กลยุทธ์การบริหารจัดการของธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยสู่โซเชียลแบงค์กิ้ง

Main Article Content

สมบัติ บุญประธรรม

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลยุทธ์การปรับตัวของธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยสู่โซเชียลแบงค์กิ้ง เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยเทคนิคเดลฟาย ศึกษาข้อมูลจากเอกสาร และสังเคราะห์เนื้อหาจากการสัมภาษณ์เชิงลึก เพื่อหาฉันทามติจากผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้ ความสามารถและประสบการณ์ด้านโซเชียลแบงค์กิ้ง จำนวน 17 คน โดยคัดเลือกผู้เชี่ยวชาญแบบเฉพาะเจาะจง ผลการศึกษาพบว่า กลยุทธ์การปรับตัวของธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยสู่โซเชียลแบงค์กิ้ง ประกอบด้วย 7 กลยุทธ์หลัก ได้แก่ 1) กลยุทธ์องค์การนวัตกรรม 2) กลยุทธ์องค์การแห่งการเรียนรู้  3) กลยุทธ์วัฒนธรรมองค์การมุ่งความสำเร็จตามเป้าหมาย 4) กลยุทธ์ประสิทธิภาพการสื่อสารภายใน  5) กลยุทธ์องค์การยืดหยุ่นการเปลี่ยนแปลง 6) กลยุทธ์ผู้นำการเปลี่ยนแปลง และ 7) กลยุทธ์ส่งเสริมบุคลากรมีส่วนร่วมในการจัดการองค์การ ทั้งนี้เพื่อสร้างความสมดุลระหว่างการให้บริการทางการเงินในรูปแบบเงินสดผ่านตัวกลาง และการเงินดิจิทัล ผสานร่วมกับสังคม วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจ และยกระดับการพัฒนาการเงินอิสลาม เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และขยายโอกาสการเข้าถึงแหล่งบริการทางตามหลักการของศาสนาอิสลามได้อย่างทั่วถึง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Achavanuntakul, S. (2017). Kāntœ̄ptō khō̜ng Fintech kap ʻōkāt kānsāng sētthakit thī phatthanā yāng thūathưng. [The Growth of Financial Technology and its Potential for Inclusive Economy]. Retrieved April 9, 2022, from http://www.salforest.com/ knowledge/fitech-financial-access

สฤณี อาชวานันทกุล. (2560). การเติบโตของ Fintech กับโอกาสการสร้างเศรษฐกิจที่พัฒนาอย่างทั่วถึง. สืบค้น 15 สิงหาคม 2565, จาก http://www.salforest.com/knowledge/fitech-financial-access

Ariyaprasert, T. (2021). Withī kān prap tūa sū kān pen ʻongkān thurakit ʻutsāha ra rom thī prātprīeo nai yuk sētthakit phlik phan. [Adjusting to Become an Agile Business Organization]. Journal of Business and Industrial Development, 1(1), 1-11.

ธิดารัตน์ อริยะประเสริฐ. (2564). วิถีการปรับตัวสู่การเป็นองค์กรธุรกิจที่ปราดเปรียว. วารสารพัฒนาธุรกิจและอุตสาหกรรม, 1(1), 1-11.

Buabon, S. (2565). Kān prap tūa khō̜ng thanākhān phānit nai yu khō̜di čhi than [Adoping digital technology at Thai Commercial Bank]. (Master’s thesis, Burapha University).

สุภาวดี บัวบน. (2565). การปรับตัวของธนาคารพาณิชย์ในยุคดิจิทัล. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา).

Jitvirat, K. (2018). Mō dē lakān prap tūa khō̜ng ʻongkān thurakit thī dai rap phonkrathop čhāk kāntham lā yalāng khō̜ng theknōlōyī di čhi than nai satawat thī yīsipʻet. [A Model for Adapting Business Organizations to the Disruptive Effects of Digital Technology in The 21st Century]. Journal of the Researchers Association, 23(2), 74-87.

โกศล จิตวิรัตน์. (2561). โมเดลการปรับตัวขององค์การธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากการทำลายล้างของเทคโนโลยีดิจิทัลในศตวรรษที่ 21. วารสารสมาคมนักวิจัย, 23(2), 74-87.

Macmillan, T. T. (1971). The Delphi Technique: Paper Presented at the Annual Meeting of the California Junior Colleges Associations Committee on research and development. Monterey: California.

Rovinelli, R. J., & Hambleton, R. K. (1977). On the Use of Content Specialists in the Assessment of Criterion-Referenced Test Item Validity. Tijdschrift voor Onderwijsresearch, 2(2), 49–60.