การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติและพฤติกรรมที่มีต่อการใช้ทักษะการสื่อสาร ในชีวิตประจำวันของนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก รายวิชา 100212 มารยาทในการสื่อสารสากล
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาทัศนคติ ด้านความรู้ ด้านความรู้สึกและด้านพฤติกรรมที่มีต่อการใช้ทักษะการสื่อสารในชีวิตประจำวันของนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก 2) ศึกษาพฤติกรรม ด้านความรู้ ด้านทัศนคติและด้านการปฏิบัติที่มีต่อการใช้ทักษะการสื่อสารในชีวิตประจำวันของนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติและพฤติกรรมที่มีต่อการใช้ทักษะการสื่อสารในชีวิตประจำวันของนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก เป็นงานวิจัยวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่าง คือ กลุ่มนักศึกษาปริญญาตรี ภาคปกติ มหาวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก ที่ลงเรียนในรายวิชา 100212 มารยาทในการสื่อสารสากล ภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 25 คน ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม โดยมีวิเคราะห์ผลทางสถิติพื้นฐาน และวิเคราะห์ระดับความสัมพันธ์จากค่าสัมประสิทธิ์ Pearson Correlation ผลการวิจัยพบว่า 1) ทัศนคติ ด้านความรู้ ด้านความรู้สึกและ
ด้านพฤติกรรมที่มีต่อการใช้ทักษะการสื่อสารในชีวิตประจำวันของนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก อยู่ในระดับความคิดเห็น มากที่สุด (= 4.51, sd. = 0.63) 2) พฤติกรรม ด้านความรู้ ด้านทัศนคติและด้านการปฏิบัติที่มีต่อการใช้ทักษะการสื่อสารในชีวิตประจำวันของนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก อยู่ในระดับความคิดเห็น มาก (= 4.33, sd. = 0.76) และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติและพฤติกรรมที่มีต่อการใช้ทักษะการสื่อสารในชีวิตประจำวันของนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก พบว่า ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติและการใช้ทักษะการสื่อสารในชีวิตประจำวันฯ เท่ากับ 0.951 และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมและการใช้ทักษะการสื่อสารในชีวิตประจำวันฯ เท่ากับ 0.915 อยู่ในเกณฑ์ระดับความสัมพันธ์เชิงบวก โดยมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ 0.05
Article Details
References
Dankham, C., Timuangsai, S., & Simmatan, P. (2016). Kānsưksā phrưttikam kānrīanrū khō̜ng naksưksā radap parinyā trī mahāwitthayālai rātchaphat Mahā Sārakhām. [The Study of Bachelor Degree Undergraduates' Learning Behavior, Rajabhat Mahasarakham University]. Journal of Nakhonratchasima College, 10(1), 23-24.
ชำนาญ ด่านคำ, สนิท ตีเมืองซ้าย และประวิทย์ สิมมาทัน. (2559). การศึกษาพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา, 10(1), 23-24.
Jamfa, W., & Pancharoen, S. (2013). Sưksā khwāmsamphan rawāng thatsanakhati læ phrưttikam kānrīanrū nai kān rīan kānsō̜n thī nēn phū rīan pen sūnklāng kap thaksa krabūankān rīanrū khō̜ng naksưksā phayābān. [The Relationship Among Attitude, Learning Behavior in Student-Centered Instruction and Learning Process Skill of Nursing Student]. Journal of Nursing and Education, 6(1), 95-102.
วงศ์สิริ แจ่มฟ้า และสุดกัญญา ปานเจริญ (2556). ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติและพฤติกรรมการเรียนรู้ในการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางกับทักษะกระบวนการเรียนรู้ของ นักศึกษาพยาบาล. วารสารการพยาบาลและการศึกษา, 6(1), 95-102.
Jandaeng, B., Kosolkittiamporn, S., & Kenaphoom, S. (2019). Patčhai thī mī phon tō̜ ʻakān plīanplǣng phrưttikam. [Factors that Affecting Behavior Change]. Dhammathas Academic Journal, 19(4), 235-244.
บุรฉัตร จันทร์แดง, เสาวลักษณ์ โกศลกิตติอัมพร และสัญญา เคณาภูมิ. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์, 19(4), 235-244.
Leekitwattana, P. (2022). Withīkān wičhai thāngkān sưksā . [Educational Research Methodology]. Bangkok: Faculty of Industrial Education King Mongkut's Institute of Technology Ladkrabang.
พรรณี ลีกิจวัฒนะ. (2565). วิธีการวิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
Mahachulalongkornrajavidyalaya University. (2009). Phāsā kap kānsư̄sān. [Language and Communication. (2nd ed.)]. Bangkok: Nawasan Printing.
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2552). ภาษากับการสื่อสาร (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: นวสาส์นการพิมพ์.
Paorohit, N. (2011). Khonhātūaʻēngphư̄aplīančhākphūphǣpenphūchana. [Find Yourself to Change from a Loser to a Winner]. Bangkok: 108 idea.
นวลศิริ เปาโรหิตย์. (2554). ค้นหาตัวเอง เพื่อเปลี่ยนจากผู้แพ้เป็นผู้ชนะ. กรุงเทพฯ: 108 สุดยอดไอเดีย.
Phopchanoknan, N., Nitikasetsuntorn, P., & Phothisuwan, T. (2016). Phrưttikam kānchai kānsư̄sān læ phonkrathop čhāk kānchai fē sabuk khō̜ng naksưksā hāwitthayālai Pathum Thānī. [Usage, Communication Behaviors and Impact on Using Facebook of College Students in Pathumthani University]. Journal of Management Science Suan Sunandha Rajabhat University, 3(1), 38-39.
นนทกฤช ภพชนกนันท์, ภัสวลี นิติเกษตรสุทร และธีรารักษ์ โพธิสุวรรณ. (2559). พฤติกรรมการใช้การสื่อสารและผลกระทบจากการใช้เฟซบุ๊กของนักศึกษามหาวิทยาลัยปทุมธานี. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 3(1), 38-39.
Phuenchote, D. C. (2014, April 3). Thatsanakhati læ phrưttikam kān rīan khō̜ng naksưksā khana nithētsāt Mahāwitthayālai Rangsit thī mī tō̜ ʻarāi wichā COM 218 phāsā ʻangkrit samrap nak nithētsāt 1. [Attitudes and Study Behaviors of Faculty of Communication Arts’ Students, Rangsit University Toward COM 218: English for Communication Arts 1]. National Research Conference 2014. (pp.799-808). RSU International Research Conference. https://rsucon.rsu.ac.th/files/proceedings/ nation2014/G4-45.pdf
ดวงทิพย์ เจริญรุกข์ เผื่อนโชติ. (3 เมษายน 2557). ทัศนคติ และพฤติกรรมการเรียนของนักศึกษาคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ที่มีต่อรายวิชา COM 218 ภาษาอังกฤษสำหรับนักนิเทศศาสตร์ 1. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ ประจำปี 2557 (น.799-808). RSU International Research Conference. https://rsucon.rsu.ac.th/ files/proceedings/nation2014/G4-45.pdf