ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่บุคลากรในศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ และพลังงานทหารใช้ตัดสินใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้า

Main Article Content

สมิตา ยะคะเรศ
สิทธิชัย ฝรั่งทอง

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความสำคัญของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่บุคลากรของศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร  ใช้ตัดสินใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้า แยกตามปัจจัยส่วนบุคคล กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บุคลากรของศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร จำนวน 220 คน ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่บุคลากรของศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ และพลังงานทหารใช้ตัดสินใจซื้อรถยนต์พลังงานไฟฟ้าในภาพรวม มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากค่ามาก ไปหาน้อย ดังนี้ ด้านลักษณะทางกายภาพ ด้านบุคคล ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านกระบวนการ ด้านช่องทางการ จัดจำหน่าย ด้านผลิตภัณฑ์ และด้านราคา ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า อายุและระดับชั้นยศต่างกัน มีการใช้ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในการตัดสินใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าต่างกัน ณ ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ส่วน เพศ ระดับการศึกษา และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่างกัน มีการใช้ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในการตัดสินใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าไม่ต่างกัน ข้อเสนอแนะ ควรมีการศึกษาวิจัยในเชิงคุณภาพแบบเจาะลึกถึงมูลเหตุที่มีอิทธิพลหรือปัจจัยอื่น ๆ ที่จะทำให้เกิดการค้นพบปัจจัยใหม่ ๆ ที่อาจมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้า เนื่องจากรถยนต์ไฟฟ้าเป็นนวัตกรรมใหม่อาจมีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นทั้งการพัฒนาแบตเตอรี่ กักเก็บพลังงาน สถานีพลังงานสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า ความแตกต่าง ด้านการใช้งานของรถยนต์ไฟฟ้าในแต่ละตราสินค้า เป็นต้น รวมถึงศึกษาปัจจัยนำมาใช้ในการวางแผนกำหนดแนวทางในการดำเนินการทั้งในภาครัฐและเอกชน เพื่อรองรับการใช้งานรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Armstrong, G., & Kotler, P. (2015). Principles of Marketing (Global ed.). New Jersey: Pearson Education.

Chanto, C. (2023). patčhai thī mī phon tō̜ ʻakān tatsin čhai ʻō̜n thō̜ yon faifā khō̜ng khārātchakān Krung Thēp Mahā Nakhō̜n. [Factors Affecting the Decisions to Purchase Electric Vehicle of Government Officer of Bangkok Metropolitan Administration]. (Master’s Independent Study, Ramkhamhaeng University).

ชนิดาภา จันทร์โต. (2566). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าของข้าราชการกรุงเทพมหานคร. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง).

Jipiphob, N. (2023). ʻitthiphon khō̜ ʻong sō̜ won prasom thāngkān talāt tō̜ ʻakān tatsin čhai ʻō̜n thō̜ yon faifā nai čhangwat Krung Thēp Mahā Nakhō̜n. [The Influence of Marketing Mix on Electric Car Purchase Decision in Bangkok Metropolis]. (Master’s Independent Study, Ramkhamhaeng University).

ณัฐกมล จิปิภพ. (2566). อิทธิพลของส่วนประสมทางการตลาดต่อการตัดสินใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าในจังหวัดกรุงเทพมหานคร. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง).

Kotler, P., & Keller, L. (2016). Marketing Management (14th ed.). New Jersey: Pearson Education.

Leingchan, R. (2022). rotyon faifā : khwāmtō̜ngkān læ ʻōkāt thī kamlang mā thưng. [Electric Cars: Upcoming Needs and Opportunities]. Retrieved January 8, 2023, from https://www.krungsri.com/th/research/research-intelligence/ev-survey-22.

รชฏ เลียงจันทร์. (2565). รถยนต์ไฟฟ้า: ความต้องการและโอกาสที่กำลังมาถึง. สืบค้น 8 มกราคม 2566, จาก https://www.krungsri.com/th/research/research-intelligenceev-survey-22.

Pankla, S., & Keawpromman, C. (2020). patčhai thī mī phon tō̜ ʻakān tatsinčhai lư̄ak sư̄ khō̜ng phūbō̜riphōk thī mī tō̜ ʻō̜n thō̜ yon faifā pra phēt hai kaʻin nai khēt Krung Thēp Mahā Nakhō̜n. [Factors Affecting to Consumers’ Purchasing Plug-in Hybrid Electric Vehicle of Consumer in Bangkok Metropolitan]. Journal of the Association of Researchers, 25(2), 117-132.

สุภาพร ปานกล้า และชัยฤกษ์ แก้วพรหมมาลย์. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อของผู้บริโภคที่มีต่อรถยนต์ไฟฟ้าประเภทไฮบริดปลั๊กอิน ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารสมาคมนักวิจัย, 25(2), 117-132.

Sanook. (2022). khonsong lot phāsī pračham pī rotyon faifā pǣtsip pœ̄sen raya wēlā nưng pī mī phon bang khap chai lǣo. [The Ministry of Transport has Reduced the AnnualT on Electric Cars by 80% for a Period of 1 Year. It is Now Effective]. Retrieved March 8, 2023, from https://www.sanook.com/auto/85387/

Sanook. (2565). ขนส่งฯ ลดภาษีประจำปีรถยนต์ไฟฟ้า 80% ระยะเวลา 1 ปี มีผลบังคับใช้แล้ว. สืบค้น 8 มีนาคม 2566, จาก https://www.sanook.com/auto/85387/

The Government Public Relations Department. (2022). krommakān khonsong thāng bok chœ̄n chūan khon Thai chai rotyon phalangngān faifā lot phāsī rot pračham pī rotyon faifā long rō̜ila pǣtsip pen wēlā nưng pī chapho̜ rotyon faifā thī čhotthabīan rawāng wan thī nưng Tulākhom sō̜ngphanhārō̜ihoksiphā - sāmsip Kanyāyon sō̜ngphanhārō̜ihoksippǣt. Retrieved March 8, 2023, from https://www.prd.go.th/th/ content/page/index/id/110200

กรมประชาสัมพันธ์. (2565). กรมการขนส่งทางบกเชิญชวนคนไทยใช้รถยนต์พลังงานไฟฟ้าลดภาษีรถประจำปีรถยนต์ไฟฟ้าลงร้อยละ 80 เป็นเวลา 1 ปี เฉพาะรถยนต์ไฟฟ้าที่จดทะเบียนระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2565 - 30 กันยายน 2568. สืบค้น 8 มีนาคม 2566, จาก https://www.prd.go.th/th/content/page/index/id/110200

Tigkana, B. (2021). patčhai thī mī phon tō̜ ʻakān tatsin čhai ʻō̜n thō̜ yon thī khapkhlư̄an dūai phalangngān faifā khō̜ng phūbō̜riphōk nai khēt Dusit Krung Thēp Mahā Nakhō̜n. [Factors Affecting Decisions to Purchase Electric Vehicle of Customers in Dusit District, Bangkok]. (Master’s Independent Study, Ramkhamhaeng University).

เบญจวรรณ ติกขะนา. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าของผู้บริโภคในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง).

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. New York: Harper & Row.