การบริหารงบประมาณของสถานศึกษา ในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี

Main Article Content

จิดานันท์ สวนคล้าย
ลัดดาวัลย์ เพชรโรจน์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการบริหารงบประมาณของสถานศึกษาในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูต่อการบริหารงบประมาณของสถานศึกษาในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี และ3) เสนอแนวทางในการพัฒนาการบริหารงบประมาณของสถานศึกษาในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี จำนวน 121 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา 27 คน และครู 94 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) ตามขนาดสถานศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามเป็นแบบมาตรวัดประมาณค่า โดยมีค่าความตรงตามเนื้อหา (IOC) อยู่ระหว่าง 0.67-1.00 และค่าความเที่ยงได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ 0.91 วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ค่าความถี่  ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ทางสถิติ t-test Independent การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) การเปรียบเทียบความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธี LSD (The Least Significant Difference Test) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)  ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารงบประมาณของสถานศึกษาในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี โดยภาพรวมมีการดำเนินการอยู่ในระดับมาก และด้านที่อยู่ในระดับมากที่สุด 3 ด้าน คือ ด้านการบริหารบัญชี ด้านการจัดสรรงบประมาณและด้านการบริหารการเงิน ตามลำดับ นอกนั้นอยู่ในระดับมาก คือด้านการบริหารพัสดุและสินทรัพย์ ด้านการตรวจสอบ ติดตาม


ประเมินผล และรายงานผลการใช้จ่ายเงิน ด้านการจัดทำและเสนอของบประมาณ และด้านการระดมทรัพยากรและการลงทุนเพื่อการศึกษา ตามลำดับ 2) ผลการเปรียบเทียบการบริหารงบประมาณของสถานศึกษาพบว่าผู้บริหารสถานศึกษาและครูมีความเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ทั้งภาพรวมและรายด้าน ส่วนสถานศึกษาขนาดใหญ่ต่างกับขนาดกลางและเล็กในด้านการบริหารพัสดุและสินทรัพย์ และเมื่อจำแนกตามระดับการศึกษาและประสบการณ์ในการทำงาน พบว่าไม่แตกต่างกัน และ 3) แนวทางในการพัฒนาควรจัดอบรมเพิ่มพูนความรู้ให้กับผู้ปฏิบัติหน้าที่ด้านการเงิน บัญชี พัสดุและงบประมาณ หรือสรรหาบุคลากรเฉพาะด้านการเงิน บัญชี พัสดุและงบประมาณเพื่อให้มีประสิทธิภาพ

Article Details

How to Cite
สวนคล้าย จ., & เพชรโรจน์ ล. . . (2023). การบริหารงบประมาณของสถานศึกษา ในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี. วารสารวิชาการเซาธ์อีสท์บางกอก (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 9(1), 122–139. https://doi.org/10.14456/sb-journal.2023.9
บท
บทความวิจัย

References

Athiwēt P., Singpan, P. and Trinikom, S. (2014). Saphāp panhā kānbō̜rihān ngān ngoppramān nai sathān sưksā sangkat ʻongkān bō̜rihān sō̜ won čhangwat nai khēt phāk tawanʻō̜k chīang nư̄a tō̜n lā. [Problems in Schools Budget Administration of the Lower Northeast Provincial Administration Organization.Buabandit Journal of Educational Adminisitration, 15(2), 155-166.

ปิติพร อาธิเวช, พงษ์ธร สิงห์พันธ์, สมมิตร ตรีนิคม. (2557). สภาพปัญหาการบริหารงานงบประมาณในสถานศึกษาสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง. วารสารบริหารการศึกษาบัวบัณฑิต, 15(2), 155-166.

Department of Local Administration. (2021). Khō̜ trūat phop čhāk kān patibat ngān tām phǣnkān trūat sō̜p kānkhlang kānngœ̄n kān banchī læ kān phatsadu ʻongkō̜n pokkhrō̜ng sūan thō̜ngthin pračham pīngoppramān Phō̜.Sō̜ 2564. [Findings from the Implementation of the Fiscal, Finance, Accounting and Procurement Audit Plan, Local Government Organizations Fiscal Year 2021]. Ministry of Interior.

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2564). ข้อตรวจพบจากการปฏิบัติงานตามแผนการตรวจสอบการคลัง การเงิน การบัญชี และการพัสดุ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564. กระทรวงมหาดไทย.

Klapsuk M. (2014). Kānsưksā saphāp læ panhā kānbō̜rihān ngoppramān khō̜ng rōngrīan sangkat samnakngān khēt phư̄nthī kānsưksā prathom sưksā Sī Sa Kēt khēt. [A study of the state and problems of school budget management. Under the Office of Sisaket Primary Education Service Area 2]. Master Thesis, Education Program, Ubon Ratchathani Rajabhat University.

มยุรี กลับสุข. (2557). การศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารงบประมาณของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 2. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตร มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี).

Kaewdang, R. (2003). Rrōngrīan nitibukkhon. [Legal Entity School]. Bangkok: Thai Wattana Panich.

รุ่ง แก้วแดง. (2546). โรงเรียนนิติบุคคล. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

Ministry of Finance. (2003). Rabīap wādūai kānbō̜rihān ngoppramān Phō̜.Sō̜. 2546. [Budget Management Regulations B.E. 2546]. Bangkok: Division of Law and Regulation, Bureau of the Budget.

สำนักงบประมาณ. (2546). ระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ. 2546. กรุงเทพฯ: กองกฎหมายและระเบียบ สำนักงบประมาณ, กระทรวงการคลัง.

Ministry of Education. (2005). Kāndamnœ̄n kān thāi ʻōn phārakit dān kānsưksā hai kǣ ʻongkō̜n pokkhrō̜ng sūan thō̜ngthin. [The Transferring Educational Missions to Local Government Organizations]. Bangkok: Graphic Sweet Pepper.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2548). การดำเนินการถ่ายโอนภารกิจด้านการศึกษาให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

Mosala, G. (2016). Effective use of budgeting as a tool towards financial management in schools in Lejweleputswa District. Africa’s Public Service Delivery & Performance Review, 4(3), 121.

Mungphonklang, K.and Piatanom, P. (2020). Kānbō̜rihān ngoppramān khō̜ng sathān sưksā naphư̄n thān sangkat samnakngān khēt phư̄nthī kānsưksā matthayommasưksā khēt. [Budget Management of Basic Education Institutions under the Office of Secondary Education Service Area 2]. Lampang Rajabhat University Journal, 9(2), 1-13.

ขวัญเรือน มุ่งผลกลาง และ ปทุมพร เปียถนอม. (2563). การบริหารงบประมาณของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, 9(2), 1-13.

Pattanakittichok, B.(2016). Saphāp kānbō̜rihān ngoppramān khō̜ng sathān sưksā nai saha witthayākhēt mư̄ang Burī Ram sangkat samnakngān khēt phư̄nthī kānsưksā matthayommasưksā khēt 32.[ Budget Management Condition of Schools in Muang Buriram Consortium Under the Supervision of Secondary Education Office Area 32]. Master Thesis, Education Program, Buriram Rajabhat University.

บุญยวีร์ พัฒน์ธนกิตติโชค. (2559). สภาพการบริหารงบประมาณของสถานศึกษาในสหวิทยาเขตเมืองบุรีรัมย์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 32. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์).

Phetchroj, L. and Chamniprasart, A. (2019). Rabīap withīkān wičhai. [Research Methodology]. Bangkok: CDMKprinting.

ลัดดาวัลย์ เพชรโรจน์ และอัจฉรา ชำนิประศาสน์. (2562). ระเบียบวิธีการวิจัย (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: เจริญดีมั่นคงการพิมพ์.

Somkhanay, T., Porglin, S. and Tapta, S. (2021). Saphāp patčhuban panhā læ nǣothāng kānbō̜rihān ngoppramān bǣp mung nēn phon ngān nai sathān sưksā sangkat samnakngān khēt phư̄nthī kānsưksā prathom sưksā Yasōthō̜n khēt 2. [The States and Problems on Performance-base Budgeting as Hurdles in Schools under Yasothon Primary Eductional Sevice Area Office 2]. Journal of MCU Ubon Review, 7(2), 221-234.

ธัญลักษณ์ สมคะเณย์, สุวิมล โพธิ์กลิ่น และ สุปิยา ทาปทา(2564). สภาพปัจจุบัน ปัญหาและแนวทางการบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 2. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์, 7(2), 221-234.