การพัฒนาดิจิทัลคอนเทนต์เพื่อการประชาสัมพันธ์การบริการของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทยโดยใช้ผู้นำเสนอแบบอวทาร์
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินคุณภาพของดิจิทัลคอนเทนต์เพื่อการประชาสัมพันธ์การบริการของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทยโดยใช้ผู้นำเสนอแบบอวทาร์ เพื่อประเมินผลการรับรู้และความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย 1) ดิจิทัลคอนเทนต์เพื่อการประชาสัมพันธ์การบริการของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย โดยใช้ผู้นำเสนอแบบอวทาร์ 2) แบบประเมินคุณภาพด้านเนื้อหาและด้านสื่อการนำเสนอ 3) แบบประเมินผลการรับรู้ของกลุ่มตัวอย่าง 4) แบบประเมินความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่าง โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชาชนทั่วไปที่เข้ารับการบริการภายในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 30 คน ที่เคยชมดิจิทัลคอนเทนต์ฯ และยินดีตอบแบบสอบถาม จำนวน 30 คน ซึ่งผลการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญพบว่ามีผลการประเมินคุณภาพด้านเนื้อหาอยู่ในระดับดีมาก (𝑥̅ = 4.63 , S.D. = 0.49) ผลการประเมินคุณภาพด้านสื่อการนำเสนออยู่ในระดับดี (𝑥̅ = 4.28, S.D. = 0.61) ผลการประเมินด้านการรับรู้ของกลุ่มตัวอย่างอยู่ในระดับมากที่สุด (𝑥̅ = 4.69 , S.D. = 0.44) และผลการประเมินความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างอยู่ในระดับมากที่สุด (𝑥̅ = 4.65 , S.D. = 0.54) ดังนั้น การพัฒนาดิจิทัลคอนเทนต์เพื่อการประชาสัมพันธ์การบริการของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย โดยใช้ผู้นำเสนอแบบอวทาร์ สามารถนำไปใช้ได้อย่างมีคุณภาพ
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ภาษาไทย
เขมทัต บุญพ่วง. (2564). การพัฒนาชุดสื่อประชาสัมพันธ์แบบมีปฏิสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์แผนกวิชาคอมพิวเตอร์กราฟิก วิทยาลัยพณิชยการเชตุพน. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการเรียนรู้และสื่อสารมวลชน คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.
ณัฏฐวิภา จิโน. (2562). การสร้างสื่อวิดีโออินโฟกราฟิกและโปสเตอร์เพื่อการประชาสัมพันธ์ เรื่องเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goal) ของศูนย์การจัดการด้านพลังงานสิ่งแวดล้อมความปลอดภัยและชีวอนามัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี. โครงงานศึกษาปริญญาตรีเทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษาและสื่อสารมวลชน คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.
พัฒนา พรหมณี, ยุพิน พิทยาวัฒนชัย และจีระศักดิ์ ทัพผา. (2563). แนวคิดเกี่ยวกับความพึงพอใจและการสร้างแบบสอบถามความพึงพอใจในงาน. วารสารวิชาการสมาคม
สถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย (สสอท.), 26(1), 60 – 63.
พิมพ์มาดา พงศ์คุณาพร. (2561). การพัฒนาสื่อวิดีโออินโฟกราฟิก และการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ เรื่องกระบวนการจัดกิจกรรมนักศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการเรียนรู้และสื่อสารมวลชน คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.
ภาวิณี บินรามัน. (2564). การพัฒนาดิจิทัลคอนเทนต์แบบอินโฟกราฟิกบนสื่อสังคมออนไลน์เพื่อส่งเสริมการขายสินค้าประเภทโฮมเมด เบเกอรี่. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการเรียนรู้และสื่อสารมวลชน คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.
ระบบออนไลน์
จำนง สันตจิต. (2556). ADDIE MODEL. เข้าถึงได้จาก https://www.gotoknow.org/posts/520517%20% .
บุณยนุช ธรรมสะอาด. (ม.ป.ป.). ความหมายของการประชาสัมพันธ์. เข้าถึงได้จาก. http://www.secondary5.go.th/main/html/manual/gen2.pdf.
ปัณณทัต กาญจนะวสิต. (2561). นิยามความหมายของการประชาสัมพันธ์. เข้าถึงได้จาก. http://www.dsdw2016.dsdw.go.th/doc_pr/ndc_25602561/PDF/m8455/%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%A1.pdf .
โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย (2566). จุฬาฯ ไกด์. เข้าถึงได้จาก. https://chulalongkornhospital.go.th/kcmh/poster/%E0%B8%88%E0%B8%B8%E0%B8%A .
สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า. (ม.ป.ป.). ดิจิทัลคอนเทนต์ (Digital Content). เข้าถึงได้จาก. http://www.tpso.moc.go.th/sites/default/files/c.dicchithalkhnethnt_rev4.pdf.
ASOOK. (2559). การใช้ดิจิทัลคอนเทนต์ในการจัดการเรียนรู้ ดิจิตอล คอนเทนต์ (DIGITAL CONTENT). เข้าถึงได้จาก http://www.anantasook.com/digital-content-in-education/.
Chulalongkorn hospital. (2560). โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. เข้าถึงได้จาก https://chulalongkornhospital.go.th/kcmh/wp-content/uploads/2017/12/001-22-3-60.pdf.
Chulalongkorn hospital. (2564). ฝ่ายประชาสัมพันธ์. เข้าถึงได้จาก https://shorturl.asia/iXbf5.
Cotactic Media. (2564). Avatar ตัวตนเสมือนรูปแบบใหม่ อีกหนึ่งความเป็นไปได้ในยุค Metaverse. เข้าถึงได้จาก https://www.cotactic.com/blog/
Zoom Blog. (2565). แนะนำอวาตาร์ (Take a Walk on the Wild Side with Avatars). เข้าถึงได้จาก https://blog.zoom.us/avatars/.