ปัจจัยที่ส่งผลต่อความภักดีในการซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นผ่านการแพร่ภาพสด บนแอปพลิเคชัน Facebook ของผู้บริโภควัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

บุญญาพร ศรีประเสริฐ
พรพิมล สัมพัทธ์พงศ์
ฉัตยาพร เสมอใจ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์เสื้อผ้าแฟชั่นผ่านการแพร่ภาพสดบนแอปพลิเคชัน Facebook 2) ระดับศึกษาความภักดีในการซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นผ่านการแพร่ภาพสดบนแอปพลิเคชัน Facebook 3) เปรียบเทียบความภักดีในการซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นผ่านการแพร่ภาพสดบนแอปพลิเคชัน Facebook จำแนกตามปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ และ 4) ศึกษาปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์ที่ส่งผลต่อความภักดีในการซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นผ่านการแพร่ภาพสดบนแอปพลิเคชัน Facebook โดยใช้แบบสอบถามออนไลน์ในการเก็บข้อมูลจากผู้บริโภคที่เคยซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นผ่านการแพร่ภาพสด จำนวน 385 คน โดยใช้วิธีสุ่มตัวอย่างตามความสะดวก วิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้สถิติ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) ทำการทดสอบรายคู่ ด้วยวิธี LSD (Least Square Difference) และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ (Multiple Linear Regression)  ผลการวิจัย พบว่า 1) ผู้บริโภคให้ความสำคัญกับส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์ด้านราคามากที่สุด รองลงมาเป็นช่องทางการจัดจำหน่าย ผลิตภัณฑ์ การรักษาความเป็นส่วนตัว และการให้บริการส่วนบุคคล 2) ด้านระดับความภักดี พบว่า ผู้บริโภคให้ความสำคัญกับความภักดีด้านทัศนคติเป็นอันดับแรก รองลงมาเป็นด้านพฤติกรรม 3) ผลการทดสอบสมติฐาน พบว่า เพศ อายุ อาชีพ ระดับการศึกษา และรายได้เฉลี่ย แตกต่างกัน มีความภักดีในการซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นผ่านการแพร่ภาพสดบนแอปพลิเคชัน Facebook ต่างกัน ทั้งด้านทัศนคติและพฤติกรรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 และ 4) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์ ส่งผลต่อความภักดีด้านทัศนคติและด้านพฤติกรรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Best, J. W. & J. V. Kahn. (1993). Research in Education. Boston, M.A.: Allyn and Bacom.

Chandrruangphen, E. Assarut, N. & Sinthupinyo, S. (2022). The Effects of Live Streaming Attributes on Consumer Trust and Shopping Intentions for Fashion Clothing. Cogent Business & Management, 1(9), 1-29.

Cochran, W.G. (1953). Sampling Techiques. New York: John Wiley & Sons.

DataReportal.(2022). Digital 2022: Global Overview Report. Retrieved September 3, 2022, from https://datareportal.com/reports/digital-2022-global-overview-report.

DataReportal.(2022). Digital 2022: Thailand. Retrieved September 3, 2022, from https://datareportal.com/reports/digital-2022-Thailand.

Ivanauskiene, N. & Auruskevicien, V. (2009). Loyalty Programs Challenges in Retail Banking Industry. Economics & Management, No.14 (2009), 407-412.

Jawaid, M. & Rajadurai, G. K. (2021). The Effect of Social Media Marketing on Customer Loyalty amongst University Students: Evidence from the Fashion Industry in Kuala Lumper. Amity School of Communication, 7(13), 66-81. Retrieved September 3, 2022, from https://www.amity.edu/gwalior/jccc/pdf/jun_08.pdf.

Kleebbua S. (2019). Patčhai sō̜ won prasom thāngkān talāt læ phrưttikam kān lư̄ak ʻasi nakhā phān sangkhom ʻō̜ nalai kō̜ranī sưksā fē sabuk nai khēt ʻAmphœ̄ Mư̄ang čhangwat Lampāng. [Marketing Mix and Consumer Behavior towards Decision Making on Online Shopping through Social Media: A Case of Facebook in Muang District, Lampang Province]. Payap University Journal, 29(1), 79-92.

สุวภี กลีบบัว. (2562). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดและพฤติกรรมการเลือกซื้อสินค้าผ่านสังคมออนไลน์ กรณีศึกษาเฟซบุ๊ก ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดลำปาง. วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ, 29(1), 79-92.

Marketingoops. (2018). Open Interesting Statistics of Facebook Live 2nd Anniversary. Retrieved September, 19 2022, from https://www.marketingoops.com/media-ads/social-media/facebook-live-2-years/.

Muangmee, C. (2011). Effects of Facebook Advertising on Sustainable Brand Loyalty and Growth: case of Thai Start-up Businesses. Transnational Corporations Review. Retrieved September 3, 2022, from https://doi.org/10.1080/19186444.2021.1986340.

Novotová, J. (2018). Exploring Customer Loyalty to Fashion Brands on Facebook Fan pages. Marketing and Trade, 21(1), 206-223. Retrieved September 3, 2022, from https://www.researchgate.net/publication/324194816_Exploring_customer_loyalty_to_fashion_brands_on_facebook_fan_pages.

Ritthidet P. (2018). Khwāmsamphan rawāng patčhai sō̜ won prasom thāngkān talāt læ khwām čhongrakphakdī nai trā sinkhā nārā yā khō̜ng phūbō̜riphōk nai khēt Krung Thēp Mahā Nakhō̜n. [The Relationship Between Marketing Mix and Brand Loyalty Naraya of Consumers in Bangkok.]. (Master Thesis, M.B.A., Silpakorn University).

ปิยมาศ ฤทธิเดช. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดและความจงรักภักดีในตราสินค้านารายาของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต,มหาวิทยาลัยศิลปากร).

Taweepattanapong Y. (2020). Phrưttikam kān ʻasư̄aphā ʻō̜ nalai læ thatsanakhati thī mī tō̜sō̜ won prasom thāngkān talāt thī song phon tō̜ khwām tangčhai sư̄sam khō̜ng phūbō̜riphōk nai khēt Krung Thēp Mahā Nakhō̜n. [Online Clothing Shopping Behavior and Attitude towards Marketing Mix Affecting Repeat Purchase Intentions of Consumers in Bangkok]. (Independent Study, University of the Thai Chamber of Commerce).

ยศสรัล ทวีพัฒนะพงศ์. (2560). พฤติกรรมการซื้อเสื้อผ้าออนไลน์และทัศนคติที่มีต่อส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อซ้ำของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. (การค้นคว้าอิสระ, มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย).

TMBThanachart Bank. (2019). Khō̜ng man tō̜ ʻong mī. [It's a Must-Have Item]. Retrieved August 10, 2022, from https://thestandard.co/ tmb-analytics-wisesight/.

ธนาคารทหารไทยธนชาติ. (2562). ของมันต้องมี. สืบค้น 10 สิงหาคม 2565, จาก https://thestandard.co/

tmb-analytics-wisesight/.

Thaisom A. (2017). Patčhai thī song phalok ra thop tō̜ khwām phakdī khō̜ng lūkkhā tō̜ phalittaphan trā sinkhā Loonnystore. [Factors Affected to Customer Loyalty toward Loonnystore]. (Master Thesis, M.B.A., Silpakorn University).

อังก์สมาลักษณ์ ไทยสม. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อความภักดีของลูกค้าต่อผลิตภัณฑ์ตรา สินค้า Loonnystore. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร).

Vanichbuncha K. (2009). Sathiti samrap ngānwičhai. [Statistics for Research]. Bangkok: Chulalongkorn University.

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2549). สถิติสำหรับงานวิจัย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Wongnitchakul W. (2012). Kānbō̜rihān kān songsœ̄m kāntalāt. [Marketing Promotion Management ( 7th Edition)]. Bangkok: Bangkok University.

วิเชียร วงศ์ณิชชากุล. (2555). การบริหารการส่งเสริมการตลาด (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.