ปัญหาการเรียกชื่อกฎหมายไทย

Main Article Content

พรรณรัตน์ โสธรประภากร
วรลักษณ์ ชูฤทธิ์
ตวงพร อานันทศิริเกียรติ
กิจบดี ก้องเบญจภุช

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยวิจัยเอกสาร มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาชื่อของ “กฎหมาย” และ “กฎ” ตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยจนถึงปัจจุบันว่าแต่ละยุคแต่ละสมัยมีการบัญญัติกฎหมายและกฎในชื่ออะไรบ้าง มีความเหมือนหรือแตกต่างจากกฎหมาย และกฎตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 หรือไม่อย่างไร อีกทั้ง เพื่อทราบว่าตำรา เอกสารทางวิชาการ หนังสือ รวมทั้งเอกสารประกอบการสอน ที่ปรากฏอยู่เป็นสาธารณะ เรียกชื่อกฎหมายถูกต้องตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญหรือไม่  ผลการวิจัยพบว่า “กฎหมาย” และ “กฎ” ในแต่ละยุคแต่ละสมัยมีกระบวนการบัญญัติแตกต่างกัน เนื่องจากการปกครองในแต่ละยุคแต่ละสมัยแตกต่างกัน แต่ชื่อของกฎหมายและกฎมีความพ้องหรือเหมือนกันอยู่บ้างแต่อยู่ในความหมายที่แตกต่างกัน ในส่วนของกฎหมายและกฎในปัจจุบัน จะต้องเป็นไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน (พ.ศ. 2560) เนื่องจากรัฐธรรมนูญบัญญัติว่า “รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ บทบัญญัติของกฎหมาย กฎ หรือข้อบังคับ หรือการกระทำใดขัด หรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ บทบัญญัติหรือการกระทำนั้นเป็นอันใช้บังคับไม่ได้”สรุปผลการวิจัยพบว่า ตำรา หนังสือ เอกสารทางวิชาการ เอกสารประกอบการสอน เรียกชื่อกฎหมายขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ เช่น เรียกพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติฉบับใดฉบับหนึ่งหรือหลายฉบับ เป็นกฎหมายมหาชนบ้าง หรือเป็นกฎหมายรองบ้าง หรือเรียกกฎเป็นกฎหมาย หรือเป็นกฎหมายรอง หรือเป็นกฎหมายลูก ซึ่งชื่อกฎหมายดังกล่าวไม่เคยปรากฏในสารบบการบัญญัติกฎหมายของไทย กฎหมายและกฎของไทยตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันมีชื่อชัดเจนทุกฉบับ การเรียกชื่อกฎหมายไม่เป็นไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ จึงเป็นการกระทำที่ขัดรัฐธรรมนูญ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Boonchalermwipas, S. (2009). Prawatsāt Kotmāi thai. [Thai Legal History]. (9th ed.). Bangkok: Winyuchon.

แสวง บุญเฉลิมวิภาส. (2552). ประวัติศาสตร์กฎหมายไทย (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

Her Royal Highness Princess Maha Chakri Sirindhorn. (2006). Banthưk rư̄ang kān pokkhrō̜ng khō̜ng thai samai yut yā læ tō̜ ton Kosin. [Records of Thai Governance During the Ayutthaya and Early Rattanakosin Periods]. (2nd ed.). Bangkok: Chulalongkorn University.

กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. (2549). บันทึกเรื่องการปกครองของไทยสมัยอยุธยาและต้นรัตนโกสินทร์ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Langat, R. (1983). Prawatsāt kotmāi thai nưng. [Thai Legal History 1]. Bangkok: Thai Wattana Panich.

ร. แลงกาต์. (2526). ประวัติศาสตร์กฎหมายไทย 1. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

Office of the Administrative Courts. (2001). Phrarātchabanyat čhattang Sān Pokkhrō̜ng læ withī phičhāranā khadī pokkhrō̜ng Phō̜.Sō̜. sō̜ngphanhārō̜isīsipsō̜ng. [Act on Establishment of Administrative Courts and Administrative Court Procedure, B.E.1999]. Bangkok: Thammasat University Printing House.

สำนักงานศาลปกครอง. (2544). พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Office of the Council of State. (1996). Phrarātchabanyat withī patibat rātchakān thāng pokkhrō̜ng Phō̜.Sō̜. sō̜ngphanhārō̜isāmsipkāo. [Administrative Procedure Act, B.E.2539]. Bangkok: Author.

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2539). พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.

Pridi Banomyong Institute. (2005). Kotmāi trā sām dūang: chabap phim mahāwitthayālai wichāthō̜n rom sāt læ kānmư̄ang kǣkhai prapprung mai lem 1. [3 Enacted Laws: Thammasat University and Politics Edition Revised and Updated, volume 1]. Bangkok: Sukkhapabjai.

สถาบันปรีดี พนมยงค์. (2548). กฎหมายตรา 3 ดวง: ฉบับพิมพ์มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง แก้ไขปรับปรุงใหม่ เล่ม 1. กรุงเทพฯ: สุขกาพใจ.

The Secretariat of the Senate. (2017) Ratthammanūn hǣng rātchaʻānāčhak Thai Phutthasakkarāt sō̜ngphanhārō̜ihoksip. [Constitution of The Kingdom of Thailand B.E.2017]. Bangkok: Author.

สํานักงานเลขาธิการวุฒิสภา. (2560). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.