ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจศึกษาต่อระดับปริญญาตรี คณะเทคโนโลยีการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช (ไสใหญ่)

Main Article Content

อรอุมา สำลี
กนกนาถ ศรีกาญจน์
เจษฎา ร่มเย็น

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยและความต้องการตัดสินใจศึกษาต่อระดับปริญญาตรี คณะเทคโนโลยีการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช (ไสใหญ่) และ (2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจศึกษาต่อระดับปริญญาตรี คณะเทคโนโลยีการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช (ไสใหญ่) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาคณะเทคโนโลยีการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช (ไสใหญ่) ประจำปีการศึกษา 2559 ทั้ง 2 หลักสูตร ซึ่งสามารถคำนวณขนาดของกลุ่มตัวอย่าง โดยกำหนดให้ค่าความเชื่อมั่นร้อยละ 95 และค่าความคลาดเคลื่อนของการสุ่มตัวอย่างเท่ากับ 0.05 ได้กลุ่มตัวอย่าง หลักสูตร 4 ปี จำนวน 180 คน หลักสูตร 4 ปี เทียบโอน จำนวน 221 คน รวมเป็นจำนวน 401 คน ผู้วิจัยจะใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบกำหนดสัดส่วน (Proportionate Stratified Sampling) เพื่อให้ได้กลุ่มตัวอย่างที่ครอบคลุมเป็นตัวแทนทุกสาขาวิชาโดยใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูลและใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลแบบตามสะดวก (Convenience sampling) วิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณแบบมีขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis)


ผลการวิจัย พบว่าระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจศึกษาต่อระดับปริญญาตรี คณะเทคโนโลยีการจัดการ หลักสูตร 4 ปี ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( gif.latex?\chi= 4.41) หลักสูตร 4 ปี เทียบโอน ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( gif.latex?\chi= 4.35) เช่นกัน เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่าหลักสูตร 4 ปี ด้านหลักสูตรมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดอยู่ในระดับมากที่สุด ( gif.latex?\chi= 4.53) สำหรับหลักสูตร 4 ปี เทียบโอน ด้านหลักสูตรมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดเช่นกันอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\chi= 4.45) เมื่อพิจารณาถึงระดับความต้องการตัดสินใจศึกษาต่อระดับปริญญาตรี คณะเทคโนโลยีการจัดการ พบว่าหลักสูตร 4 ปี อยู่ในระดับมาก ( gif.latex?\chi= 4.43) สำหรับหลักสูตร 4 ปีเทียบโอน อยู่ในระดับมาก (gif.latex?\chi= 4.41) เช่นเดียวกัน เมื่อทำการทดสอบสมมติฐานด้วยวิธีการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณแบบมีขั้นตอน แบบ Stepwise ในส่วนของปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจศึกษาต่อระดับปริญญาตรี คณะเทคโนโลยีการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช (ไสใหญ่) พบว่าหลักสูตร 4 ปี ปัจจัยด้านหลักสูตร (X1) ส่งผลต่อการตัดสินใจศึกษาต่อระดับปริญญาตรี คณะเทคโนโลยีการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช (ไสใหญ่) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สำหรับหลักสูตร 4 ปี เทียบโอน ปัจจัยด้านหลักสูตร (X1) ปัจจัยด้านการประชาสัมพันธ์ (X4) ส่งผลต่อการตัดสินใจศึกษาต่อระดับปริญญาตรี คณะเทคโนโลยีการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช (ไสใหญ่) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

How to Cite
สำลี อ. ., ศรีกาญจน์ ก. ., & ร่มเย็น เ. . (2022). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจศึกษาต่อระดับปริญญาตรี คณะเทคโนโลยีการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช (ไสใหญ่). นิเทศสยามปริทัศน์, 21(1), 121–136. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/commartsreviewsiamu/article/view/258761
บท
บทความวิจัย

References

ภาษาไทย

กนกกาญจน์ ศรีสุรินทร์, กนิษฐา คูณมี และศุภชัย จันทร์งาม. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกเรียนสาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ มหาวิทยาลัยราชธานี. การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม ครั้งที่ 6 (หน้า 1-8). นครปฐม: มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม.

เกษราภรณ์ คลังแสง. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกเข้าศึกษาของนิสิตชั้นปีที่ 1 ต่อหลักสูตรรัฐศาสตร์บัณฑิต วิทยาลัยการเมืองการปกครอง. วารสารการเมืองการปกครอง, 8(1), 1- 21.

ตวงพร รุ่งเรืองศรี. (2562). ความต้องการศึกษาต่อระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาการบริหารการพัฒานา ของนิสิตปริญญาตรี มหาวิทยาลัยบูรพา. วารสารด้านการบริหารรัฐกิจและการเมือง, 8(1), 106-138.

ทัศนีย์ ชาติไทย. (2555). แรงจูงใจและความต้องการในการศึกษาต่อระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2555). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ SPSS และ AMOS. กรุงเทพฯ: เอส.อาร์.พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

วรชัย อัจฉราวงศ์ชัย, ศรัณยา เลิศพุทธรักษ์ และวิไลลักษณ์ คำลอย. (2559). ปัจจัยทางการตลาดและกลุ่มอ้างอิงที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการห้องพักในเมืองพัทยา. วารสารวิทยาลัยพาณิชยศาสตร์บูรพาปริทัศน์, 11(2), 13-30.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2543). นโยบายผลิตภัณฑ์และราคา. กรุงเทพฯ: ธนธัชการพิมพ์.

สมศรี เพชรโชติ. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อหลักสูตรคหกรรมศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 11(3), 168-184.

เสรี สิงห์โงน สาลินี จันทร์เจริญ. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อหลักสูตรวิทยาศาสตร์หมาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาเด็ก วัยรุ่นและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล. วารสาร Mahidol R2R e-Journal, 5(2), 95-108.

ระบบออนไลน์

คมชัดลึก. (2560). อีก 10 ปี "มหาวิทยาลัยไทย" 3 ใน 4 ไปไม่รอดแน่. เข้าถึงได้จาก https://www.komchadluek.net/news/edu-health/277811

ระบบสารสนเทศเพื่อบริการข้อมูลงานทะเบียน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย. (2559). สถิตินักศึกษา ระดับปริญญาตรีแยกตามชั้นปี ประจำภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2559. เข้าถึงได้จาก http://regis2.rmutsv.ac.th/information/statistic/

The matter. (2560). วิกฤติมหาวิทยาลัยไทย เมื่อสถาบันการศึกษาทำสงครามแย่งชิงนักเรียนเพื่อการอยู่รอด. เข้าถึงได้จาก https://thematter.co/social/war-of-thai-university/25611