การส่งเสริมความสามารถในการสร้างคำอธิบายเชิงวิทยาศาสตร์ของผู้เรียนด้วยการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความทางวิชาการนี้กล่าวถึง การพัฒนาความสามารถในการสร้างคำอธิบายเชิงวิทยาศาสตร์ของผู้เรียนด้วยการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ โดยนำเสนอปัญหาของครูวิทยาศาสตร์ในการจัดการเรียนรู้ตามขั้นตอนของการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้จากประสบการณ์ของผู้เขียน จากนั้นจึงนำเสนอแนวทางในการแก้ปัญหาโดยที่ครูควรทำความเข้าใจที่ชัดเจนเกี่ยวกับการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ การวิเคราะห์และจัดลำดับของสาระสำคัญ และการทำความเข้าใจกับองค์ประกอบของการสร้างคำอธิบายเชิงวิทยาศาสตร์ 3 ประการคือ 1) การใช้ข้อกล่าวอ้าง 2) การใช้หลักฐาน และ 3) การให้เหตุผล หากครูนำแนวทางดังกล่าวมาใช้ในการออกแบบการจัดการเรียนรู้จะช่วยพัฒนาทักษะการสอนและนำผู้เรียนไปสู่ความสามารถในการสร้างคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ซึ่งถือเป็นเป้าหมายสำคัญของการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้
Article Details
References
ภพ เลาหไพบูลย์. (2540). แนวการสอนวิทยาศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช.
ลือชา ลดาชาติ จักรกฤษณ์ จันทะคุณ รุ่งทิวา กองสอน และวิลาวัลย์ โพธิ์ทอง. (2560). กรณีศึกษาครูวิทยาศาสตร์ที่จัดกิจกรรมการสืบเสาะหลังการอบรมเชิงปฏิบัติการ : ข้อค้นพบจากโครงการคูปองพัฒนา ครู. วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ., 10(2) , 89 – 108.
วิจารณ์ พานิช. (2555).วิธีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21.กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิสดศรีสฤษดิ์วงศ์.
สันติชัย อนุวรชัย. (2557). การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ด้วยการสร้างคำอธิบายเชิงวิทยาศาสตร์. วารสาร ศึกษาศาสตร์ มสธ., 7(2), 1-14.
สุนีย์ คล้ายนิล ปรีชาญ เดชศรี และอัมพลิกา ประโมจนีย์. (2551). ความรู้และสมรรถนะทางวิทยาศาสตร์ สำหรับโลกวันพรุ่งนี้: รายงานการประเมินผลการเรียนรู้จาก PISA 2006. กรุงเทพมหานคร: เซเว่นพริ้นติ้งกรุ๊ปจำกัด.
สุวัฒน์ นิยมค้า. (2531). ทฤษฎีและทางปฏิบัติในการสอนวิทยาศาสตร์แบบสืบเสาะ (เล่ม 1). กรุงเทพมหานคร: เจเนอรัลบุคส์เซนเตอร์.
Beyer, C. J. and Davis, E. A. (2008). Fostering second graders’ scientific explanations : A beginning elementary teacher’ s knowledge, beliefs, and practice . The Journal of the Learning Sciences, 17(3): 381 – 414.