ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจใช้บริการโรงแรม AI ของนักท่องเที่ยวชาวไทยตามลักษณะส่วนบุคคล

Main Article Content

ฉัตยาพร เสมอใจ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบปัจจัยที่มีผลต่อความตั้งใจใช้บริการโรงแรม AI ของนักท่องเที่ยวชาวไทยจำแนกตามข้อมูลส่วนบุคคล โดยใช้แบบสอบถามออนไลน์เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางท่องเที่ยวและใช้บริการที่พักแรม 421 ราย โดยเก็บข้อมูลแบบตามความสะดวก (Convenience Sampling) ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์สมการโครงสร้าง  ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยด้านทัศนคติ และปัจจัยด้านการคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง ส่งผลต่อความตั้งใช้บริการโรงแรม AI อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ตามลำดับ โดยปัจจัยด้านการคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง ปัจจัยด้านการรับรู้ถึงความง่ายต่อการใช้งาน และปัจจัยด้านการรับรู้ถึงประโยชน์ที่ได้รับจากเทคโนโลยี ส่งผลต่อทัศนคติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ตามลำดับ ในขณะที่ ปัจจัยด้านความวิตกกังวลทางเทคโนโลยี ส่งผลต่อปัจจัยด้านทัศนคติ ในทิศทางลบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.10 และ ปัจจัยด้านการรับรู้ถึงความง่ายต่อการใช้งาน ส่งผลต่อปัจจัยด้านการรับรู้ถึงประโยชน์ที่ได้รับจากเทคโนโลยี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ในขณะที่ ปัจจัยด้านการยึดติดกับบริการรูปแบบดั้งเดิม ไม่ส่งผลต่อปัจจัยด้านทัศนคติ และไม่ส่งผลต่อความตั้งใช้บริการโรงแรม AI และนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีลักษณะส่วนบุคคลต่างกัน มีปัจจัยที่มีผลต่อความตั้งใจใช้บริการโรงแรม AI แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

Article Details

How to Cite
เสมอใจ ฉ. . (2023). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจใช้บริการโรงแรม AI ของนักท่องเที่ยวชาวไทยตามลักษณะส่วนบุคคล. วารสารวิชาการเซาธ์อีสท์บางกอก (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 9(1), 49–61. https://doi.org/10.14456/sb-journal.2023.4
บท
บทความวิจัย

References

Ansari, Z. A. (2015). Relationship between Consumer Demographics and New Product Adoption. MAGNT Research Report, 2(4), 385-395.

Bollen, K. A. (1989). Structural Equations with Latent Variables. John Wiley & Sons.

Davis, F. D., Bagozzi, R. P. & Warshaw, P. R. (1989). User Acceptance of Computer Technology: a Comparison of Two. Management Science, 35(8), 982-1001.

Diamantopoulos, A., & Siguaw, J. A. (2000). Introducing LISREL. London: Sage.

Fishbein, M. & Ajzen, I. (1975). Belief, Attitude, Intention and Behavior: an Introduction to Theory and Research. Reading, MA: Addison-Wesley.

Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., & Anderson, R. E. (2010). Multivariate Data Analysis. (7th ed.). Englewood Cliffs: Prentice Hall.

Hair, J. F., Hult, G.T.M., Ringle, C.M., Saestedt, M. Danks, MN.P. & Ray, S. (2021). Partial Least Squares Structural Equation Modeling (PLS-SEM) Using R: A workbook. Cham, Switzerland: Springer.

Lee, J.W. & Cormier, J.F. (2010). Effects of Consumers’ Demographic Profile on Mobile Commerce Adoption. Journal of Distribution Science, 8(1), 5-11.

Lin, J.C.C., (2007). Online Stickiness: Its Antecedents and Effect on Purchasing Intention, Behavior and Information Technology, 26(6), 507-516.

Mani, Z. & Chouk, I. (2018). Consumer Resistance to Innovation in Services: Challenges and Barriers in the Internet of Things Era. Journal of Product Innovation Management, 35(5), 780–807.

Meuter, M., Ostrom, A., Bitner, M. J. & Roundtree, R. (2003). The Influence of Technology Anxiety on Consumer Use Experiences with Self-service Technologies. Journal of Business Research, 56(11), 899-906.

Roger, E.M. (1983). Diffusion of Innovations. (3rd ed.), NY: Macmillan Publishing.