การพัฒนาจิตสาธารณะของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ด้วยรูปแบบการสอนตามแนวคิดจิตวิทยาร่วมสมัย

Main Article Content

วิเชียร อินทรสัมพันธ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการสอนตามแนวคิดจิตวิทยาร่วมสมัยเพื่อเสริมสร้างจิตสาธารณะสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา 2) ศึกษาระดับจิตสาธารณะของนักศึกษา          3) เปรียบเทียบระดับจิตสาธารณะของนักศึกษาก่อนและหลังการจัดกิจกรรม  และ 4)  ศึกษาความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมรูปแบบการสอน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ปีการศึกษา 2559 จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่  แผนการจัดการเรียนรู้ระดับจิตสาธารณะ แบบสอบถาม แบบวัดจิตลักษณะ และแบบสอบถามความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย  ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที  ผลการวิจัยพบว่า  1) รูปแบบการสอนตามแนวคิดจิตวิทยาร่วมสมัยเพื่อเสริมสร้างจิตสาธารณะมีองค์ประกอบสำคัญ 4  ประการ คือ หลักการ  จุดมุ่งหมาย กระบวนการเรียนการสอนมี 5 ขั้นตอนคือ ขั้นจูงใจ ขั้นใฝ่รู้  ขั้นสู่การปฏิบัติ  ขั้นจัดระบบทบทวนและขั้นเชิญชวนใช้ และผลที่ผู้เรียนจะได้รับจากการเรียนตามรูปแบบ 2)  ระดับจิตสาธารณะของนักศึกษา อยู่ในระดับปานกลาง 3) จิตสาธารณะของนักศึกษาหลังการจัดกิจกรรมสูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  4) ความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมรูปแบบการสอนตามแนวคิดจิตวิทยาร่วมสมัยเพื่อเสริมสร้างจิตสาธารณะ อยู่ในระดับมาก

Article Details

How to Cite
อินทรสัมพันธ์ ว. (2018). การพัฒนาจิตสาธารณะของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ด้วยรูปแบบการสอนตามแนวคิดจิตวิทยาร่วมสมัย. วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ., 10(2), 109–120. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/edjour_stou/article/view/128787
บท
บทความวิจัย