การส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้การกระทำความผิดอาญาของเด็กหรือเยาวชน กรณีศึกษา นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี โดยใช้สื่อมัลติมีเดีย
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้กระบวนการกระทำความผิดอาญาของเด็กหรือเยาวชนเพื่อสร้างสื่อมัลติมีเดียในการส่งเสริมการรับรู้ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเชิงปริมาณ คือนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี ประจำปีการศึกษา 2565 จำนวน 400 คน ประชาชนทั่วไป จำนวน 30 คน และนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 50 คน เครื่องมือที่ใช้วิจัยประกอบด้วยแบบสอบถาม และนำไปเป็นหัวข้อในการพัฒนาสื่อมัลติมีเดียในการเสริมสร้าง การรับรู้กระบวนการกระทำความผิดอาญา ผลการวิจัยพบว่า 1) การรับรู้กระบวนการกระทำความผิดอาญาของเด็กหรือเยาวชนของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า มีการรับรู้เรียงลำดับจากมากไปน้อย คือ ด้านการกระทำความผิดอาญา ด้านความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการดำเนินคดีอาญา และด้านการจับกุมเด็กหรือเยาวชน มีค่าเฉลี่ย 3.12 ด้านการสอบสวน มีค่าเฉลี่ย 3.10 ด้านการควบคุมเด็กหรือเยาวชนหลังการตรวจสอบการจับกุม มีค่าเฉลี่ย 3.06 ด้านการฟ้อง มีค่าเฉลี่ย 2.97 และการตรวจสอบการจับ มีค่าเฉลี่ย 2.93 และ 2) สร้างสื่อมัลติมีเดียในการส่งเสริมการรับรู้กระบวนการกระทำความผิดอาญาของเด็กหรือเยาวชนของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี โดยเน้นการให้ความรู้ในเรื่องเงื่อนไขในการได้รับการคุ้มครองเด็กหรือเยาวชนที่กระทำความผิดอาญาตามที่กฎหมายบัญญัติคุ้มครองไว้ ผลการส่งเสริมการรับรู้โดยใช้สื่อมัลติมีเดีย พบว่ามีการรับรู้ คือ ด้านการกระทำความผิดอาญา ด้านความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการดำเนินคดีอาญา มีค่าเฉลี่ย 4.56 ด้านการตรวจสอบการจับ มีเฉลี่ยเท่ากับ 4.52 ด้านการควบคุมเด็กหรือเยาวชนหลังการตรวจสอบการจับกุม มีค่าเฉลี่ย 4.50 ด้านการจับกุมเด็กหรือเยาวชน มีค่าเฉลี่ย 4.49 ด้านการฟ้อง มีค่าเฉลี่ย 4.24 และด้านการสอบสวน มีค่าเฉลี่ย 4.15 การวิจัยในครั้งนี้ทำให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ในการใช้เทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้โดยใช้สื่อมัลติมีเดีย
Article Details
References
Academic Services Division President Office, Rambhaibarni Rajabhat University. (2022). Chamnūan naksưksā Mahāwitthayālai Rātchaphat Ramphai Phannī pīkānsưksā sō̜ngphanhārō̜ihoksiphā. [Number of students at Rambhai Barni Rajabhat University, academic year 2022]. Chanthaburi: Rambhai Barni Rajabhat University.
กองบริการการศึกษา สำนักงานอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี. (2565). จำนวนนักศึกษา
มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี ปีการศึกษา 2565. จันทบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
Chaysuwan, A., & Janchalong, C. (2022). Phon kānchai sư̄ man ti mī dīa thī mī tō̜ phon samrit thāngkān rīan rư̄ang khwāmpen krot bēt thāng khēmī phān khrư̄akhāi ʻin thēnet. [Effects of using multimedia affecting academic achievement on chemical acidity through the internet]. Valaya Alongkorn Review Journal, 12(1), 195-205.
อมีนา ฉายสุวรรณ, และชุมพล จันทร์ฉลอง. (2565). ผลการใช้สื่อมัลติมีเดียที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ความเป็นกรดเบสทางเคมี ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์, 12(1), 195-205.
Jeffcoate, J. (1995). Multimedia in practice: Technology and applications. Great Britain: Prentice Hall International.
Malithong, K. (2007). Theknōlōyī kānsưksā. [Educational technology]. Bangkok: Chulalongkorn University.
กิดานันท์ มลิทอง. (2550). เทคโนโลยีการศึกษา. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Phothisai, A. (2015). Panhā kāndamnœ̄n khadī ʻāyā kō̜ranī thī dek rư̄ yaowachon thūk klāo hāwā pen phū kratham khwāmphit. [Problems in criminal proceedings in cases where children or youth are accused of committing crimes]. Chulniti Journal, 14(4), 165.
อริยพร โพธิใส. (2558). ปัญหาการดำเนินคดีอาญากรณีที่เด็กหรือเยาวชนถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้กระทำความผิด. วารสารจุลนิติ, 14(4), 165.
Rattanakaset, P. (2023). Kānphatthanā krabūankān yuttham thāng ʻāyā rap dek læ yaowachon bon lak prayōt sūngsut khō̜ng dek. [The development of criminal justice procedure for child and youth on the principle of the best interests of child]. Ramkhamhaeng Law Journal, 12(1), 37-63.
ภัทราวรรณ รัตนเกษตร. (2566). การพัฒนากระบวนการยุติธรรมทางอาญาสําหรับเด็กและเยาวชนบนหลักประโยชน์สูงสุดของเด็ก. วารสารรามคำแหง, 12(1), 37-63.
Sumathathikom, N. (2011). Kānphatthanā sư̄ khō̜mphiutœ̄ man ti mī dīa bon khrư̄akhāi ʻin tœ̄net wichākān čhat sǣng phư̄a ngān ʻō̜kʻākāt ra dap chan parinyā trī mahāwitthayālai theknōlōyī rāt mongkhon Phra Nakhō̜n. [The development of computer multimedia through the internet teaching tool for lighting for broadcasting course (undergraduate level) Rajamangala University of Technology Phra Nakhon]. Bangkok: Faculty of Mass Communication, Rajamangala University of Technology Phra Nakhon Technology. DOI: 10.14457/RMUTP.res.2011.6
ณัฐภณ สุเมธอธิคม. (2554). การพัฒนาสื่อคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต วิชาการจัดแสงเพื่องานออกอากาศ ระดับชั้นปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. กรุงเทพฯ: คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. DOI: 10.14457/RMUTP.res.2011.6
Wachanasawat, K. (2019). Khamʻathibāi kotmāi ʻāyā phāk nưng. [Explanation of criminal law, part 1]. Bangkok: Chirarath Printing.
เกียรติขจร วัจนะสวัสดิ์. (2562). คำอธิบายกฎหมายอาญา ภาค 1. กรุงเทพฯ: จิรรัชการพิมพ์.
Wongpramote, P. (2014). Panhā kāntrūatsō̜p kānčhapkum dek læ yaowachon tām pharātbanyat sān yaowachon læ khrō̜pkhrūa læ withī phičhāranā khadī yaowachon læ khrō̜pkhrūa Phō̜.Sō̜. 2553. [The problems of the juvenile arrest inspection in accordance with the juvenile and family court and its procedures act, B.E. 2553]. (Master’s thesis, National Institute of Development Administration).
พิชญ์สินี วงศ์ปราโมทย์. (2557). ปัญหาการตรวจสอบการจับกุมเด็กและเยาวชนตามพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์).