การพัฒนามิวสิควิดีโอเพลงประจำคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยีโดยใช้ผู้นำเสนอแบบนาโนอินฟลูเอนเซอร์
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนามิวสิควิดีโอเพลงประจำคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยีโดยใช้ผู้นำเสนอแบบนาโนอินฟลูเอนเซอร์ 2) ประเมินคุณภาพมิวสิควิดีโอเพลประจำคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยีโดยใช้ผู้นำเสนอแบบนาโนอินฟลูเอนเซอร์ 3) ประเมินผลการรับรู้ของกลุ่มตัวอย่างและ 4) ประเมินความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อมิวสิควิดีโอเพลงประจำคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยีโดยใช้ผู้นำเสนอแบบนาโนอินฟลูเอนเซอร์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) มิวสิควิดีโอเพลงประจำคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยีโดยใช้ผู้นำเสนอแบบนาโนอินฟลูเอนเซอร์ 2) แบบประเมินคุณภาพด้านเนื้อหาและด้านสื่อการนำเสนอ 3) แบบประเมินผลการรับรู้ของกลุ่มตัวอย่าง 4) แบบประเมินความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 ปีการศึกษา 2566 ของคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี โดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่ายจากนักศึกษาผู้ที่เคยได้รับชมมิวสิควิดีโอเพลงประจำคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยีโดยใช้ผู้นำเสนอแบบนาโนอินฟลูเอนเซอร์และยินดีตอบแบบสอบถาม จำนวน 50 คน ซึ่งผลการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญพบว่า มีผลการประเมินคุณภาพด้านเนื้อหาอยู่ในระดับดี ( = 4.50, S.D. = 0.44) ผลการประเมินคุณภาพด้านสื่อการนำเสนอ อยู่ในระดับดีมาก ( = 4.72, S.D. = 0.43) ผลการประเมินด้านการรับรู้ของกลุ่มตัวอย่างอยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.90, S.D. = 0.30) และผลการประเมินความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างอยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.88, S.D. = 0.32) ดังนั้น มิวสิควิดีโอเพลงประจำคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยีโดยใช้ผู้นำเสนอแบบนาโนอินฟลูเอนเซอร์ ที่พัฒนาขึ้นสามารถนำไปใช้ได้จริง
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ภาษาไทย
นิชนิภา พรมมานอก และนวรัตน์ สีทาดี. (2561). การสร้างสื่อไวรัลวิดีโอแบบมีปฏิสัมพันธ์ เรื่อง สัญญาณเตือนโรคซึมเศร้าในวัยรุ่น,ปริญญานิพนธ์เทคโนโลยีบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีการศึกษาและสื่อสารมวลชน คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, หน้า ข.
นิษฐา หรุ่นเกษม. (2563). กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดผ่านผู้ทรงอิทธิพลของกลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์, วารสารนิเทศศาสตร์ธุรกิจบัณฑิต, นนทบุรี. หน้า 48-65.
ปภัสสร อินทเดช ณภัทร ดีเย็น และธัญชนก พิมมหา. (2561). การพัฒนาชุดเนื้อหาเพื่อสื่อสารประชาสัมพันธ์สาระบันเทิงบน เครือข่ายสังคมออนไลน์ของบริษัท อสมท จํากัด (มหาชน),ปริญญานิพนธ์เทคโนโลยีบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีการศึกษาและสื่อสารมวลชน คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี,หน้า ก.
สุรพัศ คูชัยยานนท์ ศุภกฤต ถิ่นจันทร์ และพิสิษฐ์ เรืองประโคน. (2560). การพัฒนาสื่อไวรัลวิดีโอร่วมกับกลยุทธ์เพื่อการประชาสัมพันธ์ผลงานของ บริษัทเอฟทับแปด โปรดัคชั่น จํากัดผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์,ปริญญานิพนธ์เทคโนโลยีบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีการศึกษาและสื่อสารมวลชน คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, หน้า ข – ค.
อนงค์นาฏ ดากลืน และเพ็ชรกมล บุพพัฌหสมัย. (2561). การสร้างวิดิทัศน์และนิตยาสาร
อิเล็กทรอนิกส์เพื่อการประชาสัมพันธ์โครงการภายในศูนย์ไฟ – ฟ้า ประชาอุทิศ มูลนิธิ TMB จุดประกายเยาวชนเพื่อชุมชน,ปริญญานิพนธ์เทคโนโลยีบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีการศึกษาและสื่อสารมวลชน คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, หน้า ข.– ค.
ระบบออนไลน์
คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มจธ. (2565). พัฒนาผู้สร้างนวัตกรรมสร้างสรรค์นวัตกรรม ชั้นนำในระดับโลก. เข้าถึงได้จากhttps://www.fiet.kmutt.ac.th/home/.จำนง สันตจิต. (2556). ADDIE MODEL. เข้าถึงได้จาก. https://www.gotoknow.org/posts/520517
ธีระศักดิ์ พรหมดิเรก. (2561). ความขัดแย้งและความรุนแรงในมิวสิควิดีโอเพลงไทยร่วมสมัย. เข้าถึงได้จาก http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/3358
Dataxet. (2566). อินฟลูเอนเซอร์ (Influencer) แนวโน้มสดใส เหตุแบรนด์ยอมรับบทบาทในการเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภค. เข้าถึงได้จาก https://www.dataxet.co/media-landscape/2023-th/influencer
Doyoumind. (2021). Nano Influencer คืออะไร? . เข้าถึงได้จาก https://www.rainmaker.in.th/what-is-nano-influencer/
Tumwai. (2565). Influencer คืออะไร มีกี่ประเภท. เข้าถึงได้จาก https://shorturl.asia/wJtNF