ตัวแบบสนับสนุนการตัดสินใจเลือกการผลิตและขายผลิตภัณฑ์ยางพารา เพื่อเพิ่มกำไรจากการลงทุน กรณีศึกษา จังหวัดบึงกาฬ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมยางพารา และสร้างตัวแบบสนับสนุนการตัดสินใจเลือกผลิตและขายผลิตภัณฑ์ยางพาราที่สามารถทำกำไรได้สูงสุด ซึ่งในงานวิจัยนี้ใช้แนวความคิดสร้างตัวแบบสนับสนุนการตัดสินใจเลือกผลิตและขายยางพารา เพื่อให้เกษตรกรและเจ้าของสวนยางพาราใช้เป็นเครื่องมือวิเคราะห์เลือกผลิตและขายผลิตภัณฑ์ยางพาราที่ทำให้มีกำไรสูงสุด โดยเบื้องต้นเกษตรกรมี 2 ทางเลือกคือ ขายในรูปแบบยางเครพก้อนถ้วย หรือขายในรูปแบบน้ำยางสด งานวิจัยนี้นำเสนอห่วงโซ่อุปทานของยางพาราตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ เกษตรกรสามารถประยุกต์ใช้เป็นแนวทางในการเพิ่มขีดความสามารถในการแปรรูปยางพารา จากน้ำยางสดเป็นผลิตภัณฑ์ยางพารากลางน้ำ เช่น น้ำยางข้น ยางแผ่นรมควัน ยางคอมพาวด์ ยางสกิมบล็อคและยางแท่ง เกษตรกรยังสามารถขยายขีดความสามารถในการแปรรูปยางพาราจากผลิตภัณฑ์กลางน้ำเป็นปลายน้ำได้อีกด้วย เช่น ถุงมือยาง ถุงยางอนามัย หรือยางล้อรถยนต์ งานวิจัยใช้ข้อมูลราคาซื้อ-ขายยางพาราเป็นระยะเวลา 5 ปี (พ.ศ. 2558 - 2562) ปริมาณยางพาราที่ผลิตได้ของจังหวัดบึงกาฬ จากพื้นที่ปลูกยางพาราทั้งหมด 698,465 ไร่ กระจายปลูกใน 8อำเภอ สามารถผลิตยางพาราได้เฉลี่ยวันละ 8,000 ตัน รวมผลิตยางพารา 5 ปี 1.82 ล้านตัน โดยผลการวิจัย พบว่า หลังการใช้ตัวแบบสนับสนุนการตัดสินใจเลือกการผลิตและขายผลิตภัณฑ์ยางพารา เกษตรกรสามารถทำกำไรเพิ่มขึ้น 190.1 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.44 เมื่อวิเคราะห์ตามตำบล/อำเภอ หลังใช้ตัวแบบสนับสนุนการตัดสินใจทุกตำบลก็มีกำไรเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ผู้วิจัยได้วิเคราะห์ตามกลุ่มเกษตรกรที่รวมตัวกันขายยางพารา หลังจากใช้ตัวแบบสนับสนุนการตัดสินใจ ทุกกลุ่มมีกำไรสูงขึ้น ฉะนั้นผู้วิจัยจึงสรุปได้ว่าตัวแบบการสร้างรายได้สูงสุดจากการเลือกผลิตและขายน้ำยางสดหรือยางก้อนถ้วย เป็นตัวแบบที่สามารถสร้างกำไรเพิ่มขึ้นให้แก่เกษตรกรและเจ้าของสวนยางพาราในจังหวัดบึงกาฬ
Article Details
References
Kosaisuk U. (1993).‘Kāntham yāng phǣ nachan dī ’ . ēkkasān talāt pramūn yāngphārā. [“Making Good Rubber Sheets” Rubber Auction Market Documents (In Thai)]. Bangkok: Office of the Rubber Replanting Aid Fund, Ministry of Agriculture and Cooperatives.
อุดม โกสัยสุก. (2536). “การทำยางแผ่นชั้นดี” เอกสารตลาดประมูลยางพารา. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสังเคราะห์การทำสวนยาง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
Land Develop Department. (2021). Nǣothāng kān songsœ̄m kān kasēt thī mo̜som tām thānkhō̜mūn phǣnthī kasēt chœ̄ng ruk. [Appropriate Agricultural Promotion Guidelines According to the Proactive Agriculture Map Database (In Thai)]. Bangkok : Ministry of Agriculture and Cooperatives.
กรมพัฒนาที่ดิน. (2564). แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก. กรุงเทพฯ : กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
Office of Songkhla Central Rubber Market. (2020). Rākhā pramūn læ parimān yāng thī sư̄ khāi Na talāt klāng yāngphārā. [Bid Price and Quantity of Tires Traded at the Central Rubber Market (In Thai)]. Retrieved November 5, 2022, from
สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา. (2563). ราคาประมูล และปริมาณยางที่ซื้อขาย ณ ตลาดกลางยางพารา. สืบค้น 5 พฤศจิกายน 2565, จาก http://www.rubberthai.com.
Youngdee P. (2013). Kānprayukchai rabop phūm sārasonthēt phư̄a sưksā kārok ra čhā yō̜ chœ̄ng phư̄nthī læ kānyō̜mrap kān pho̜plūk yāngphārā khō̜ng kasēttrakō̜n nai čhangwat Burī Ram. [Application of GIS to Study the Spatial Distribution and Adoption of Para Rubber Cultivation of Farmers in Buriram Province]. Rommayasan Journal, 11(2), 11-28.
ผดุงชาติ ยังดี. (2556). การประยุกต์ใช้ระบบภูมิสารสนเทศเพื่อศึกษาการกระจายเชิงพื้นที่ และการยอมรับการเพาะปลูกยางพาราของเกษตรกรในจังหวัดบุรีรัมย์. วารสารวิชาการรมย์สาร, 11(2), 11-28.