu, V. (2008) . Sakkayaphāp lǣng thō̜ngthīeo chœ̄ng Niwēt nai ʻamphœ̄ khao khō̜ čhangwat Phetchabūn.[Eco – Tourism Potential of Amphoe Khao Kho, Petchabun Provice]. (Thesis of Master of Science Program, The Graduate School of Srinakrarinwirot University).

วิภา ศรีระทุ. (2551). ศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศในอำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์. (สารนิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).

Thaipost. (2021) . TCEB pœ̄tphœ̄i sām konlayut phǣnngān pī hoksiphā chūthongmai Thai rūam čhai sāng chāt . Thaipost. [TCEB Unveils 3 MICE Strategies at “Thai MICE for the Nation]. Retrieved March 7, 2021, from

https://www.thaipost.net/main/detail/114675.

ไทยโพสต์. (2564). ทีเส็บเปิดเผย 3 กลยุทธ์แผนงานปี 65 ชูธงไมซ์ไทยรวมใจสร้างชาติ. ไทยโพสต์. สืบค้น 7 มี.ค. 65 จาก https://www.thaipost.net/main/detail/114675.

The Thailand Community Based Tourism Institute. (2012). Kānthō̜ngthīeo dōi chumchon. [Community – Based Tourism]. Retrieved October 1, 2022, from https://thaicommunitybasedtourismnetwork.wordpress.com/cbt/

สถาบันการท่องเที่ยวโดยชุมชน. (2555). การท่องเที่ยวโดยชุมชน. สืบค้น 1 ต.ค. 65, จาก https://thaicommunitybasedtourismnetwork.wordpress.com/cbt/

Tongpoon, S. , Tongpoon, K. and Tongphun, K. (2020). Attalak chumchon phư̄a kān songsœ̄m kānthō̜ngthīeo chumchon bān lānkhā čhangwat Suphan Burī . [The Community Identity Study for Promoting Tourism in Lanka Community, Suphanburi Province]. In Proceeding of The 11th Hatyai National and International Conference , July 17 , 2020, Hatyai University. pp. 948-954.

สิริกานต์ ทองพูน, คัมภีร์ ทองพูนและ คงทัต ทองพูน.(2563). อัตลักษณ์ชุมชนเพื่อการส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนบ้านลานคา จังหวัดสุพรรณบุรี. รายงานสืบเนื่องการประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 11, 17 กรกฎาคม 2563 มหาวิทยาลัยหาดใหญ่. 948-954.